เอสเอ็มอีภูธรหนี้เสียพุ่ง “วิรไท” ชี้อัดเงินอย่างเดียวไม่ใช่ทางแก้

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

เอสเอ็มอีภูธรหนี้เสียพุ่ง “วิรไท” ชี้อัดเงินอย่างเดียวไม่ใช่ทางแก้

Date Time: 20 พ.ย. 2560 05:45 น.

Summary

  • ธปท.เผยเอสเอ็มอีต่างจังหวัดมีหนี้เสียมากขึ้น กลุ่มอสังหาฯ–ก่อสร้าง–ค้าปลีกค้าส่ง อาการน่าเป็นห่วงเหตุสายป่านสั้น ชี้ลำพังสนับสนุนเงินทุนอาจไม่ตอบโจทย์ ภาครัฐต้องเร่งสร้างโครงสร้างพื้นฐานกลางให้เอสเอ็มอีเข้าถึงง่ายขึ้น

Latest

เปิดอินไซต์ คนไทย #ติดแกลม เมื่อคนต่างเจน มองคำว่า "หรูหรา" ไม่เหมือนกัน ?

วิรไท สันติประภพ

ธปท.เผยเอสเอ็มอีต่างจังหวัดมีหนี้เสียมากขึ้น กลุ่มอสังหาฯ–ก่อสร้าง–ค้าปลีกค้าส่ง อาการน่าเป็นห่วงเหตุสายป่านสั้น ชี้ลำพังสนับสนุนเงินทุนอาจไม่ตอบโจทย์ ภาครัฐต้องเร่งสร้างโครงสร้างพื้นฐานกลางให้เอสเอ็มอีเข้าถึงง่ายขึ้น

นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงานสัมมนาหอการค้าไทยทั่วประเทศ ที่ จ.สุราษฎร์ธานี ในหัวข้อ “เอสเอ็มอีกับการนำไทยให้ก้าวไกลไปกับโลกยุค 4.0” ว่า ได้รับรายงานว่าผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ในต่างจังหวัดสูญเสียขีดความสามารถในการแข่งขันไปมาก และมีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) เพิ่มขึ้น สวนทางกับธุรกิจขนาดใหญ่ โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ก่อสร้าง และค้าปลีก-ค้าส่ง เพราะสายป่านทางการเงินไม่ยาวพอ และโครงสร้างพื้นฐานที่แข่งขันกับส่วนกลางไม่ได้ รวมถึงขาดเทคโนโลยีสมัยใหม่ ขาดงานวิจัยและนวัตกรรม เป็นต้น

“การยกระดับศักยภาพเอสเอ็มอีจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องทำ เพราะการสนับสนุนแหล่งทุนอย่างเดียว อาจไม่ใช่ประเด็นหลักที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน หรือแก้ปัญหาระยะยาว เพราะการช่วยแหล่งทุนเหมือนกับการให้ยาแก้ไปเรื่อยๆ แต่เอสเอ็มอีต้องการการสนับสนุนความคิด ตลาด งานวิจัยและการพัฒนาใหม่”

ดังนั้น การสร้างโครงสร้างพื้นฐานกลางให้ตรงกับความต้องการของเอสเอ็มอี จึงเป็นหน้าที่สำคัญของภาครัฐที่จะต้องทำ เพื่อให้เอสเอ็มอีต่างจังหวัดเข้าถึงเทคโนโลยีได้เท่าเทียมกับส่วนกลาง และการปรับกฎหมาย กฎเกณฑ์ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงและสอดคล้องกับกติกาสากลมากขึ้น

นายวิรไทยกล่าวอีกว่า เทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อมของระบบเศรษฐกิจ ส่งผลให้นักธุรกิจพบกับการเปลี่ยนแปลงสำคัญใน 6 ด้าน ได้แก่ 1.เศรษฐกิจแบบแบ่งปัน ที่จะเกิดแพลตฟอร์มธุรกิจใหม่ร่วมกัน โดยไม่มีตัวกลาง 2.ข้อมูลจะเป็นปัจจัยสำคัญของโลกธุรกิจ ที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน 3.ธุรกิจจะแข่งขันด้วยความเร็ว 4.รูปแบบการทำงานจะเปลี่ยนโฉมตลาดแรงงาน เกิดงานกลุ่มอาชีพอิสระมากขึ้น สอดคล้องกับเวิล์ด อีโคโนมิก ฟอรั่ม ที่รายงานว่า ในปี 2563 จะมีงานหายไป 5 ล้านตำแหน่งใน 15 ประเทศ เพราะจะถูกปัญญาประดิษฐ์มาแทนที่ 5.โครงสร้างประชากรเปลี่ยนสู่สังคมผู้สูงอายุ ที่มีนัยสำคัญต่อธุรกิจเอสเอ็มอี และ 6. กฎเกณฑ์ กติกาหลายเรื่องเปลี่ยนตามโลกยุคใหม่ จากการก้าวข้ามพรมแดนโดยไม่รู้ตัว จนเกิดความเสี่ยงต่อการทำธุรกิจ.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ