โทเคนดิจิทัล ทางเลือกใหม่ที่มีโอกาสมหาศาล กับ จิตตินันท์ ชาติสีหราช CEO ของ Token X

Business & Marketing

Executive Interviews

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

โทเคนดิจิทัล ทางเลือกใหม่ที่มีโอกาสมหาศาล กับ จิตตินันท์ ชาติสีหราช CEO ของ Token X

Date Time: 15 เม.ย. 2566 12:39 น.

Video

บุกโรงงาน PANDORA ช่างไทยผลิตจิวเวลรี่ แบรนด์โลกแสนล้าน | On The Rise

Summary

  • Thairath Money พูดคุยกับคุณ จิตตินันท์ ชาติสีหราช CEO ของ Token X ในเครือ SCBX ถึงความเชื่อมั่น แนวโน้ม และโอกาสของตลาดโทเคนดิจิทัล

Latest


ปี 2566 เป็นต้นมา ในอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัล แม้ว่าคริปโตเคอร์เรนซีจะเริ่มรักษาบาดแผลจากมรสุมที่ถาโถมในปีที่ก่อนได้บ้างแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้เป็นที่ชัดเจนว่าจะเป็นขาขึ้นแล้วหรือไม่ เพราะยังคงมีความอ่อนไหวสูงตามสภาพเศรษฐกิจจริง ขณะที่สินทรัพย์ดิจิทัลอีกประเภทหนึ่งอย่าง โทเคนดิจิทัล (Digital Token) มีแนวโน้มกลับมาคึกคักอีกครั้ง หลังจากที่รัฐบาลได้อนุมัติยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากการขายโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน ทั้งในตลาดแรกและตลาดรอง ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกในการระดมทุนที่นอกเหนือจากรูปแบบดั้งเดิม ซึ่งส่งผลดีต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย

ในบทความนี้ Thairath Money ได้พูดคุยกับคุณ จิตตินันท์ ชาติสีหราช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเคน เอกซ์ จำกัด (Token X) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ SCBX ที่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ICO Portal) จากสำนักงาน ก.ล.ต. ถึงความเชื่อมั่น แนวโน้ม และโอกาสของตลาดโทเคนดิจิทัล ที่จะเป็นหนึ่งในปัจจัยหนุนให้ประเทศไทยก้าวสู่ศูนย์กลางการระดมทุนของอาเซียนได้

พัฒนาการของตลาดโทเคนดิจิทัล

คุณจิตตินันท์ ได้เล่าความเป็นมาของตลาดโทเคนดิจิทัลในไทยว่า ถ้าย้อนกลับไปในช่วงที่ ICO บูมเมื่อประมาณปี พ.ศ.2560 เป็นช่วงที่มีการออกโทเคนจำนวนมาก ด้วยความที่ตลาดใหม่มากทำให้กฎหมายยังตามไม่ทัน พอไม่มีกฎหมายมากำกับ จึงทำให้ตลาดเป็นแบบฟรีสไตล์ เกิดการระดมทุนด้วยการออกโทเคนหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น Utility Token หรือเหรียญคริปโตฯ

ดังนั้นการระดมทุนดิจิทัลนี้จึงปฏิเสธไม่ได้ว่ามีทั้งโปรเจกต์ที่น่าเชื่อถือและโปรเจกต์ที่เป็น Scam ที่ตั้งใจเข้ามาเอาเงินแล้วก็ไป ทำให้มีนักลงทุนที่เสียหายและออกจากตลาดการลงทุนเป็นจำนวนมาก ต่อมาเมื่อคนในตลาดและหน่วยงานกำกับดูแล (Regulator) ได้เรียนรู้ จะเห็นได้ว่าหลังจากนั้นมาจะเริ่มมี Regulator เข้ามาดูว่าโทเคนประเภทไหนที่ควรจะกำกับดูแล โดยเฉพาะอย่างยิ่งอะไรก็ตามที่เข้าข่ายการระดมทุน

อย่างที่เห็นในข่าวว่า Regulator หลายๆ ประเทศพยายามที่จะจำแนกประเภทสินทรัพย์ดิจิทัลว่าเป็นหลักทรัพย์หรือไม่ หากเข้าข่ายเป็นหลักทรัพย์จะต้องมีการขออนุญาต เหล่านี้ล้วนทำให้เราเห็นพัฒนาการในเรื่องของ Good governance, Risk management โดย Regulator จะเริ่มเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากที่เคยเป็นตลาดแบบฟรีสไตล์ ก็อาจจะมีบาง use case ที่ต้องทำตามกฎหมายข้อบังคับ

เพราะฉะนั้นสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นมองว่ามันเป็นพัฒนาการของตลาด โดยนักลงทุนที่เคยมีบทเรียนกับตลาดในช่วงนั้น ก็จะเริ่มแยกความแตกต่างระหว่างคริปโตเคอร์เรนซี และโทเคนดิจิทัลได้ คนที่คุ้นเคยกับคริปโตเคอร์เรนซี พอมารู้จักกับโทเคนดิจิทัลก็จะเริ่มมองหาวิธี
กระจายความเสี่ยงการลงทุนของตัวเองมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็เป็นโอกาสของผู้ประกอบการที่จะเป็นช่องทางการระดมทุนเพิ่มด้วย

จิตตินันท์ ชาติสีหราช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเคน เอกซ์ จำกัด (Token X)
จิตตินันท์ ชาติสีหราช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเคน เอกซ์ จำกัด (Token X)


ICO Portal แกนกลางสำคัญของการระดมทุน

คุณจิตตินันท์ อธิบายถึง Token X ในฐานะที่เป็น ICO Portal ว่า ที่ เราสามารถให้บริการเริ่มตั้งแต่การเป็นที่ปรึกษา เพื่อที่จะดูว่าการระดมทุนในรูปแบบนี้เหมาะกับธุรกิจแบบใดบ้าง เพราะจริงๆ โทเคน อาจจะไม่ได้เหมาะกับทุกบริษัท อีกทั้งยังช่วยดูแลในเรื่องของการวางโครงสร้างของโทเคนให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการออกเสนอขาย รวมไปถึงเทคโนโลยีที่เหมาะกับแต่ละ use case

สำหรับ Token X เองก็จะมีในส่วนของ TKX enterprise portal ที่เป็น Tech stack พร้อมใช้ เพื่อที่ผู้ที่ต้องการระดมทุนไม่ต้องสร้างโครงสร้างพื้นฐานใหม่ ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าเข้าสู่ธุรกิจโทเคนดิจิทัลได้เร็วยิ่งขึ้นด้วย

อย่างก็ตามจากการที่ Token X ถือเป็นบริษัทในเครือของ SCB X ก็จะมีการ synergy เกิดขึ้น ด้วยการแนะนำ Financial Product อื่นๆในกลุ่มธุรกิจ ทำให้ลูกค้าไม่ว่าจะเข้ามาในช่องทางไหนก็สามารถที่จะได้รับบริการของกลุ่มแบบครบวงจร


ICO ออปชันเสริมของโลกการระดมทุน

ในประเด็นการเติบโตของ ICO จะทดแทน IPO ได้หรือไม่นั้น คุณจิตตินันท์ ให้มุมมองว่า การระดมทุนแบบ ICO ถือเป็นทางเลือกเพิ่มเติมมากกว่า เพราะการระดมแต่ละรูปแบบ มีธรรมชาติและความต้องการที่ไม่เหมือนกัน ถ้ามองถึง IPO ก็เหมือนเป็นการยกทั้งบริษัทเข้า IPO ไปเลย ส่วนหุ้นกู้ก็จะมีลักษณะของความเป็นตราสารหนี้ที่ต้องใช้เครดิตของทั้งบริษัทเหมือนกัน แต่พอพูดถึง ICO ทางสำนักงาน ก.ล.ต. ได้อนุญาตให้เลือกส่วนของสินทรัพย์หรือว่าโปรเจกต์เฉพาะเจาะจงที่สามารถสร้างรายได้ แล้วมาแปลงให้อยู่ในรูปแบบของโทเคน

เพราะฉะนั้นก็เหมือนเป็นอีกทางเลือกที่ไม่ต้องใช้เวลามหาศาลในการตรวจสอบวิเคราะห์ทั้งบริษัท ในตอนแรกธุรกิจอาจจะลองระดมทุนรูปแบบเดิมไปก่อน เมื่อบริษัทมีการเติบโตจึงค่อย ICO ถือเป็นตัวช่วยให้ผู้ระดมทุน (issuer) มีตัวเลือกในการมองหาวิธีการได้เงินเพื่อนำไปทำโปรเจกต์ ในขณะเดียวกันก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ทำให้สามารถปฏิสัมพันธ์กับนักลงทุนในรูปแบบใหม่ได้

เพราะการระดมทุนแบบ ICO สามารถออกแบบผลตอบแทน ที่อาจจะเป็นโครงสร้างในรูปแบบที่แปลกใหม่ได้มากกว่าเดิม จากเดิมที่นักลงทุนอาจจะคุ้นชินกับการได้รับผลตอบแทนเป็นเงินเฟียต ได้ผลตอบแทนคงที่ ได้เงินปันผล แต่ในอนาคตเราอาจจะเห็นโครงสร้างผลตอบแทนของโทเคนในหลากหลายรูปแบบ


ตลาดไทย ยังเป็นจุดโฟกัสหลักของ Token X

แม้ว่าเป้าหมายของ Token X ที่ได้มีการวางไว้ว่าในปี 2568 เราจะเป็นองค์กรชั้นนำของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่จุดโฟกัสหลักของเรา คือ ประเทศไทยก่อน ด้วยฐานหลักและความต้องการที่จะทำให้ตลาดของคนไทยได้ก้าวเป็นศูนย์กลางชั้นนำของโทเคนดิจิทัล ซึ่งไม่ได้หมายความว่าเราจะเน้นแค่นักลงทุนในเมืองไทย จริงๆ แล้วเราก็พยายามมองหาพันธมิตรในหลายๆ ประเทศด้วย ถ้าเมื่อไรที่ประเทศไทยเริ่มเข้าที่เข้าทางแล้ว Token X ก็จะเริ่มขยายไปต่างประเทศมาขึ้นในอนาคต

อีกทั้งเรายังมองว่าศักยภาพของเมืองไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก เอาแค่โปรเจกต์ไทยที่ต้องการมาระดมทุน ในปีหนึ่งมีเยอะมาก ถ้าดูในฝั่งของ Bond, IPO หรือว่า Loan เป็นจำนวนที่มหาศาล และหากคัดแค่เสี้ยวหนึ่งมาเป็นโทเคนแค่นั้นตลาดก็ใหญ่มากๆ แล้ว

ทางเลือกใหม่ของสินทรัพย์ดิจิทัล ที่ไม่ได้ลงทุนได้แค่คริปโตเคอร์เรนซี

คุณจิตตินันท์ ให้มุมมองเกี่ยวกับเทรนด์สินทรัพย์ดิจิทัลในปีนี้ว่า ถ้าพูดถึงคริปโตเคอร์เรนซี คนยังมองว่าเป็นสินทรัพย์เสี่ยงอยู่ เพราะว่าส่วนมากคนก็จะให้คุณค่าจากดีมานด์ ซัพพลายมากกว่าการดูที่ underlying เพราะฉะนั้นเป็นสินทรัพย์เสี่ยงมันก็จะสอดคล้องไปกับภาวะเศรษฐกิจอยู่แล้ว

พอมาในส่วนของ Investment Token ต้องไปโฟกัสที่โปรเจกต์หรือสินทรัพย์ ที่แนวโน้มเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจ ที่จะบอกได้ว่าดีหรือไม่ดีต้องไปดูว่า underlying คืออะไร

ซึ่งอนาคตถ้าตลาด Investment Token คึกคักมากขึ้นเราน่าจะได้เห็น underlying ใหม่ๆ มากขึ้น แม้ว่ามันอาจจะไม่ได้ตอบโจทย์ทุกคน แต่ถ้ามันมี option ให้เลือกมากขึ้นให้กับผู้ลงทุนที่จะสามารถกระจายพอร์ตของตัวเองไปกับสินทรัพย์ที่ตัวเองชอบหรือเข้าใจได้มากขึ้น

ICO Portal เราก็จะช่วยในการคัดเลือกโปรเจกต์ หรือสินทรัพย์ที่คนสามารถเข้าใจได้ง่าย เช่น คอนโด ถ้าคนลงทุนในคอนโดอยู่แล้วแค่พูดโลเคชันขึ้นมา นักลงทุนกลุ่มนี้อาจจะรู้สึกว่าการลงทุนในโทเคนเข้าถึงง่าย เป็นอะไรที่เขาเข้าใจไม่ยาก ไม่ต้องไปดู cost structure, revenue structure, business model มากมาย ตรงนี้ก็เป็นมุมที่น่าสนใจ และในปีนี้คิดว่าคนน่าจะหันมาดู Investment Token มากขึ้นในฐานะที่เป็นทางเลือกใหม่ของการลงทุน.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ