Fortune จัดอันดับ Southeast Asia 500 ปี 2567 เป็นครั้งแรก จัดอันดับบริษัทใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตามรายได้ และกำไรจากปีงบประมาณ 2566 พบ 6 บริษัทของไทยติด Top 20 บริษัทที่ทำรายได้มากที่สุด ในขณะที่ ปตท. เป็นบริษัทเดียวจากไทยที่ทำกำไรมากที่สุดอันดับที่ 8 ตามหลัง 4 บริษัทจากสิงคโปร์ และ 3 บริษัทจากอินโดนีเซีย
เนื่องจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคที่มีบทบาทสำคัญยิ่งขึ้นในเศรษฐกิจโลก ทั้งจากการเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่อุปทานและการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจในภูมิภาค
การจัดอันดับครั้งแรกนี้ประกอบไปด้วยบริษัทจาก 7 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และกัมพูชา ดังนี้
ในด้านรายได้ บริษัทค้าสินค้าโภคภัณฑ์ Trafigura ของประเทศสิงคโปร์ครองอันดับที่ 1 ด้วยยอดขาย 244 พันล้านดอลลาร์ จากการจำหน่ายแร่ธาตุ โลหะ และพลังงาน โดยมีจำนวนพนักงานน้อยที่สุดในบรรดาบริษัทชั้นนำ 10 อันดับแรกเมื่อพิจารณาตามรายได้
บริษัท 10 อันดับแรกใน Southeast Asia 500 เป็นกลุ่มบริษัทที่มีความหลากหลาย โดยภาคพลังงานมีบริษัทที่ติดอันดับสูงสุดจำนวน 3 บริษัทด้วยกัน ได้แก่
ใน 20 ลำดับแรกของบริษัทที่มีรายได้สูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบว่า มีบริษัทจากประเทศไทยติดอันดับ อยู่ 6 แห่ง คือ
นอกจากนี้ ปตท. ยังเป็นเพียงบริษัทเดียวจากไทยที่ทำกำไรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 8
บริษัทที่ใหญ่ที่สุด 10 อันดับแรกได้รับรายงานว่ามีรายได้ถึง 6.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 3 ของรายได้รวมในงบประมาณปี 2566 จากบริษัททั้งหมดใน Southeast Asia 500 ซึ่งมีรายได้ทั้งสิ้น 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เกณฑ์รายได้ขั้นต่ำในการมีรายชื่ออยู่ใน Southeast Asia 500 คือ 460.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ด้วยรายได้รวมอยู่ที่ 2.42 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ การธนาคารจึงเป็นภาคส่วนที่ใหญ่เป็นอันดับสองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่สำคัญ ธนาคาร 9 แห่งติดหนึ่งใน 20 บริษัทที่ทำกำไรได้มากที่สุด โดยนำด้วยธนาคาร DBS ของสิงคโปร์ทั้งในด้านรายรับ และผลกำไร
ภาพรวมของ Southeast Asia 500 ในปีที่ผ่านมามีรายได้และผลกำไรที่ลดลง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นได้รับผลกระทบจากธุรกิจภาคพลังงานที่ถดถอยลง จึงได้บดบังการเติบโตที่น่าประทับใจในหลายอุตสาหกรรม บริษัทที่มีการเติบโตอย่างน่าประทับใจได้แก่สายการบิน เช่น การบินไทย (Thai Airways) บริษัทเหมืองแร่ในอินโดนีเซีย เช่น Harita Nickel และ Merdeka Battery Materials รวมถึงบริษัทประกันภัยและธนาคารอีกมากมาย
การจัดอันดับ Fortune Southeast Asia 500 สะท้อนให้เห็นถึงภูมิภาคที่มีโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีเศรษฐกิจหลักเติบโตเร็วกว่าภูมิภาคยุโรปหรือสหรัฐอเมริกา ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความสำคัญมากขึ้นในเศรษฐกิจโลก เนื่องจากบริษัทข้ามชาติที่ติดอันดับ Global 500 หลายแห่งได้ย้ายห่วงโซ่อุปทานการผลิตไปยังประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น
อีกหนึ่งการเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่ในภูมิภาคที่นักวิเคราะห์ของ Fortune สังเกตเห็น คือการที่มี CEO และประธานบริษัทหญิง ประมาณ 30 คน จากกลุ่ม Southeast Asia 500 และมี CEO ที่อายุน้อยที่สุดคือ นายศินนท์ ว่องกุศลกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทบ้านปู (BANPU) ของประเทศไทย ซึ่งมีอายุ 34 ปี และได้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่เดือนมีนาคม 2567 ที่ผ่านมา โดยรวมแล้วมีผู้นำในวัย 30 กว่าๆ ทั้งสิ้น 16 คน ดำรงตำแหน่ง CEO, กรรมการผู้จัดการ, ประธานกรรมการบริหาร หรือประธานบริษัท และในจำนวน 500 บริษัทนี้ ว่าจ้างพนักงานรวมแล้วเกือบ 6 ล้านคนด้วยกัน
ด้วยการเปิดตัวรายชื่อ Southeast Asia 500 บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มบริษัทชั้นนำที่ได้รับการยอมรับจากการรวมตัวกันภายใต้กลุ่ม Fortune 500 อันทรงเกียรติ ซึ่งประกอบด้วย Fortune 500 Global, Fortune 500 Europe, Fortune China 500 และ Fortune Southeast Asia 500 ใหม่นี้
รายชื่อและเรื่องราวของ Fortune Southeast Asia 500 จะวางจำหน่ายบนแผงขายหนังสือพิมพ์ทั่วเอเชียตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน เป็นต้นไป
ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ - https://www.facebook.com/ThairathMoney