ส่องธุรกิจร้านอาหารหลังโควิด ต้องสปีดทำกำไร เหตุจบไตรมาส 2 มีซึมเล็กๆ

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ส่องธุรกิจร้านอาหารหลังโควิด ต้องสปีดทำกำไร เหตุจบไตรมาส 2 มีซึมเล็กๆ

Date Time: 9 ส.ค. 2563 08:01 น.

Video

วิธีเอาตัวรอดของ Wikipedia ไม่พึ่งโฆษณา ไม่มีค่าสมาชิก แต่อยู่มาได้ 23 ปี | Digital Frontiers

Summary

  • นับตั้งแต่กลับมาเปิดสาขายอดขายของแบรนด์ส่วนใหญ่ปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับ และบางแบรนด์แสดงแนวโน้มของยอดขายที่สูงกว่าระดับก่อนการระบาดของโควิด-19 ด้วยซ้ำ

Latest


การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้เร่งปรากฏการณ์ New Normal อย่างไม่ตั้งใจ โดยเฉพาะธุรกิจร้านอาหาร ที่เจ้าไหนปรับตัวได้เร็วก็ไปต่อไม่รอแล้ว และทิ้งเพื่อนร่วมธุรกิจแบบไม่เห็นฝุ่นเลยก็มี

ขณะที่ร้านอาหารเจ้าเล็กๆ ก็เริ่มปรับตัว สู้ศึกด้วยการพึ่งพาเจ้าตลาดแพลตฟอร์มเดลิเวอรี่ แต่หากเป็นร้านอาหารที่เล็กกว่านั้น ก็ใช้วิธีบ้านๆ วิ่งตรงสู่ลูกค้าเพื่อเพิ่มยอดขาย

เมื่อรัฐบาลคลายล็อกดาวน์กิจกรรมภายในประเทศให้ประชาชนกลับมาใช้ชีวิตตามปกติ แต่ก็ยังคงมาตรการบางประการเพื่อควบคุมไม่ให้โควิด-19 กลับมาระบาดอีกครั้ง เมื่อเศรษฐกิจกำลังเดินหน้า และนี่ก็ถึงโอกาสทองของธุรกิจร้านอาหารอีกครั้ง 

รู้หรือไม่ร้านอาหาร และเครื่องดื่มเหล่านี้ คือ พี่น้องท้องเดียวกัน

"ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์" สำรวจร้านอาหาร และเครื่องดื่มที่หลายๆ คนคุ้นหน้า คุ้นตา และคุ้นรสชาติของร้านเหล่านี้เป็นอย่างดี โดยก่อนหน้านี้เคยมีแอดมินแฟนเพจเฟซบุ๊กของไอศกรีมยี่ห้อหนึ่งไปคอมเมนต์ในแฟนเพจเฟซบุ๊กของไอศรีมคู่แข่ง ขิงกันเรื่องไอศกรีม คว่ำ หรือ ไม่คว่ำ จนกลายเป็นไวรัลทำให้คนในโลกออนไลน์แห่ไปซื้อไอศกรีมของ 3 เจ้า เพราะอยากรู้ว่าไอศกรีมจะคว่ำไหม

ทั้งนี้ เชื่อว่าหากหลายคนได้อ่านธุรกิจร้านอาหารในมือบริษัทใหญ่ๆ เหล่านี้ จะร้องว่า "อ๋อๆ เขาเป็นพี่น้องท้องเดียวกัน" เริ่มต้นดังนี้...

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) หรือ ThaiBev มีร้านอาหาร และเครื่องดื่ม อยู่ในมือดังนี้ 

1. ร้านอาหารญี่ปุ่นในเครือโออิชิ
2. บ้านสุริยาศัย
3. หม่านฟู่หยวน Man Fu Yuan
4. SO Asean Café & Restuarant
5. SO Asean Coffee
6. mx cakes & bakery
7. KFC
8. Hyde & Seek
9. Café Chilli
10. Chill Thai Restaurant
11. POT Ministry
12. Eat Pot
13. Food Street
14. Starbucks
15. Rajpruek Club

บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด หรือ CRG มีร้านอาหาร และเครื่องดื่ม อยู่ในมือดังนี้

1. Mister Donut
2. KFC
3. อานตี้ แอนส์ (Auntie Anne’s)
4. เปปเปอร์ ลันช์ (Pepper Lunch)
5. ชาบูตง (Chabuton)
6. โคล สโตน ครีมเมอร์รี (Cold Stone Creamery)
7. โยชิโนยะ (Yoshinoya)
8. โอโตยะ (Ootoya)
9. เดอะ เทอเรส (The Terrace)
10. คัตสึยะ (KATSUYA)
11. เทนยะ (Tenya)
12. เฟซท์พรีเมี่ยมไอศกรีม (Fezt Premium Ice Cream)

บริษัท ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ MINT มีร้านอาหาร และเครื่องดื่ม อยู่ในมือดังนี้

1. เดอะพิซซ่าคอมปานี (The Pizza Company)
2. สเวนเซ่นส์ (Swensen’s)
3. ซิซซ์เล่อร์ (Sizzler)
4. เดลี่ควีน (Dairy Queen)
5. เบอร์เกอร์คิง (Burger King)
6. เดอะ คอฟฟี่ คลับ(The Coffee Club)
7. ริเวอร์ไซด์ กริลล์ ฟิช (Riverside Grilled Fish)
8. เบซิล (Basil)
9. เบนิฮานา (Benihana)
10. โรงคั่วกาแฟเวเนเซียโน (Veneziano)
11. บอนชอน (Bonchon)

บริษัท มัดแมน จำกัด (มหาชน) หรือ MM มีร้านอาหาร และเครื่องดื่ม อยู่ในมือดังนี้

1. อนาเธอร์ฮาวด์ คาเฟ่ (Another Hound Café)
2. กิน+เฮ (KIN+HEY)
3. เกรฮาวด์ คอฟฟี่ (Greyhound Coffee)
4. โอ บอง แปง (Au Bon Pain)
5. ดังกิ้น โดนัท (Dunkin’ Donuts)
6. บาสกิ้น ร็อบบิ้นส์ (Baskin Robbins)

บริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ ZEN มีร้านอาหาร และเครื่องดื่ม อยู่ในมือดังนี้

1. เซ็น เจแปนนิส เรสเตอรอง (ZEN Japanese Restaurant)
2. มุฉะ บาย เซน (Mushabyzen)
3. ออนเดอะเทเบิ้ล (On the Table)
4. อากะ (AKA)
5. ซูชิชู แอนด์ คาร์นิวัล ยากินิคุ (Sushi Cyu & Carnival Yakiniku)
6. เทสสึ (Tetsu)
7. เขียง
8. ฝอ
9. ตำมั่ว
10. ลาวญวน
11. แจ่วฮ้อน
12. เดอตำมั่ว
13. ดินส์ (Din’s)

บริษัท เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ M มีร้านอาหาร และเครื่องดื่ม อยู่ในมือดังนี้

1. เอ็มเคสุกี้ (Mk Restaurant)
2. เอ็มเค โกลด์
3. เอ็มเค ไลฟ์
4. ยาโยอิ Yayoi
5. ฮากาตะ ราเมน
6. มิยาซากิ เทปปันยากิ
7. ณ สยาม
8. เลอ สยาม
9. เลอ เพอทิท
10. บิซซี่ บ็อกซ์
11. เอ็มเค ฮาร์เวสต์

บริษัท บุญรอดเทรดดิ้ง จำกัด และบริษัท สิงห์คอร์เปอเรชัน จำกัด มีร้านอาหาร และเครื่องดื่ม อยู่ในมือดังนี้

1. EST.33 by Singha
2. ฟาร์ม ดีไซน์ (Farm Design)
3. ซานต้าเฟ่สเต็ก (Santa Fe' Steak)
4. คิตะโอจิ (Kitaohji)
5. สตาร์ เชฟ มากิ แชมป์เปี้ยน (Star Chefs Maki Champion)

บริษัท วาว แฟคเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ W มีร้านขนมในมือดังนี้ 

1. Bake Cheese Tart หรือ เบค ชีส ทาร์ต
2. Zaku Zaku หรือ ซากุ ซากุ
3. RAPL หรือ แรปเปิ้ล
4. Crépes & Co. หรือ เครปส์ แอนด์ โค
5. Kagonoya หรือ คาโกะโนยะ
6. Le Boeuf หรือ เลอเบิฟ

ไมเนอร์ ฟู้ด เผยยอดขายหลังคลายล็อกดาวน์พุ่งสุดๆ

มร. ดิลลิป ราชากาเรีย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ MINT และรักษาการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ไมเนอร์ ฟู้ด กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่า ช่วงที่มีโควิด-19 MINT ธุรกิจบริการจัดส่งอาหาร หรือเดลิเวอรี่ และบริการซื้อกลับบ้านมีการเติบโตขึ้น และได้รับความนิยมสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

เมื่อคลายล็อกดาวน์ ร้านอาหารของไมเนอร์ ฟู้ดในประเทศไทยก็กลับมาเปิดให้บริการ 95% ของสาขาร้านอาหารทั้งหมด 1,490 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งนับตั้งแต่กลับมาเปิดสาขายอดขายของแบรนด์ส่วนใหญ่ปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับ และบางแบรนด์แสดงแนวโน้มของยอดขายที่สูงกว่าระดับก่อนการระบาดของโควิด-19 ด้วยซ้ำ

ขณะที่ ประพัฒน์ เสียงจันทร์ รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เล่าถึงแผนครึ่งปีหลังที่เหลือว่า เราจะยกระดับบริการเดลิเวอรี่ ผ่านการพัฒนาแพลตฟอร์มการสั่งอาหารออนไลน์ ซึ่งการมีแพลตฟอร์มสั่งอาหารเดลิเวอรี่เป็นของตัวเอง จะช่วยลดค่าใช้จ่ายและสร้างฐานข้อมูลลูกค้าให้กับองค์กรได้อีกด้วย

- พัฒนาเมนูใหม่ๆ เพื่อดึงดูดผู้บริโภค ผ่านการนำผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้วมาพัฒนาทางด้านนวัตกรรมให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เช่น เมนูมะม่วง แบล็ก ดูโอ้ ไอศกรีมมะม่วงอกร่องทองพร้อมกับเครื่องเคียงอย่างข้าวเหนียวดำ หรือมะพร้าวอ่อน เป็นต้น 

- โมเดลร้านรูปแบบ คีออส (Kiosk) เป็นการให้บริการแกร็บแอนด์โกที่สามารถสร้างรายได้ โดยจะตั้งร้านอยู่ใกล้กับความสะดวกของผู้บริโภคมากขึ้น อาทิ สถานที่ทำงาน รถไฟฟ้า ฯลฯ ซึ่งที่ทำแล้วประสบความสำเร็จได้แก่ ซิซซ์เลอร์ ทูโก

- พัฒนา Cloud Kitchen โมเดลครัวกลางรูปแบบใหม่ให้บริการที่ สะดวก ใกล้บ้าน จากการนำเอาคอนเซปต์ Cloud มาประยุกต์ใช้กับร้านอาหาร เกิดเป็น Cloud Kitchen ซึ่งแพลตฟอร์มนี้ช่วยให้ลูกค้าที่สั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ ได้รับอาหารรวดเร็วขึ้น จุดเด่น คือ ที่ตั้งสาขาใกล้บ้านในระยะ 3 กิโลเมตร และสามารถสั่งอาหารได้หลายแบรนด์ ภายในออเดอร์เดียวกัน

ZEN  เร่งเครื่องทำกำไรครึ่งปีหลัง

บุญยง ตันสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ ZEN ผู้ประกอบธุรกิจบริการอาหาร (Food Services) มองว่า หลังจากรัฐบาลสามารถควบคุมสถานการณ์ของโรคโควิด-19 ได้ดี ประชาชนมีความมั่นใจในการใช้ชีวิตนอกบ้าน และร้านอาหารสามารถเปิดให้บริการนั่งทานที่ร้านได้ตามปกติ ภายใต้การให้บริการแบบ New Normal 

ทั้งนี้ คาดว่าผลการดำเนินไตรมาส 3/63 ของ ZEN จะปรับตัวดีขึ้น จากลูกค้าทยอยใช้บริการร้านอาหารตั้งแต่มีการคลายล็อกดาวน์ และคาดว่าไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ ปริมาณลูกค้าของร้านอาหารจะเพิ่มขึ้นกลับมาใกล้เคียงช่วงปกติก่อนที่มีโรคระบาดเกิดขึ้น

บุญยง กล่าวอีกว่า เราได้เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารต้นทุนและควบคุมค่าใช้จ่าย เช่นปรับพอร์ตโฟลิโอแบรนด์ร้านอาหาร พัฒนาเมนูอาหารใหม่ๆ เพื่อเพิ่มความหลากหลาย การกระจายสัดส่วนรายได้จากช่องทางเดลิเวอรี่ รวมถึงการปรับโครงสร้างการบริหารจัดการภายในองค์กรที่ดำเนินการไปแล้วเพื่อรับกับเป้าหมายที่ต้องการกลับมาสร้างการเติบโตที่ดี

"ผลการดำเนินงานของ ZEN ได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วในช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา ภาพรวมเดือน พ.ค.และ มิ.ย.ที่ผ่านมาปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ หากรัฐบาลมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ กระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค รวมถึงเริ่มทยอยเปิดประเทศให้ชาวต่างชาติบางส่วนเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทยได้บ้าง ภายใต้มาตรการตรวจคัดกรองและเฝ้าระวังอย่างรัดกุม ก็จะส่งผลดีต่อภาพรวมเศรษฐกิจ"

  • Kiosk หรือ คีออส คือ ร้านค้าขนาดเล็ก คล้ายกับซุ้ม รถเข็น หรือเคาน์เตอร์เล็กๆ ที่ต้ังอยู่ในพื้นที่ค่อนข้างจำกัด เช่น ทางเดินรถไฟฟ้า หรือทางเดินห้างสรรพสินค้า เป็นต้น

Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ