ยูบีเอ็ม ตอกย้ำส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร ไทยครองอันดับ 1 ตลาด CLMV

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ยูบีเอ็ม ตอกย้ำส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร ไทยครองอันดับ 1 ตลาด CLMV

Date Time: 31 ก.ค. 2560 20:00 น.

Video

"CINDY CHAO The Art Jewel" สองทศวรรษอัญมณีศิลป์ | Brand Story Exclusive EP.4

Summary

  • ยูบีเอ็ม ย้ำอุตสาหกรรมอาหารไทย ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศด้วยการส่งออกเป็นอันดับ 1 ไปยังกลุ่ม CLMV คาดปีนี้ส่งออกกว่า 900,000 ล้านบาท โดยของขบเคี้ยวและเครื่องปรุงรสเป็นที่ต้องการมาก...

Latest


ยูบีเอ็ม ย้ำอุตสาหกรรมอาหารไทย ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศด้วยการส่งออกเป็นอันดับ 1 ไปยังกลุ่ม CLMV คาดปีนี้ส่งออกกว่า 900,000 ล้านบาท โดยของขบเคี้ยวและเครื่องปรุงรสเป็นที่ต้องการมาก...

วันที่ 31 ก.ค.60 น.ส.รุ้งเพชร ชิตานุวัตร์ ผู้อำนวยการกลุ่มโครงการ-ภูมิภาคอาเซียน บริษัท ยูบีเอ็ม เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด เผยว่า การส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารของไทย ปีนี้คาดว่าจะมีมูลค่ารวม 900,000 ล้านบาท คาดจากแนวโน้มอุตสาหกรรมอาหารปี 60 จะเติบโตขึ้นอีกร้อยละ 8 จากปีที่ผ่านมา โดยอุตสาหกรรมอาหารของไทยสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศได้ด้วยการส่งออกเป็นอันดับ 1 ไปยังกลุ่ม CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม) และเป็นผู้ส่งออกอาหารสำเร็จรูปอันดับที่ 13 ของโลก

สำหรับตลาด CLMV ได้ขยับอันดับขึ้นมาเป็นตลาดส่งออกอาหารอันดับ 1 ของไทย ด้วยสัดส่วนการส่งออก 15.2% แซงหน้าตลาดญี่ปุ่นที่มีสัดส่วนส่งออก 13.9% โดยถือว่า CLMV และ CLMV+3 (เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น จีน) เป็นตลาดที่มีความต้องการอาหารไทยเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคยุคปัจจุบันต้องการ คืออาหารพร้อมรับประทาน ของขบเคี้ยว และเครื่องปรุงรส

ทั้งนี้ คาดว่าการส่งออกอาหารที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ กุ้ง ไก่ สับปะรดกระป๋อง และข้าวโพดหวานกระป๋อง โดยไทยส่งออกกุ้งไปที่สหรัฐฯ และญี่ปุ่นเป็นหลัก ส่วนไก่ หลังจากที่รัฐบาลเกาหลีใต้อนุมัติให้สามารถนำเข้าไก่จากไทยได้เมื่อเดือน พฤศจิกายน 2559 ที่ผ่านมา ก็ทำให้การส่งออกไก่ของไทยขยายตัวขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นับจากที่ถูกสั่งห้ามนำเข้ามาตั้งแต่การแพร่ระบาดของไข้หวัดนกเมื่อปี 2547

นอกจากนี้ สับปะรดกระป๋องของไทยเป็นที่นิยมในสหรัฐฯ-เนเธอร์แลนด์ และข้าวโพดหวานกระป๋อง เป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภคในตลาดระดับกลาง-ล่างของชาวญี่ปุ่น ขณะที่การส่งออกข้าวยังคงทรงตัวจากภัยแล้ง ด้านผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังยังคงได้รับแรงกดดันจากราคาที่ยังผันผวนของประเทศจีนซึ่งเป็นคู่ค้าหลัก

สำหรับเทรนด์อาหาร 2018 ที่คาดว่าผู้บริโภคต้องการ คือ 1. ผลิตภัณฑ์คุณภาพดีๆ เป็นสินค้าสดใหม่ มาจากธรรมชาติที่ไม่ปรุงแต่ง 2. สินค้าจากท้องถิ่น สื่อสารได้ถึงเรื่องราว และมีการเล่าเรื่อง 3. ความโปร่งใส ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบการย้อนกลับได้ 4. ยา อาหาร และอาหารเสริม โดยเฉพาะในอนาคตลักษณะโครงสร้างทางสังคมจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นสังคมแห่งผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ โลกจะทวีความต้องการอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้น

5. ตัวเลือกสารให้ความหวานจากธรรมชาติแทนน้ำตาล ไม่ว่าจะเป็นหญ้าหวาน เด็กโตรส หรืออื่นๆ 6. เมล็ดพันธุ์ที่นำมาต่อยอดในรูปแบบต่างๆ เช่น การสกัดเป็นน้ำมันหรือเป็นผง 7. อาหารหรือเครื่องดื่ม ที่ให้คุณค่าทางโภชนาการและพลังงานอย่างเต็มที่ แทนอาหารไขมันต่ำแบบเดิม 8. ผู้บริโภคเริ่มมองหาแพ็กเกจจิ้งสวยงามดึงดูดผู้บริโภค สื่อสารคุณสมบัติของอาหาร สะดวกและคุ้มค่าในการจัดส่ง โดยปัจจุบัน Smart Packaging เป็นเป้าหมายสำคัญของวงการอาหารทั่วโลก สามารถบอกช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับรับประทาน หรือวันหมดอายุได้โดยการเปลี่ยนสี เปลี่ยนรูป

อย่างไรก็ตาม ยูบีเอ็ม จึงได้จัดงานฟู้ดอินกรีเดียนท์เอเชีย 2017 หรืองานแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรม ส่วนผสมอาหารและเครื่องดื่มที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเอเชีย จัดขึ้นในวันที่ 13-15 ก.ย. 60 เป็นการจัดงานครั้งที่ 22 เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารของไทยได้พัฒนาศักยภาพ หลังประสบผลสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่จากกรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย เมื่อปีที่แล้ว ซึ่งปีนี้มีผู้ตอบรับเข้าร่วมแสดงงานกว่า 700 ราย จาก 56 ประเทศทั่วโลก คาดผู้เข้าชมงานกว่า 17,000 ราย โดยงานนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อผู้ประกอบการไทย ที่มีแผนพัฒนาต่อยอดธุรกิจ หรือต้องการสร้างคู่ค้าระดับนานาชาติ.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ