ไทย-ญี่ปุ่น จับมือ ลงทุนนิคมอุบลฯ หวังสร้างฮับเศรษฐกิจในภูมิภาค

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ไทย-ญี่ปุ่น จับมือ ลงทุนนิคมอุบลฯ หวังสร้างฮับเศรษฐกิจในภูมิภาค

Date Time: 2 ก.ค. 2562 16:21 น.

Video

เปิดทริกวางแผนการเงิน เพื่อชีวิตที่มีประสิทธิภาพ

Summary

  • ไทย-ญี่ปุ่น เดินหน้าจับมือลงทุนนิคมอุบลฯ หวังสร้างฮับเศรษฐกิจในภูมิภาคร่วมกับภาครัฐไฟเขียว เร่งปูพรมโครงสร้างพื้นฐานรองรับ ประกาศหนุนเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว

Latest


ไทย-ญี่ปุ่น เดินหน้าจับมือลงทุนนิคมอุบลฯ หวังสร้างฮับเศรษฐกิจในภูมิภาคร่วมกับภาครัฐไฟเขียว เร่งปูพรมโครงสร้างพื้นฐานรองรับ ประกาศหนุนเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว

เมื่อวันที่ 2 ก.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังการลงพื้นที่ จ.อุบลราชธานี ของ ครม.ชุดก่อนเมื่อกลางปีที่แล้ว ทำให้การผลักดันโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ ต.นากระแซง และ ต.ทุ่งเทิง อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี บนพื้นที่ 2,300 ไร่ เพื่อสร้างฐานการผลิตเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน และเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าในระดับนานาชาติ มีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากกลุ่มทุนญี่ปุ่นที่ร่วมลงนาม MOU ตามแผนก่อสร้างในปีหน้า และได้รับไฟเขียวจากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) รวมถึงการตอบรับจาก BOI ที่จะช่วยหนุนเสริมนักลงทุนจากญี่ปุ่นที่พร้อมมาตั้งฐานการผลิตที่นิคมอุตสาหกรรม ความคืบหน้าล่าสุด ตัวแทนกลุ่มทุนและที่ปรึกษาด้านการลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น นายยาตาไก โยชินาริ นายไดสุเกะ ซาโต้ และ นายโตชิยูกิ อาเบะ ได้เดินทางลงพื้นที่โครงการก่อสร้างนิคม โดยมี นายณัฐวัฒน์ และ นนทวัชร์ เลิศสุรวิทย์ ในนามอุบลราชธานี อินดัสตรี้ ผู้ดำเนินโครงการพาไปเยี่ยมชมพื้นที่ก่อสร้างนิคมอุบลฯ ที่ อ.เดชอุดม

โดยนายณัฐวัฒน์ กล่าวว่า โครงการได้ดำเนินมาถึงขั้นตอนสุดท้ายของการปรับสีผังเมืองแล้ว คือ การประชุมของอนุกรรมการ และกรรมการชุดใหญ่ หลังจากนั้นจะติดประกาศ 30 วัน และประกาศเป็นกฎหมายออกมา ดังนั้นการปรับผังเมืองตามเกณฑ์ของ กนอ. จากสีเขียว(พื้นที่เกษตรกรรม) เป็นสีม่วง (พื้นที่อุตสาหกรรม) จึงน่าจะจบกระบวนการนี้ได้ไม่เกินสิ้นปีนี้

ด้าน นายยาตาไก ตัวแทนกลุ่มทุนญี่ปุ่นเผยว่า “ก่อนหน้านี้ได้มาลงพื้นที่ จ.อุบลฯหลายครั้งแล้ว ล่าสุดที่กลับไปประชุมกับสมาคมนักธุรกิจญี่ปุ่นซึ่งมีสมาชิกอยู่ทั่วประเทศญี่ปุ่น ส่วนใหญ่มีความสนใจเกี่ยวกับโครงการนี้ เพราะจุดเด่นของจังหวัดนี้มีครบทั้งเรื่องของแรงงาน วัตถุดิบ โลจิสติกส์ และโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ของจังหวัดที่มีทั้งถนนสี่เลน มีสนามบิน และกำลังจะมีรถไฟรางคู่ และที่นักลงทุนให้ความสนใจก็คือ สิทธิประโยชน์ที่บีโอไอระบุว่าจะได้รับจากการลงทุนในนิคมแห่งนี้ และเรื่องการค้าชายแดนที่อยู่ใกล้กับลาว กัมพูชา เวียดนาม เมื่อนิคมนี้เกิดขึ้นก็จะช่วยให้คนท้องถิ่นไม่ต้องไปทำงานที่อื่นไกลๆ ส่วนที่อยากให้เน้นก็คือ การประชาสัมพันธ์จังหวัดอุบลฯให้คนญี่ปุ่นรู้จักมากขึ้น


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ