UNFCCC ยกย่องเอสพีซีจีเป็นบริษัทอันดับ 1 จาก 30 บริษัทด้านพลังงานสะอาด ที่มีพนักงานสุภาพสตรีทำงานมากที่สุด โดยให้การสนับสนุนกิจกรรมการพัฒนาบทบาทสตรีให้มีความโดดเด่น ทั้งยังส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางเพศ และการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาชีวิตของสุภาพสตรีและเด็กมาตลอด
เมื่อวันที่ 2 ก.ค.62 The United Nations Framework Convention on Climate Change (UNFCCC) โดย The Clean Energy Education and Empowerment (C3E) ภายใต้ Clean Energy Ministerial (CEM) ได้เปิดเผยรายงานสถานะเกี่ยวกับความเสมอภาคทางเพศในธุรกิจด้านพลังงานสะอาด โดยรวบรวมข้อมูลในการจ้างงานของ บริษัทด้านพลังงานสะอาด 135 แห่ง คิดเป็นสุภาพสตรีทั้งสิ้น 23 % ของพนักงานทั้งหมด จากข้อมูลของ 135 บริษัท พบว่า SPCG มีสัดส่วนของพนักงานสุภาพสตรีที่ทำงานด้านพลังงานสะอาดถึง 57 % สูงเป็นอันดับ 1 จาก Top 30 บริษัท โดยบริษัท SPCG มีความโดดเด่นในมิตินี้มากที่สุด
ทั้งนี้ รายงานดังกล่าวสอดคล้องกับแนวทางของ ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน) และประธานสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ ที่ให้การสนับสนุนกิจกรรมการพัฒนาบทบาทสตรีให้มีความโดดเด่น รวมทั้งช่วยเหลือ และให้ความรู้ต่างๆ เพื่อการพัฒนาด้านอาชีพสำหรับสตรี อีกทั้งยังส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางเพศและการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาชีวิตของสุภาพสตรีและเด็กมาโดยตลอด
สำหรับ หน่วยงานในระบบ UN (Clean Energy Education and Empowerment) หรือ C3E เป็นหน่วยงานที่มีวัตถุประสงค์ในการลดช่องว่างทางเพศและยกระดับการมีส่วนร่วม ความเป็นผู้นำ เพิ่มขีดความสามารถ และความสำเร็จของผู้หญิงในสาขาธุรกิจพลังงานสะอาด ซึ่งที่ผ่านมา Clean Energy Education and Empowerment หรือ C3E และประเทศที่พัฒนาแล้ว มีนโยบายในการให้ความสำคัญเรื่องความเท่าเทียม (Equality) การส่งเสริมบทบาทของผู้หญิงให้มีความเท่าเทียมกับผู้ชายในด้านต่างๆ
นอกจากนี้ รายงานยังระบุด้วยว่า ทั้งผู้นำประเทศด้านธุรกิจ ด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งจากการศึกษาและการวิจัยได้แสดงให้เห็นถึงความเสมอภาคทางเพศที่เพิ่มมากขึ้นในภาคเศรษฐกิจดังกล่าว อีกทั้งจะนำมาซึ่งประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมต่อทุกคนในอนาคต
The Clean Energy Education and Empowerment (C3E) ได้ทิ้งท้ายว่า ผู้หญิงเผชิญกับความท้าทายตลอดอาชีพการทำงาน เช่นเดียวกับที่พบในภาคธุรกิจด้านพลังงานสะอาด เราเชื่อว่าจะสามารถสร้างความแตกต่าง และต้องจัดการกับปัญหาและอุปสรรคที่จะเกิดขึ้น เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมในด้านต่างๆ และเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมต่อทุกคนในอนาคตต่อไป.