น้ำมันฉุดเงินเฟ้อเดือน กันยายนลด 0.70% จับตาผลล็อกดาวน์โควิดรอบ2

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

น้ำมันฉุดเงินเฟ้อเดือน กันยายนลด 0.70% จับตาผลล็อกดาวน์โควิดรอบ2

Date Time: 6 ต.ค. 2563 05:20 น.

Summary

  • น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยถึงดัขนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือนก.ย. ว่า ดัชนีอยู่ที่ 102.18 ลดลง 0.11%

Latest

เพลงทำหน้าที่เสมือน “เพื่อนคนหนึ่ง” คนไทยยังชอบฟังเพลงไทย ยอมจ่ายค่า Subscription แม้พุ่ง 2 เท่า

น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยถึงดัขนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือนก.ย. ว่า ดัชนีอยู่ที่ 102.18 ลดลง 0.11% เมื่อเทียบกับเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา และลดลง 0.70% เมื่อเทียบกับเดือน ก.ย.2562 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ของปีนี้ นับตั้งแต่เดือน มี.ค. เป็นต้นมา ส่วนดัชนีเฉลี่ย 9 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ก.ย.) ลดลง 0.99% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 ขณะที่เงินเฟ้อพื้นฐาน ที่หักสินค้าอาหารสด และพลังงาน ที่มีราคาผันผวน ออกจากการคำนวณ พบว่า ดัชนีอยู่ที่ 102.96 เพิ่มขึ้น 0.04% เมื่อเทียบเดือน ส.ค. และเพิ่มขึ้น 0.25% เมื่อเดือน ก.ย.2562 ส่วนเฉลี่ย 9 เดือน เพิ่มขึ้น 0.32%

“สาเหตุที่ทำให้เงินเฟ้อทั่วไปลดลง 0.70% มาจากสินค้าหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลง 1.94% จากการลดลงของราคาน้ำมัน ที่ 15.77% หมวดเคหสถาน 0.19% หมวดบันเทิง การอ่าน การศึกษา 0.21% ขณะที่สินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ เพิ่มขึ้น 1.42% จากการเพิ่มขึ้นของเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ 3.38% ผักสด 11.21% เครื่องประกอบอาหาร 2.25% เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 1.71% อาหารบริโภคในบ้าน 0.51%”

เมื่อพิจารณาสินค้า ที่คำนวณเงินเฟ้อ 422 รายการ พบว่า เดือน ก.ย. ราคาสินค้าที่สูงขึ้นมี 128 รายการ เทียบกับเดือน ส.ค. และมี 224 รายการเมื่อเทียบกับเดือน ก.ย.2562 ส่วนใหญ่เป็นสินค้ากลุ่มอาหารสด ขณะที่ราคาลดลงมี 111 รายการเมื่อเทียบเดือน ส.ค. และ 130 รายการเมื่อเทียบเดือน ก.ย.2562 ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มพลังงาน ส่วนราคาไม่เปลี่ยนแปลงมี 183 รายการเทียบเดือน ส.ค.และ 68 รายการเมื่อเทียบเดือน ก.ย.2562

“สาเหตุที่เงินเฟ้อลดลง 0.70% มาจากราคาสินค้าในกลุ่มพลังงานที่ลดลงมาก โดยเฉพาะราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศ แม้ราคาสินค้าในกลุ่มอาหารสด จะปรับขึ้นต่อเนื่อง แต่ไม่สามารถดึงให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นได้ โดยเฉพาะราคาเนื้อสัตว์ อาทิ เนื้อหมู ผักสด สูงขึ้นตามความต้องการของตลาด ทั้งในและต่างประเทศ ส่วนสินค้าอื่นๆ เคลื่อนไหวปกติ แม้เงินเฟ้อลดลงต่อเนื่อง แต่อยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ สอดคล้องกับเศรษฐกิจ และเครื่องชี้วัดด้านอุปสงค์ อุปทาน ซึ่งมีทิศทางดีขึ้น ทั้งดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม และการใช้กำลังการผลิตที่ดีขึ้น รวมถึงรายได้เกษตรกรที่เร่งขึ้น ตามราคาสินค้าเกษตรที่สูงขึ้น จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้มากขึ้นตามการใช้จ่ายในประเทศ เป็นต้น”

สำหรับ แนวโน้มเงินเฟ้อไตรมาส 4 คาดว่ายังคงติดลบต่อเนื่อง โดยติดลบที่ 0.34% เพราะราคาพลังงานยังลดลง จากความต้องการใช้ทั่วโลกลดลง เพราะหลายประเทศกลับมาล็อกดาวน์อีกครั้ง เพื่อป้องกันโควิด-19 รอบ 2 แต่คาดว่าอาจติดลบจะน้อยกว่าไตรมาส 2 และ 3 และสนค.ยังคงคาดการณ์เงินเฟ้อปีนี้ ไว้ที่ ลด 1.5% ถึงลบ 0.7% ค่ากลางอยู่ที่ลบ 1.1%.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ