เตือนจุดเดือด กัมพูชา-ไทย หลังปะทะล่าสุด เงื่อนไขทางทหาร "อดีตสภาความมั่นคง" มองจุดเปราะบางริมชายแดนถูกรุกคืบ แนะยุทธวิธีโต้กลับทางทหาร พร้อมกดดันกวาดล้างแรงงานเถื่อน ส่งกลับกัมพูชา

การเจรจาระหว่างทหารไทย-กัมพูชา หลังปะทะบริเวณช่องบก จ.อุบลราชธานี โดยตัวแทนทหารสองประเทศเปิดโต๊ะเจรจาเมื่อวาน (29 พ.ค.68) ล่าสุด อดีตนายกฯ ทักษิณ ออกมายืนยันว่าได้คุยกับทางผู้นำกัมพูชาแล้ว แต่ผลแถลงการเจรจาของทั้งสองประเทศกลับแฝงนัยบางอย่าง เพราะทางกัมพูชา มีการเพิ่มข้อที่ 4 ขณะที่กองทัพไทย มีเอกสารยืนยันถึงการทำหน้าที่ไม่ให้มีการเสียดินแดน

เตือนจุดเดือด กัมพูชา-ไทย เงื่อนไขทางทหาร กดดันส่งกลับต้นทาง

พลโท พงศกร รอดชมภู อดีตรองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ให้ความเห็นว่า การเจรจาของทหารไทย ที่ตอนแรกมีประกาศเพียงแค่ 3 ข้อ แต่ทางการกัมพูชา กลับประกาศออกมามีข้อที่ 4 น่าสนใจว่านี้อาจเป็นปัญหาในการเจรจา เพราะตัวแทนไปพูดคุยอย่างไร ถึงผลของการเจรจาออกมาไม่ตรงกัน

น่าสนใจว่า ในโต๊ะเจรจา แม่ทัพฝั่งไทย อาจมีการเจรจาที่ไม่ยอมรับข้อ 4 ของทางกัมพูชา ซึ่งกรณีนี้ทางการไทยต้องออกประกาศมาอย่างชัดเจนว่าในการเจรจาเราไม่ยอมรับข้อที่ 4 ของฝั่งกัมพูชา

...

เตือนจุดเดือด กัมพูชา-ไทย เงื่อนไขทางทหาร กดดันส่งกลับต้นทาง

ถ้าไทยแข็งพอก็ต้องมีการตอบโต้ที่หนักกว่านี้ แม้ตอนนี้ภาพที่ออกมามีไปกินข้าวกันของทหารทั้งสองฝั่ง แต่จริงแล้วอาจเป็นกลยุทธ์อย่างหนึ่ง เพราะดูแล้วกัมพูชา เดินแนวทางตามแบบรัสเซีย อย่างที่อ้างว่ายูเครนจะสงบสันติได้หากถูกครอบครองไปครึ่งประเทศ แล้วทุกอย่างจะสงบสันติเอง คือถ้าคุณจะสงบสันติได้ ต้องยกทุกอย่างให้เรา

การที่ทางการกัมพูชา ยืนยันไม่ยอมถอนอาวุธออกจากพื้นที่ปะทะเดิม ไทยควรมีการตอบโต้โดยการยิงปืนใหญ่ขู่ แม้กัมพูชาจะมีอาวุธสงครามที่ยิงได้ไกลถึงกรุงเทพฯ แต่กัมพูชา ไม่มีเครื่องบิน เราสามารถใช้เครื่องบินในการบุกเข้าไปยังพื้นที่ทหารฝั่งตรงข้าม ต่อให้เขามีอาวุธภาคพื้นที่ยิงเครื่องบินได้ แต่เครื่องบินของไทยมีความรวดเร็วในการโจมตี โดยสามารถบินขึ้นไปได้สูง แล้วโจมตีทันที ก่อนบินข้ามแดนมาฝั่งไทย

เตือนจุดเดือด กัมพูชา-ไทย เงื่อนไขทางทหาร กดดันส่งกลับต้นทาง

ท่าทีของกัมพูชา ในการยั่วยุและเข้ามาในพื้นที่ฝั่งไทย เป็นสิ่งหนึ่งที่เขาพยายามเก็บข้อมูล เพื่อไปดำเนินการในระดับนานาชาติ ถ้าไทยไม่ยอมทำอะไรเลย ก็เท่ากับว่าเรายอมรับเขตแดนที่ทางกัมพูชา ค่อยๆ รุกคืบเข้ามา สิ่งนี้ไทยเราไม่ค่อยทันกัมพูชา เพราะเราอยากจะได้น้ำมันที่อยู่ในพื้นที่ทะเล ประเด็นนี้น่าสนใจว่า ผู้นำของไทย จริงๆ เขารู้ทันกัมพูชา แต่ก็อาจมีความต้องการพื้นที่ทางทะเล

เงื่อนไขการเจรจา ที่ต้องมีการประชุม JBC ระหว่างไทย กัมพูชา จะเป็นการพูดคุยของรัฐมนตรีกลาโหม ไม่แน่ว่าเรื่องนี้ก็อาจจบได้ง่าย เพราะ "พล.อ.เตียบัญ" รัฐมนตรีกลาโหมของกัมพูชา ไม่ได้แนบแน่นกับฝั่ง "ฮุนเซน" นี่จึงเป็นประเด็นที่น่าสนใจว่า ชนชั้นนำของกัมพูชา มีการคานอำนาจกันอยู่ภายใน
เช่นเดียวกับ "ฮุน มาเนต" นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ก็มีปัญหาภายในเนื่องจากมีประชาชนบางส่วนไม่ชอบการบริหารงาน ซึ่งไม่แน่ว่าก็อาจจะเหมือนกับสมัยเขาพระวิหาร ที่มีปัญหาภายในแล้วแก้ไม่ตก ก็เลยไปสร้างปัญหาภายนอก เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของประชาชน

เตือนจุดเดือด กัมพูชา-ไทย เงื่อนไขทางทหาร กดดันส่งกลับต้นทาง

อีกมุมหนึ่ง การแก้ปัญหาโดยไม่ต้องมีสงคราม อาจมีการออกมาตรการ ให้แรงงานของกัมพูชา เข้ามาทำงานในไทยยากขึ้น ถ้าหากสถานการณ์ไม่ดีขึ้นต้องมีการส่งแรงงานกลับประเทศต้นทาง แต่ต้องมีการตอบโต้ทางทหารเป็นระยะ เพื่อป้องกันการรุกรานเชิงทหาร

...

“ส่วนตัวยังมองว่าประเด็นการปะทะนี้น่าจะจบเร็ว เพราะดูแล้วเป็นเพียงการสร้างเรื่อง เพื่อให้มีการเก็บข้อมูล เพราะเสถียรภาพทางการเมืองภายในกัมพูชา ก็ถือว่ายังมีรอยร้าวของผู้นำในประเทศอยู่”