ลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เตรียมประกาศรายชื่อผู้ "ผ่านคุณสมบัติ" จำนวน 14.5 ล้านคน ได้รับสิทธิ "บัตรคนจน" ในวันที่ 1 มี.ค. 2566 โดยผู้ที่ผ่านคุณสมบัติต้องยืนยันตัวตนภายใน 30 วัน
นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม เผยว่า จากที่ประชุมเมื่อวันที่ 23 ก.พ. ที่ผ่านมา ได้มีมติให้ประกาศรายชื่อผู้ผ่านคุณสมบัติรับสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐ หรือ "บัตรคนจน" จำนวน 14.50 ล้านคน ในวันที่ 1 มี.ค. 2566 นี้ และให้ผู้ที่ผ่านคุณสมบัติยืนยันตัวตนภายใน 30 วัน เพื่อเริ่มรับและใช้สิทธิตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2566 เป็นต้นไป
ส่วนผู้ที่ไม่มีชื่อเพราะ "ไม่ผ่านคุณสมบัติ" สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ที่ธนาคารกรุงไทย ภายใน 60 วัน หลังจากการประกาศรายชื่อ และคาดว่าผลการอุทธรณ์จะทราบได้ในช่วงเดือน พ.ค. 2566 เป็นต้นไป ถ้าหากผู้ที่ยื่นอุทธรณ์ผ่านแล้วได้รับสิทธิบัตรคนจน กระทรวงการคลัง จะให้สิทธิย้อนหลังเริ่มเดือน เม.ย. 2566
สำหรับการ "ยื่นอุทธรณ์" ให้เป็นหน้าที่ของธนาคารกรุงไทย เนื่องจากธนาคารกรุงไทยไม่ได้ให้รายละเอียดของผู้ที่ไม่ผ่านสิทธิกับกระทรวงการคลัง เนื่องจากกลัวจะผิดพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือพีดีพีเอ จึงให้ธนาคารกรุงไทย ทำหน้าที่รับอุทธรณ์และชี้แจงเหตุผลกับประชาชนที่ไม่ผ่านคุณสมบัติ
ทั้งนี้ ได้มีการรายงานให้ที่ประชุมรับทราบว่า จากจำนวนผู้ลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิบัตรคนจนทั้งหมด 22 ล้านคน ผลปรากฏว่า มีประชาชนกรอกข้อมูลไม่ครบ 1.2 ล้านคน เมื่อส่งตรวจข้อมูลกับกรมการปกครอง ไม่ผ่านคุณสมบัติ 1 ล้านคน ทำให้รอบแรกมีผู้ผ่านคุณสมบัติรวม 19 ล้านคน ต่อมาได้ส่งไปตรวจสอบข้อมูลกับหน่วยงานราชการ 6 หน่วยงาน เช่น กรมที่ดิน บัญชีเงินฝาก การถือครองบัตรเครดิต เป็นต้น ผลปรากฏว่าไม่ผ่านคุณสมบัติอีก 5 ล้านคน ทำให้เหลือผู้ผ่านคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์รวม 14.50 ล้านคน
1. มีสัญชาติไทย
2. อายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
3. ไม่เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช ผู้ต้องขัง ผู้ถูกกักกัน ผู้ต้องกักขัง บุคคลที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของหน่วยงานของรัฐ ข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงาน ลูกจ้าง เจ้าหน้าที่ หรือผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ ผู้รับบำเหน็จรายเดือน ผู้รับบำนาญปกติ หรือเบี้ยหวัดจากส่วนราชการ ข้าราชการการเมือง ส.ส. และ ส.ว.
4. รายได้ไม่เกิน 100,000 บาทต่อคนต่อปี และหากมีครอบครัว รายได้เฉลี่ยของครอบครัว ไม่เกิน 100,000 บาทต่อคนต่อปี
5. ทรัพย์สินทางการเงิน ได้แก่ เงินฝาก สลาก พันธบัตร และตราสารหนี้ภาครัฐ ของผู้ลงทะเบียนต้องมีมูลค่าไม่เกิน 100,000 บาทต่อคน และหากมีครอบครัว ทรัพย์สินทางการเงินเฉลี่ยของครอบครัว มีมูลค่าไม่เกิน 100,000 บาทต่อคน
6. ต้องไม่มีบัตรเครดิต
7. ต้องไม่มีวงเงินกู้ เกินเกณฑ์กำหนด ได้แก่ วงเงินกู้สำหรับที่อยู่อาศัยรวมไม่เกิน 1.5 ล้านบาท หรือวงเงินกู้สำหรับยานพาหนะรวมไม่เกิน 1 ล้านบาท
ส่วนเกณฑ์การถือครองอสังหาริมทรัพย์ ต้องไม่มีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ หรือมีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ ดังนี้
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง