คุณรู้จัก “ปลาทูไทย” ดีแค่ไหน

รู้ไหมว่ามันกำลังจะหายไปจากโลก!

เริ่มเล่ายังไงก่อนดี?

ข่าวดี
ข่าวร้าย

ข่าวดี

ปลาทูไทยอร่อยที่สุด

คนไทยกินปลาทูมากว่า 300 ปี ตั้งแต่ สมัยอยุธยาแล้ว

(ตั้งแต่สมัยอยุธยา ช่วงปี พ.ศ.1893 - พ.ศ.2310)

“ชาวประมงชายฝั่งทะเลแถบอ่าวไทย ภาคกลางขนปลาทะเล ได้แก่ ปลากะพง ปลาทู ปลากระเบนย่าง ใส่เรือไปแถววัดพนัญเชิงในกรุงศรีอยุธยา”

เอกสารจากหอหลวง บันทึก โดยขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม
หนังสืออักขราภิธานศรับท์ หมอบรัดเลย์ พ.ศ.2416 ระบุว่า

“เป็นปลาทะเลน้ำเค็มมีเกร็ด ตัวมันกว้างศักสองนิ้ว ยาวศักสิบนิ้ว”

จุดเริ่มต้นอาหารคู่ครัวไทย
รถไฟสายมหาชัย สายแม่กลอง
พาปลาทูเข้ากรุง

ในสมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ.2443-2448)

เมื่อคนกรุงเริ่มติดปาก จึงฮิตลามไปทั่วประเทศ

ผ่านรถไฟสายโคราช (พ.ศ.2443) และสายเหนือ (พ.ศ.2464)

ประวัติศาสตร์ยืนยัน

“เมื่อถึงหน้าปลาทู ชาวสยามทุกคนนิยมกินปลาทู และถือเป็นอาหารอันโอชะสำหรับพวกเขา”

บันทึกของ เออร์เนส ยัง พ.ศ.2451

อร่อยจริงไหม “"ปลาทูไทย"”

“เนื้อปลาทูไทยมีคุณภาพ เพราะอยู่ในพื้นที่ที่มีแหล่งอาหารอุดมสมบูรณ์ เลยสะสมของดีไว้ในตัว ประกอบกับน้ำไม่แรง อยู่แบบสบายๆ”

ค่าไขมันสูง มีผลต่อความอ่อนนุ่มของเนื้อปลาทูไทย

สัดส่วนไขมันปลาทูไทย เทียบปลาทูต่างถิ่น

ฟังชัดๆ อีกครั้ง ปลาทูไทย อร่อยที่สุด

“ทอดเสร็จแล้ว ปลาทูไทยจะนุ่ม หวานมันมากกว่า แต่ปลาทูนำเข้า มันจะมีความแห้งของเนื้อ ถ้าคนกินปลาทูจริงๆ จะรู้”

ข่าวร้าย

“ปลาทู” ที่คุณกินตอนนี้ ส่วนใหญ่ไม่ใช่ปลาทูไทยนะ

เพราะปลาทูที่จับได้ในไทยกำลังน้อยลง ต้องนำเข้าปลาทูต่างถิ่นมากขึ้น

สัดส่วนปลาทูไทยในตลาดที่เราซื้อกินกัน ก็เลยลดลงตามไปด้วย

และหากคุณยังไม่รู้ ขนาดตัวของปลาทูก็เล็กลงทุกที

rightleft
ปี พ.ศ.2511
เฉลี่ย 17.2 ซม.
ปัจจุบัน
เฉลี่ย 14 ซม.

เหลือจับน้อย ไซส์เล็กลง ปลาทูไทยหายไปไหน

ปลาทูวางไข่

2 แหล่งสำคัญ คือ นอกชายฝั่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และตอนเหนือหมู่เกาะอ่างทอง

ปลาทูเต็มวัย

เมื่อลูกปลาทูโตได้ระยะหนึ่ง จะอพยพสู่บริเวณอ่าวไทยรูปตัว ก และเติบโตเต็มวัยที่นี่

แต่ถูกดักจับมากไป

แถมผิดวิธี จึงฆ่าปลาเด็กก่อนได้โต

ITEM ก่อวิกฤติ ตัดตอนปลาทูขยายพันธุ์

อวนลาก ITEM เน้นปริมาณ NO CARE คุณภาพ ตอบโจทย์พาณิชย์ ผลาญวงศ์ปลาทู ได้ไม่คุ้มเสีย

ใหญ่เท่าเครื่องบิน ลงน้ำถึงพื้นทะเล 1 ชั่วโมงได้ปลา 2 ตัน แต่ 2 ใน 3 ไม่ใช่สัตว์น้ำเป้าหมาย และยังไม่โตเต็มวัย

อวนตาถี่

ITEM ตัดตอนปลาเด็กตายก่อนโต อีกหนึ่งสาเหตุ ประชากรปลาทูไทยลดฮวบ

กฎหมายกำหนด ให้อวนต้องมีขนาดตาถี่ใหญ่กว่า 4 ซม. แต่ส่วนใหญ่มักไม่เป็นเช่นนั้น

เปิดไฟล่อ

ITEM จับง่ายได้เยอะไม่เปลืองแรง ลูกปลาแทบสาบสูญ

จับผิดวิธี เน้นปริมาณ ไม่ปล่อยสืบพันธุ์ “"ปลาทูไทย"” เสี่ยงเหลือไม่ถึงจาน

แล้วแบบนี้...

เรายังควรจะกินปลาทูกันอยู่ไหม?

กินได้!

แต่กินยังไง ให้ทั้งรอดทั้งอร่อย

ดูให้รู้ “"ปลาทูไทย"”

หางเหลืองอมเทา

ดูให้รู้ “"ปลาทูไทย"”

หางเหลืองอมเทา

ดูให้รู้ “"ปลาทูไทย"”

ไม่มีเส้นเป็นแถบดำทางด้านหลัง และกลางลำตัว

ดูให้รู้ “"ปลาทูไทย"”

ไม่มีเส้นเป็นแถบดำทางด้านหลัง และกลางลำตัว

ดูให้รู้ “"ปลาทูไทย"”

ใหญ่ไม่เกิน 22 ซม. ไซส์ที่ควรกินคือไม่ต่ำกว่า 14-16 ซม.

ดูให้รู้ “"ปลาทูไทย"”

ใหญ่ไม่เกิน 22 ซม. ไซส์ที่ควรกินคือไม่ต่ำกว่า 14-16 ซม.

เคล็ดไม่ลับ “"กินปลาทูไทย"” แบบไหนถึงอร่อย

“ปลาทูไทย เป็นปลาที่มีประโยชน์ รสอร่อย เป็นปลาแรกในชีวิตของเด็กไทยหลายๆ คน”
ม.ล.ขวัญทิพย์ เทวกุล (เชฟป้อม )
กูรูอาหารไทย
ม.ล.ขวัญทิพย์ เทวกุล (เชฟป้อม )
กูรูอาหารไทย

#Saveปลาทูไทย

จับตอนโตคุ้มกำไร กินตอนใหญ่อร่อยเต็มคำ Saveปลาทู made in Thailand

Share

Content by Thairath Online
Visulization by Punch Up

ขอขอบคุณ

งานวิจัย การศึกษาสถานภาพของทรัพยากรปลาทู ที่มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมบริเวณพื้นผิวทะเล ในบริเวณอ่าวไทย ของ คณะผู้วิจัย
  • ผศ.ดร.เมธี แก้วเนิน
  • รศ.ดร.วราห์ เทพาหุดี
  • ดร.วรัณทัต ดุลยพฤกษ์
  • ผศ.สมหมาย เจนกิจการ
  • ผศ.ดร.ธีระพงษ์ ด้วงดี
  • อ.สรณัฏฐ์ ศิริสวย
  • อ.ดร.ไพลิน จิตรชุ่ม
  • ดร.พลพิศิลป์ สุวรรณชัย
  • น.ส.รัตนาวดี พูลสวัสดิ์

Content by Thairath Online
Visulization by Punch Up

ขอขอบคุณ

  • ดร.อัครพงษ์ สวัสดิพงษ์ หัวหน้าภาควิชาพันธุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • น.ส.สิริธร ก้งเส้ง นิสิตระดับปริญญาเอก ภาควิชาพันธุศาสตร์
งานวิจัย
  • การจำแนกประชากรและแหล่งแพร่ขยายพันธุ์ของปลาทูบริเวณอ่าวไทย
  • การสร้างและวิเคราะห์ลายพิมพ์ดีเอ็นเอปลาทูเพื่อจัดการประมงระดับนานาชาติการ
  • วิเคราะห์ประชากรต้นกำเนิดของปลาทูที่ถูกจับปะปนกันในอ่าวไทย เพื่อนำข้อมูลไปใช้สำหรับมาตรการปิดอ่าวช่วงฤดูปลาผสมพันธุ์

Content by Thairath Online
Visulization by Punch Up

ขอขอบคุณ

  • ดร.นันทิภา พันธุ์สวัสดิ์ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ม.ล.ขวัญทิพย์ เทวกุล (เชฟป้อม) กูรูอาหารไทย

Content by Thairath Online
Visulization by Punch Up