“สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ” ดันไทยผงาดเครื่องมือแพทย์

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

“สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ” ดันไทยผงาดเครื่องมือแพทย์

Date Time: 28 ก.ย. 2563 05:40 น.

Summary

  • นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้เร่งขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ 1 ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) ให้แล้วเสร็จในปีหน้า

Latest

เปิดตัว "ไทยรัฐ ครีเอทีฟ" ขยับสู่ธุรกิจ "สื่อสารการตลาดครบวงจร"

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้เร่งขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ 1 ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) ให้แล้วเสร็จในปีหน้า หลังอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์เติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2558-2562) และมีการเติบโตเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 4.09% จากความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุที่ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในปีหน้า อีกทั้งโควิด-19 ได้ส่งผลให้สินค้าและเครื่องมือทางการแพทย์บางประเภทขาดแคลน จึงเป็นโอกาสที่จะขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์เป็นอุตสาหกรรมหลักในการขับเคลื่อนประเทศในอนาคต โดยได้สั่งการให้สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) จัดทำร่างแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ระยะที่ 1 (ปี 2564-2570) พร้อมตั้งเป้าหมายให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตเครื่องมือแพทย์ในอาเซียนภายในปี 2570

“เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ประเทศไทยมีความต้องการเพิ่มขึ้นจากโควิด-19 มีอาทิ หน้ากากอนามัย ถุงมือยาง ที่ความต้องการสูงมากกว่าการผลิตที่มีอยู่และความต้องการยังมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง เพราะโควิด-19 ยังแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง ในหลายๆประเทศทั่วโลกที่ยังไม่สามารถควบคุมได้ จำนวนผู้ติดเชื้อยังคงเพิ่มขึ้น ซึ่งคาดว่าคงต้องใช้เวลาอีกหลายปีจึงจะสามารถหยุดการแพร่ระบาดและลดจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อลงได้ จึงเป็นโอกาสของอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ประกอบกับประเทศไทยเป็นที่นิยมและเป็นประเทศที่มีศักยภาพสามารถรองรับการเข้ามารักษาตัวของชาวต่างชาติ รัฐบาลจึงให้ความสำคัญ กำหนดเป็นเป้าหมายในการพัฒนาและผลักดันสู่การเป็นฮับทางสุขภาพ”

สำหรับร่างแผนปฏิบัติการจะมุ่งแก้ปัญหาอุปสรรคและยกระดับอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ของประเทศไทย เพื่อผลักดันให้มีการพัฒนาขยายตัวอย่างรวดเร็วเนื่องจากเป็นแผนปฏิบัติการที่เริ่มปฏิบัติได้ทันที โดยแบ่งออกเป็น 3 มาตรการหลัก ได้แก่ 1.การส่งเสริมการผลิตและการลงทุนในเครื่องมือแพทย์ 2.การส่งเสริมช่องทางการเข้าสู่ตลาด ให้มีการใช้เครื่องมือแพทย์ที่ผลิตในประเทศให้มากขึ้น และ 3.การส่งเสริม/เตรียมความพร้อมด้านปัจจัยสนับสนุน มีการสร้างปัจจัยสนับสนุนในการยกระดับการผลิตเครื่องมือแพทย์.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ