ฟ้าคำราม
Fact 9 ข้อ ความดันกับการออกกำลังกาย
1.เวลาเราออกกำลังกาย ความดันจะต้องสูงขึ้น ส่วนใหญ่ขึ้นมาแถว 140-160 mmhg แต่ต้องไม่เกิน 200 ถ้าเกินถือว่าสูงไป
2.ในคนที่ความดันสูง การออกกำลังแบบ Static exercise เช่น ยกน้ำหนักที่หนักมาก เบ่งมากๆ ต้องระวังความดันจะสูงขึ้นมาก จนอาจเกิดอันตราย ควรคุมความดันให้ดีก่อน
3.เวลาออกกำลังกาย ความดันไม่ควรต่ำลง ถ้าต่ำลง ผิดปกติ ยิ่งมีอาการเหนื่อย เร่งไม่ขึ้น HR ไม่สูงขึ้น อาจมีโรคหัวใจซ่อนได้
4.หลังออกกำลัง ความดันจะต่ำลงชั่วคราว เป็นหลักชั่วโมง เราไม่เอาค่านี้มาใช้เป็นความดันปกติของเรา หรือในการปรับยาความดัน
5.การออกกำลังแบบ Aerobic exercise ที่ความหนักเหมาะสม ปริมาณเหมาะสม สามารถลดความดันลงได้ 10 mmhg และทำให้อายุยืนขึ้น
6.การออกกำลังแบบ Isometric exercises เช่น การทำ Hangrip exercise, Wall sit สามารถลดความดัน เพิ่มได้อีก 8-10 mmhg คนที่มีความดันโลหิตสูงทำตรงนี้เพิ่มได้
7.ก่อนออกกำลังกาย ถ้าความดันเกิน 160 mmhg ควรให้แพทย์ปรับยาให้ดี ก่อนที่จะออกกำลังกายหนัก และไม่ควรออกเลย ถ้าความดันเกิน 180 mmhg
8.การลดความดัน จากการปรับพฤติกรรม ที่ได้ผล ได้แก่ ออกกำลัง ลดเค็ม ลดน้ำหนัก ทำเต็มที่ความดันลงได้ถึง 20-30 เลยทีเดียว
9.ถ้ากินยาความดันเป็นประจำ ให้กินยาตามเวลาได้เลย ถ้าคิดว่าเราจะออกกำลังกายนานและเลยมื้ออาหารเช้าปกติ ไม่ต้องรอวิ่งเสร็จแล้วค่อยกิน
@@@@@@@
เพจ Avarin Running and Triathlon. ให้ความรู้ในเรื่องของความดันกับการออกกำลังกาย ไว้อย่างชัดเจนทีเดียว
ใครที่เป็นโรคความดัน หรือไม่รู้ว่าเป็นหรือไม่ และเกิดความกังวลใจกับการยืดเส้นยืดสาย อ่านแล้ว สามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้
รับรองปลอดภัยแน่นอน...
ฟ้าคำราม