เปิด 3 ข้อสันนิษฐาน สาเหตุตึก 30 ชั้นถล่มจากเหตุแผ่นดินไหว คาดโครงสร้างหลัก “คาน-เสา” เสียหายหนัก แต่ไม่ตัดเรื่องคุณภาพวัสดุก่อสร้าง

วันที่ 28 มี.ค. 68 เกิดแผ่นดินไหวศูนย์กลางที่ประเทศเมียนมา ส่งผลให้แรงสั่นสะเทือนมาถึงประเทศไทย และผู้อยู่ในตึกสูงในพื้นที่กรุงเทพฯ ได้รับผลจากแรงสั่นสะเทือน ตลอดจนทำให้อาคาร 30 ชั้นที่พังถล่มในเขตจตุจักร กรุงเทพฯ ทำให้มีคนงานเสียชีวิตจำนวนมาก ซึ่งมีการตั้งคำถามถึง

3 ข้อสันนิษฐาน สาเหตุตึก 30 ชั้นถล่มจากเหตุแผ่นดินไหว

สาเหตุการถล่มของตึกที่กำลังก่อสร้าง

3 ข้อสันนิษฐาน สาเหตุตึก 30 ชั้นถล่มจากเหตุแผ่นดินไหว

...

ศ.ดร. อมร พิมานมาศ นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทยและนักวิจัย สกสว. วิเคราะห์ข้อสังเกตถึงจุดเริ่มต้นของการถล่มว่า จุดที่พังทลายที่สำคัญ 3 จุดได้แก่

1. เสาชลูดชั้นล่างหักที่บริเวณกลางเสา

2. รอยต่อระหว่างพื้นไร้คานกับเสาชั้นบนเฉือนขาดในแนวดิ่ง

3. การพังที่เกิดจากปล่องลิฟต์

3 ข้อสันนิษฐาน สาเหตุตึก 30 ชั้นถล่มจากเหตุแผ่นดินไหว

โดยในขณะนี้ยังไม่สรุปว่า จุดเริ่มต้นการถล่มเกิดที่จุดใด แต่ไม่ว่าจะเกิดขึ้นจากจุดใดก่อน ก็สามารถทำให้อาคารถล่มราบคาบลงมาเป็นทอดๆ ได้ ซึ่งในทางวิศวกรรมเรียกว่า Pancake collapse

ปัจจัยหนึ่งที่อาจเป็นสาเหตุการถล่มได้คือการสั่นพ้อง (resonance) ระหว่างชั้นดินอ่อนกับอาคารสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผ่นดินไหวระยะไกลจากเมียนมา เมื่อคลื่นแผ่นดินไหวเดินทางมาถึงชั้นดินอ่อนกรุงเทพฯ จะเป็นแผ่นดินไหวแบบคาบยาว (long period) ซึ่งจะกระตุ้นอาคารสูงได้ เนื่องจากมีคาบยาวที่ตรงกันระหว่างอาคารกับชั้นดินอ่อน

3 ข้อสันนิษฐาน สาเหตุตึก 30 ชั้นถล่มจากเหตุแผ่นดินไหว

และอาจมีปัจจัยอื่นที่ต้องพิจารณา เช่น ตัวปั้นจั่นที่ติดตั้งในปล่องลิฟต์ มีการสะบัดตัวและส่งผลกระทบต่อโครงสร้างอย่างไร ยังต้องพิสูจน์

ส่วนอีกประเด็นสำคัญคือ คุณภาพวัสดุก่อสร้าง เช่น คอนกรีต และเหล็กเสริมว่ามีกำลังรับน้ำหนักเพียงใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหล็กเส้นที่นำมาใช้ ได้มาตรฐานและมีความเหนียวเพียงพอหรือไม่ จึงจำเป็นต้องตรวจสอบทุกปัจจัย ก่อนจะสรุปสาเหตุที่แท้จริงได้