เจาะทุกมุม 'ประกันการเดินทาง' ฟันธงไปเลย คุ้ม หรือ ไม่คุ้ม

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

เจาะทุกมุม 'ประกันการเดินทาง' ฟันธงไปเลย คุ้ม หรือ ไม่คุ้ม

Date Time: 15 มิ.ย. 2560 07:45 น.

Video

ศิรเดช โทณวณิก Gen 3 ดุสิตธานี ธุรกิจที่เป็นมากกว่าโรงแรม | On The Rise

Summary

  • เบี้ยประกันราคาเริ่มต้นเพียงหลักร้อย ไล่เรียงจนถึงหลักพัน แต่คุ้มครองเราถึงหลักล้าน บางคนบอกเสียดาย เพราะซื้อประกันนี้เหมือนทิ้งเปล่า หากกลับมาไทย ไม่ได้เคลมก็ไม่คุ้ม แต่หลายกรณีที่เกิดขึ้นกับคนไทย

Latest


อุบัติเหตุ หรือ การเจ็บป่วย แบบกะทันหัน เป็นสิ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาเดินทางไปท่องเที่ยวทั้งในประเทศ และต่างประเทศ หลายต่อหลายครั้ง ที่มีนักท่องเที่ยวไทยเดินทางไปต่างประเทศ เกิดอุบัติเหตุ หรือ เจ็บป่วยกะทันหัน ซึ่งหากใครมีประกันการเดินทางก็ถือว่าโชคดีไป แต่หากใครไม่ได้ทำประกันเอาไว้ ก็เรียกว่างานเข้าพอสมควร

ทั้งนี้ 'ไทยรัฐออนไลน์' ขอนำเสนอข้อมูล 'ประกันการเดินทาง' ที่จำเป็น สำหรับคนที่กำลังจะเดินทางไปท่องเที่ยวในต่างประเทศ หรือคนที่กำลังจะแพลนทริปไปพักผ่อนสมอง ไม่ว่าจะเป็น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง สหรัฐฯ ฝรั่งเศส เป็นต้น

ใครควรจะซื้อ

นักท่องเที่ยว หรือคนที่ต้องการเดินทางไปต่างประเทศ มีทั้งไปคนเดียว หมู่คณะ และครอบครัว ซึ่งหากไปกับบริษัททัวร์ จะมีการทำประกันการเดินทางคุ้มครองไว้อยู่แล้ว ส่วนคนที่ไปคนเดียว หรือนักท่องเที่ยวที่ไปกันเองนั้น ควรจะต้องซื้อประกันเอาไว้ ไม่ว่าจะเดินทางไปประเทศไหนก็ตาม

ทั้งนี้ ประเทศในกลุ่มเชงเก้น บังคับไว้ว่า คนที่จะเดินทางเข้าประเทศ ออสเตรีย เบลเยียม สาธารณรัฐเช็ก เดนมาร์ก เอสโตเนีย ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ฮังการี อิตาลี ลัตเวีย ลิทัวเนีย ลักเซมเบิร์ก มอลตา เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ โปรตุเกส สโลวาเกีย สโลวีเนีย สเปน สวีเดน นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ และลิกเตนสไตน์ ต้องทำประกันการเดินทาง และต้องมีทุนอย่างน้อย 1.5 ล้าน เพื่อขอวีซ่าเข้าประเทศ (Schengen Visa)

วิธีการซื้อ

ส่วนใหญ่ ประกันการเดินทางจะซื้อผ่านออนไลน์เป็นหลัก ซึ่งหากใครอยากรู้ข้อมูลต่างๆ สามารถโทรศัพท์ไปสอบถามบริษัทประกันที่เราเลือกไว้ได้เลย ในขณะที่สายการบินบางแห่ง ก็มีบริการประกันการเดินทางให้เลือกซื้อความคุ้มครองระหว่างจองตั๋วเครื่องบินด้วยเช่นกัน 

คุ้มครองอะไรบ้าง

สำหรับประกันการเดินทางส่วนใหญ่ จะเน้นคุ้มครอง ดังต่อไปนี้

1. อุบัติเหตุส่วนบุคคล

2. ค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ หรือ เจ็บป่วย

3. การบอกเลิกการเดินทาง

4. การลดจำนวนวันเดินทาง

5. การจี้โดยสลัดอากาศ

6. การล่าช้าของการเดินทาง ต้องล่าช้า 12 ชั่วโมงขึ้นไป 

7. การสูญเสียหรือเสียหายของกระเป๋าเดินทาง

8. การล่าช้าของกระเป๋าเดินทางต้องมากกว่า 12 ชั่วโมง  

9. ความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอก

10. บริการความช่วยเหลือในการเดินทาง

11. การจี้เครื่องบิน

12. การเคลื่อนย้ายเพื่อการรักษาพยาบาลฉุกเฉิน หรือการเคลื่อนย้ายกลับประเทศภูมิลำเนา ค่าใช้จ่ายในการส่งศพ หรืออัฐิกลับประเทศภูมิลำเนา

13. ชดเชยค่าโทรศัพท์ในกรณีฉุกเฉิน

เคลมประกันอย่างไร

หากมีอุบัติเหตุ และการรักษาเกิดขึ้น เราต้องสำรองเงินจ่ายไปก่อน และนำบิลมาเบิกกับบริษัทประกันภายหลัง แต่หากมีปัญหาเรื่องการสำรองจ่ายเงิน เช่น เงินไม่พอ ก็สามารถโทรติดต่อบริษัทประกันที่เราซื้อกรมธรรม์ได้ทันที โดยต้องดูเงื่อนไขด้วยว่า วงเงินที่คุ้มครองนั้นสูงสุดเท่าไร ในขณะที่บริษัทประกัน บางแห่งก็ไม่ต้องให้ลูกค้าสำรองจ่าย สามารถเคลมได้ทันทีที่เกิดการรักษา

สำหรับการเคลมอื่นๆ เช่น กระเป๋าเดินทางชำรุด หรือเสียหายนั้น เราสามารถเลือกว่าจะเคลมกับบริษัทประกัน หรือสายการบิน ซึ่งหากเคลมกับบริษัทประกัน เราจะต้องนำส่งซ่อมก่อน หรือหากต้องการจะเปลี่ยนกระเป๋าเดินทางใหม่ ก็สามารถโทรไปสอบถามกับบริษัทประกันได้เช่นกัน เนื่องจากเงื่อนไขของการรับประกันของแต่ละบริษัทไม่เหมือนกัน ที่สำคัญการเลือกแพ็กเกจประกัน และวงเงินคุ้มครองก็แตกต่างกัน ฉะนั้นควรศึกษารายละเอียดให้ดี 

ฟังธง คุ้ม หรือไม่คุ้ม

บอกได้คำเดียวว่า 'สุดจะคุ้มค่า' ด้วยเบี้ยประกัน ราคาเริ่มต้นเพียงหลักร้อย ไล่เรียงจนถึงหลักพัน แต่คุ้มครองเราถึงหลักล้าน บางคนบอกเสียดาย เพราะซื้อประกันนี้เหมือนทิ้งเปล่า หากกลับมาไทย ไม่ได้เคลมก็ไม่คุ้ม แต่หลายกรณีที่เกิดขึ้นกับคนไทย ที่ไปท่องเที่ยวต่างประเทศ เกิดอุบัติเหตุ เจ็บป่วยกะทันหัน เช่นเคสนี้ วอนช่วยสาวสันป่าตอง ไม่ได้ทำประกัน เที่ยวญี่ปุ่นหัวใจวาย ค่ารักษา3ล. หรือ วอนช่วย 'น้องมิน' สาวกาฬสินธุ์เป็นเจ้าหญิงนิทราที่เกาหลี กลับมาไทย

อย่างไรก็ตาม อุบัติเหตุ การเจ็บป่วย โดยเฉพาะหากเกิดขึ้นระหว่างการเดินทางไปต่างประเทศ เชื่อว่าไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นแน่นอน สิ่งที่เราจะป้องกัน และควบคุมค่าใช้จ่ายเหล่านี้ได้ คือ การทำประกันเพื่อควบคุมความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตนั้นเอง


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ