ระเบิดเวลา PM 2.5

ลมหายใจ ที่หายไปกับฝุ่น

ทุกครั้งที่ PM 2.5 กลับมา
รู้ไว้นะ คุณกำลังจะตายเร็วขึ้น!
เพราะผู้ร้ายไม่ได้มีแค่ฝุ่น แต่ยังมีสารพิษซ่อนอยู่อีก!

PAH Map

ผลงานวิจัยที่ผ่านมาชี้ ดินแดง และ โชคชัย 4 คือพื้นที่เสี่ยงต่อการได้รับสารก่อมะเร็งจากฝุ่นมากที่สุดในกรุงเทพฯ[4]


*สารพิษก่อมะเร็งใน PM 10 เป็นชนิดเดียวกับที่พบใน PM 2.5

เช็กกันดู! อากาศที่หายใจเข้าไป ทำให้คุณอายุสั้นลงกี่ปี

กรุงเทพฯ
- 2.36
34.07

*คำอธิบาย:

  • คำนวณเปรียบเทียบจากอายุขัยเฉลี่ยหากพื้นที่นั้นมีความเข้มข้มของ PM 2.5 เฉลี่ย 24 ชม. เท่ากับ 25 มคก./ลบ.ม. ตามมาตรฐานองค์การอนามัยโลก
  • ใช้ฐานข้อมูลปี 2559
  • ข้อมูลและการคำนวณ จาก The Air Quality Life Index (AQLI)[5]

อายุคุณสั้นลง - 2.36 ปี เมื่อเทียบกับเมืองอื่นๆ ทั่วโลก

ในแต่ละปีมลพิษทางอากาศคร่าชีวิตประชากรทั่วโลกกว่า 7 ล้านคน มากกว่าจำนวนผู้เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ หรือ สงคราม เสียอีก[8]

วันละ

19,126

คน

ชั่วโมงละ

797

คน

นาทีละ

13

คน

ตัวการสำคัญ คือ

PM 2.5 และสิ่งที่ซ่อนอยู่ในนั้น!

ลองจินตนาการชีวิตเด็กคนหนึ่ง ที่ได้รับ PM 2.5 ตั้งแต่ยังไม่เกิด

จนคลอดก่อนกำหนด และน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์

ไม่ว่าจะอยู่ข้างนอกหรือภายในอาคาร เธอก็ไม่สามารถเลี่ยง PM 2.5 จำนวนมากได้

แม้ค่าจะอยู่ในระดับที่รัฐบาลว่าปลอดภัย

ก็ยังเทียบเท่ากับการสูบบุหรี่วันละ 2 มวน [6]

*ค่ามาตรฐาน PM 2.5 ของไทยคือ 50 มคก./ลบ.ม.

สุดท้ายเธอจึงอายุสั้นลง 2 ปี เช่นเดียวกับคนไทยทั้งประเทศ

เพราะ PM 2.5 นำไปสู่โรคร้ายมากมายที่เป็นอันตรายต่อชีวิต ทั้งโรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งปอด และโรคปอด

แต่อย่าติดกับดักกับค่า PM 2.5 ที่สูงหรือต่ำ จนละเลย ‘ผู้ร้ายตัวจริง’ ที่ ‘ซ่อน’ อยู่ในนั้น

PM 2.5 มีขนาดเล็กกว่าเส้นผ่าศูนย์กลางเส้นผมเกือบ 30 เท่า

สามารถเข้าไปลึกถึงหลอดลมฝอยถุงลมปอด และกระแสเลือดได้

ตัวมันมีผิวสัมผัสให้สารอื่นมาเกาะได้เยอะ พอสารพิษมาเกาะ จากฝุ่นธรรมดาจึงกลายเป็น ‘ฝุ่นพิษ’

จากงานวิจัยในประเทศไทยที่ผ่านมาพบว่าในฝุ่น PM 2.5 มีสารพิษอันตรายหลายชนิด เช่น สารก่อมะเร็ง สารก่อการกลายพันธุ์ และโลหะหนัก

เหมือนดั่งรถ PM 2.5 ที่ขับพา ‘ผู้ร้าย’ เข้าสู่ร่างกาย มาปล้นอายุขัยไปจากเรา

เมื่อเป็นฝุ่นพิษ โรคร้ายก็ยิ่งทวีคูณ

PAH: โรคมะเร็ง มะเร็งปอด การกลายพันธุ์

ปรอท: อัมพาต และโรคมินามาตะ (การบิดเบี้ยวของแขนขาอย่างรุนแรง)

แคดเมียม: มะเร็ง ไต ความดันโลหิตสูง ปวดกระดูกสันหลัง และพิษทำให้เป็น โรคอิไต-อิไต

ตะกั่ว: มะเร็ง และพิการแต่กำเนิด ทำให้ IQ เด็กลดลง และโรคปัญญาอ่อน

สารหนู: หัวใจเต้นผิดปกติ หายใจล้มเหลว และมะเร็งผิวหนัง

PM 2.5 เกิดได้ทั้งจากธรรมชาติและกิจกรรมของมนุษย์

แต่ ‘ฝุ่นพิษ’ ในเมืองส่วนใหญ่มาจากฝีมือมนุษย์นี่แหละ

ค่าเฉลี่ยแหล่งกำเนิดมลพิษในเมืองทั่วโลก [7]

25%

ไอเสียจากยานพาหนะ

22%

กิจกรรมอื่นๆ ของมนุษย์ เช่น การเกษตร การเดินเรือ เป็นต้น

20%

การเผาไหม้ในครัวเรือน และการเผาไหม้ถ่านหิน

18%

แหล่งกำเนิดธรรมชาติ เช่น ฝุ่นธรรมชาติ และเกลือทะเล

15%

โรงงานผลิตไฟฟ้า และโรงงานอุตสาหกรรม

แหล่งที่มาของสารก่อมะเร็งในหัวเมืองหลักของไทย [1][2]

กรุงเทพมหานคร

  • ไอเสียจากดีเซล 20%
  • ไอเสียอื่นๆ 44%
  • ก่อสร้าง อุตสาหกรรมอื่นๆ 36%

เชียงใหม่

  • เผาเศษชีวมวล 72%
  • ไอเสียยานพาหนะ 28%

วงจรฝุ่น PM 2.5

โรงงาน รถยนต์ บ้านเรือน หรือแม้แต่ดิน ก่อให้เกิดฝุ่นพิษในอากาศ

ลอยเคลื่อนที่ได้ไกลด้วยแรงลม และตกลงสู่แหล่งน้ำด้วยแรงโน้มถ่วงพร้อมกับฝน

ทำให้สารพิษที่เกาะอยู่ปนเปื้อนในน้ำที่เราอุปโภคบริโภค รวมถึงสัตว์น้ำที่เรากิน

แล้วมีใครช่วยเราต่อสู้กับฝุ่นพิษอยู่หรือเปล่า?

มาเช็กกันดู มาตรการจับฝุ่นของรัฐตอนนี้

หรือ
ตั้งเกณฑ์วัดค่าฝุ่น
1
ฉีดน้ำ-ล้างถนน
2
เปลี่ยนน้ำมันรถยนต์
3
คุมแหล่งกำเนิดฝุ่น
4
1

ค่าชี้วัดฝุ่นไทย
เข้มงวดน้อยกว่ามาตรฐานโลก

25มคก./ลบ.ม.

องค์การอนามัยโลกออสเตรเลีย

35มคก./ลบ.ม.

ญี่ปุ่น
สหรัฐอเมริกา

50มคก./ลบ.ม.

ไทย
เกาหลีใต้

60มคก./ลบ.ม.

อินเดีย

WHO ตั้งเกณฑ์ PM 2.5 ที่ปลอดภัย ไว้ที่ 25 มคก./ลบ.ม. ใน 24 ชม. แต่ค่ามาตรฐานไทยกลับอยู่ที่ 50 มคก./ลบ.ม. สูงกว่าถึง 2 เท่า [6]

คุณคิดว่ามาตรการนี้

Map

นอกจากนี้ เรายังขาดการวัดสารพิษก่อมะเร็งในฝุ่น ที่จะช่วยเตือนรัฐและประชาชนต้องระวัง

การเก็บตัวอย่างล่าสุดในกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ และภูเก็ต (มี.ค. 60 - มี.ค. 61) พบผลรวม PAHs สูงเกินค่ามาตรฐานของ WHO ทั้ง 3 จุด [3]

2

ฉีดน้ำลดฝุ่นเท่าไรก็ไม่ช่วยอะไร[9]

การฉีดพ่นน้ำอาจช่วยลดฝุ่นขนาดใหญ่ (PM 10) ได้ แต่ลด PM 2.5 ได้น้อยมาก

นักวิชาการคำนวณว่า ถ้าจะลด PM 2.5 ในกรุงเทพฯ ลง 10 มคก./ลบ.ม. ต้องใช้เครื่องพ่นน้ำขนาดใหญ่ 30,000 ตัว ฉีดพ่นทั้งวันทั้งคืน

ซ้ำร้ายฝุ่นพิษจะตกสู่แหล่งน้ำ กลับมาทำร้ายเราได้อยู่ดี

คุณคิดว่ามาตรการนี้

3

ปรับมาตรฐานน้ำมันสะอาดวันนี้ อีกสิบปีถึงได้ใช้

ต้นกำเนิดหลักของ PM 2.5 ในเมือง คือไอเสียจากยานพาหนะ ซึ่งมีค่ามาตรฐานควบคุมน้ำมันเรียกว่า มาตรฐานยูโร (EURO)

ทุกวันนี้ประเทศไทยยังคงใช้มาตรฐานยูโร 4 อยู่ ในขณะประเทศเพื่อนบ้านและประเทศพัฒนาแล้วต่างใช้มาตรฐานยูโร 5/6 กันแล้ว

ใช่ว่าภาครัฐจะไม่เห็นความสำคัญ แต่ตามแผนที่ประกาศออกมา กว่าจะบังคับใช้ยูโร 5/6 ได้ก็อีก 5-10 ปี ข้างหน้า[14] แล้วเราจะยังรอไหวหรือไม่?

คุณคิดว่ามาตรการนี้

4

มาตรการควบคุมฝุ่นที่แหล่งกำเนิด

  • ขาดแผนการลดปริมาณรถยนต์ในเมืองอย่างจริงจัง
  • ขาดกฎหมายบังคับให้โรงงานติดตั้งเครื่องวัด PM 2.5 ที่ปลายปล่อง
  • ขาดกฎหมายบังคับให้โรงงานติดตั้งเครื่องดักจับฝุ่นละออง
  • ขาดฐานข้อมูลบัญชีสารพิษที่ถูกปล่อยจากโรงงาน
  • มาตรการควบคุมการเผาในที่แจ้งยังบังคับใช้ไม่ได้ผล

คุณคิดว่ามาตรการนี้

ย้อนดูทั่วโลก การเอาชนะฝุ่นพิษ ไม่ใช่เรื่องเพ้อฝันแต่ทำได้จริง หากเพียงรัฐจริงจังกับการแก้ปัญหา

หลายเมืองที่เคยขึ้นชื่อว่า ‘นครแห่งฝุ่น’ กลับอากาศดี PM 2.5 น้อย จนต่ำกว่ามาตรฐานโลกได้[5]

London

12.5

มคก./ลบ.ม.
เก็บค่าธรรมเนียมสำหรับรถยนต์ส่วนบุคคล ที่เข้าเขตจราจรหนาแน่น

Osaka

13.4

มคก./ลบ.ม.
เคลือบสารบนพื้นผิวเพื่อลดมลพิษทางอากาศ ดักจับสาร NOx และ PM ปลูกพืชเพื่อดูดซับ

Los Angeles

17.9

มคก./ลบ.ม.
สนับสนุนรถยนต์พลังงานไฟฟ้า และสาธารณะ กระตุ้นการ Rideshare และ Carpool

คนไทยเองก็มี ‘สิทธิ’ ที่จะมีอากาศสะอาดหายใจในวันนี้ ที่ทั่วโลกเริ่มพูดถึงปัญหา PM 1 กันแล้ว แต่ประเทศไทยยังมีปัญหา PM 2.5 อยู่เลย และไม่รู้จะพ้นได้เมื่อไหร่

อากาศดี สร้างได้ด้วยตัวเราเอง [10]

ลดการเผาในภาคเกษตร ส่งผลดีต่อคุณภาพอากาศในระยะยาว

ลดการเผาขยะมูลฝอย ทิ้งขยะให้ลงถัง ป้องกันขยะตกค้างที่ก่อมลพิษ

ลดการจุดพลุ ดอกไม้ไฟ และประทัด

ใช้เตาย่างและเตาหุงต้มอาหาร (พาณิชย์และครัวเรือน) ที่มีมาตรฐานประหยัดเชื้อเพลิงและระบายมลพิษต่ำ

ลดใช้รถยนต์ส่วนตัว ใช้ระบบขนส่งมวลชนให้มากขึ้น รวมถึงเช็กสภาพรถยนต์อยู่เสมอ

ปลูกต้นไม้ช่วยกรองอากาศ จัดสวนภายในและนอกอาคาร

ขอขอบคุณ

  1. Pongpiachan, S. (2013). Diurnal variation, vertical distribution and source apportionment of carcinogenic polycyclic aromatic hydrocarbons (PAHs) in Chiang-Mai, Thailand. Asian Pacific Journal of Cancer Prevention, 14(3), 1851-1863.
  2. Pongpiachan, S. (2013). Vertical distribution and potential risk of particulate polycyclic aromatic hydrocarbons in high buildings of Bangkok, Thailand. Asian Pac. J. Cancer Prev, 14(3), 1865-1877.
  3. Choochuay, C., Tipmanee, D., Suttinun, O and Pongpiachan, S., 2019. Spatial and temporal distribution of PM2.5- Bounded Polycyclic Aromatic Hydrocarbons (PAHs) in Thailand. Dioxin 2019, Kyoto, Japan.
  4. Pongpiachan, S., Choochuay, C., Hattayanone, M., Kositanont, C. (2013). Temporal and spatial distribution of particulate carcinogens and mutagens in Bangkok, Thailand. Asian Pac J Cancer Prev, 14(3), 1879-1887.
  5. The Air Quality LIfe Index (AQLI), Energy Policy Institute, University of Chicago
  6. Berkeley Earth (2019)
  7. Karagulian (2015)
  8. WHO (03/2019), นับรวมมลพิษทางอากาศทั้งภายในและภายนอกอาคาร.
  9. รศ.ดร.ศิริมา ปัญญาเมธีกุล อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
  10. ฝุ่นไม่เกิด ถ้าเราไม่ก่อ 2020 - กรมส่งเสริมคุณภาพและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  11. ศาสตราจารย์ญาณวิทย์ ดร.ศิวัช พงษ์เพียจันทร์ (ศ.11) ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  12. องค์การอนามัยโลก (WHO)
  13. โครงการศึกษาแหล่งกำเนิดและแนวทางการจัดการฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ; กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  14. กรมควบคุมมลพิษ

ร่วมกันแชร์ความรู้ให้คนรอบข้างเรากันเถอะ

Created by