เพิ่มอำนาจ คนร. คุมรัฐวิสาหกิจ

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

เพิ่มอำนาจ คนร. คุมรัฐวิสาหกิจ

Date Time: 14 มิ.ย. 2562 08:50 น.

Summary

  • นายชาญวิทย์ นาคบุรี รองผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า ขณะนี้กำลัง เตรียมจัดทำแผนพัฒนารัฐวิสาหกิจ ตาม พ.ร.บ.การพัฒนาการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ

Latest

อัปเดต 5 กลยุทธ์ขายของ พิชิตใจคน Gen Z อยากรักษ์โลก แต่ของมันต้องมี แบรนด์รับมืออย่างไร?

สคร.เร่งทำแผนพัฒนาให้สอดรับยุทธศาสตร์ชาติ

นายชาญวิทย์ นาคบุรี รองผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า ขณะนี้กำลัง เตรียมจัดทำแผนพัฒนารัฐวิสาหกิจ ตาม พ.ร.บ.การพัฒนาการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ ที่มีผลบังคับใช้เมื่อปลายเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา โดยแผนดังกล่าวจะต้องเสนอให้คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เพื่อ พิจารณาอนุมัติ ทั้งนี้ กฎหมายกำหนดให้มีแผนพัฒนารัฐวิสาหกิจมีระยะเวลาครั้งละ 5 ปี เพื่อกำหนดเป้าหมายนโยบายและทิศทางในการพัฒนารัฐวิสาหกิจให้สอดคล้องกับแนวนโยบายแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญ, ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี, แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนพัฒนาประเทศด้านต่างๆ

โดยให้คำนึงถึงหลักวินัยการเงินการคลังของประเทศ และภารกิจ ของรัฐวิสาหกิจที่เปลี่ยนแปลงไป และบทบาทหน้าที่ของรัฐวิสาหกิจที่มีต่อการพัฒนาประเทศ โดยการจัดทำแผนพัฒนารัฐวิสาหกิจนั้น จะให้กระทรวงเจ้าสังกัดเสนอกรอบนโยบายการพัฒนาและทิศทางการลงทุนของรัฐวิสาหกิจในกำกับ ตามหลักเกณฑ์ที่ คนร. กำหนด “รัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เป็นผู้ยกร่างกฎหมายนี้เป็นครั้งแรก ซึ่งจะทำให้การทำงาน ของ คนร. มีความเข้มแข็งและมีบทบาทมากขึ้นในการช่วยพัฒนา รัฐวิสาหกิจ เพื่อเป็นเครื่องมือพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ”

ทั้งนี้ อำนาจและหน้าที่ของ คนร.ตามกฎหมายมีดังนี้ 1.จัดทำแผนพัฒนารัฐวิสาหกิจเพื่อเสนอต่อ ครม. 2.เสนอแนะ และให้คำปรึกษาต่อ ครม.เกี่ยวกับนโยบายและแนวทางการกำกับดูแล และบริหารรัฐวิสาหกิจ และเสนอความเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาของรัฐวิสาหกิจ 3.เสนอแนะ ครม. เกี่ยวกับการกำกับดูแลให้หน่วยงานรัฐหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ดำเนินงานให้สอดคล้องกับแผนพัฒนารัฐวิสาหกิจ 4.กำหนดสัดส่วนการถือหุ้นของกระทรวงการคลังในรัฐวิสาหกิจที่เป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชน โดยความเห็นชอบของ ครม. 5.กำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสร้างแรงจูงใจแก่รัฐวิสาหกิจ 6.เสนอความเห็นต่อ ครม.เพื่อกำหนดมาตรการและการจัดสรรเงินชดเชยให้แก่รัฐวิสาหกิจ ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลภายใต้แผนพัฒนารัฐวิสาหกิจตามมาตรา 28 และ 7.กำหนดเกณฑ์การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ