งานงอก! กรมประชาสัมพันธ์ขอพ่วง

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

งานงอก! กรมประชาสัมพันธ์ขอพ่วง

Date Time: 4 เม.ย. 2561 08:48 น.

Summary

  • พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้สั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)

Latest

เปิดอินไซต์ คนไทย #ติดแกลม เมื่อคนต่างเจน มองคำว่า "หรูหรา" ไม่เหมือนกัน ?

พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้สั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ไปเร่งรัดทำข้อสรุปเกี่ยวกับแนวทางการช่วยเหลือผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลและผู้ประกอบการโทรคมนาคม ให้แล้วเสร็จภายในเดือน เม.ย.นี้ โดยต้องชี้แจงเหตุผลการเสนอให้หัวหน้า คสช.ใช้คำสั่งตามมาตรา 44 เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล ซึ่งได้ขอให้พักชำระค่าประมูลใบอนุญาตเป็นเวลา 3 ปี และลดราคาค่าใช้จ่ายค่าเช่าโครงข่ายทีวีดิจิทัล 50% เป็นระยะเวลา 24 ปี และการช่วยเหลือผู้ประกอบการโทรคมนาคมที่ชนะประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ โดยขยายระยะเวลาการชำระค่าประมูลออกไป โดยเฉพาะงวดที่ 4 แบ่งชำระเป็น 5 งวด เป็นเวลา 5 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 2563-2567

ทั้งนี้ หลังจากที่ประชุม คสช.เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นายวิษณุ และนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้ชี้แจงด้วยวาจาในที่ประชุม คสช.แล้ว แต่ที่ประชุม คสช.ได้ให้ไปทำเป็นเอกสารชี้แจงให้ชัดเจน โดยนายกรัฐมนตรีได้ย้ำว่า แนวทางการช่วยเหลือดังกล่าว จะต้องพิจารณาใน 2 หลัก คือ ผู้ประกอบการอยู่ได้ และรัฐไม่เสียประโยชน์มากเกินควร

พล.ท.สรรเสริญกล่าวต่อว่า ในฐานะที่เป็นรักษาราชการในตำแหน่งอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ได้เสนอให้หัวหน้า คสช.ออกคำสั่งตามมาตรา 44 รวมไปกับข้อเสนอการช่วยเหลือผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลและผู้ประกอบการโทรคมนาคม ให้กรมประชาสัมพันธ์หารายได้จากโฆษณาได้ ทั้งในส่วนของการหาโฆษณาของกรมประชาสัมพันธ์เอง และผู้ผลิตรายการไปหาโฆษณา แต่มีเงื่อนไขว่าเวลาสำหรับขายโฆษณาจะอยู่ในสัดส่วน ที่น้อยกว่าสถานีอื่น และเงินค่าโฆษณาอยู่ในอัตราที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ผู้ประกอบการที่มีฝีมือมาทำงานให้กับสถานี เนื่องจากกรมได้รับงบประมาณในแต่ละปีน้อยมาก เพียง 239 ล้านบาท ครอบคลุมทั้งการทำรายการ การทำข่าวโทรทัศน์ และวิทยุ ทุกด้านที่กรมประชาสัมพันธ์รับผิดชอบ ซึ่งต้นทุนการผลิตรายการที่มีคุณภาพต้องใช้เงินประมาณ 60-70 ล้านบาท.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ