ท่านประธานครับ / คะ
ขอใช้สิทธิ์ประท้วงครับ / ค่ะ

ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ระบุว่า
“สมาชิกผู้ใด ต้องการประท้วงว่ามีการฝ่าฝืนข้อบังคับ ให้ยืนและยกมือขึ้นพ้นศีรษะ ประธานต้องให้ให้โอกาสผู้นั้นชี้แจง แล้วประธานวินิจฉัยว่า ได้มีการฝ่าฝืนข้อบังคับตามที่ประท้วงหรือไม่ คำวินิจฉัยของประธานถือเป็นเด็ดขาด”

โดยตลอดการ #อภิปรายไม่ไว้วางใจ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หนึ่งในสีสันในสภาผู้แทนราษฎร คือ “การประท้วง” ทั้งจากฝ่ายรัฐบาล ที่มีทีม “องครักษ์พิทักษ์นายกฯ“ คอยสกัดการอภิปรายของ สส.พรรคฝ่ายค้าน โดยกล่าวหาว่าทำผิดระเบียบข้อบังคับการประชุมสภาฯ รวมถึงฝ่ายค้านเองก็มีการประท้วงโต้กลับ และมักจะประท้วงหลังจากการชี้แจงของรัฐมนตรีในประเด็นต่างๆ
...

มีช่วงหนึ่งของการประชุมสภาฯ ในญัตตินี้ นายภราดร ปริศนานันทกุล รองประธานสภาคนที่ 2 จากพรรคภูมิใจไทย ตักเตือนการทำหน้าที่ของผู้ร่วมประชุม โดยระบุว่า “การประท้วงของพวกท่าน ประชาชนเขาไม่ต้องการ” หลังจากเกิดเหตุการณ์วุ่นวายจนยากต่อการควบคุมให้ดำเนินต่อไปได้ พร้อมแนะนำว่าให้นำเวลาประท้วงไปอภิปรายหรือชี้แจงให้คนไทยเข้าใจดีกว่า

สำหรับภาพรวมของการประท้วงใน 2 วันของญัตตินี้ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นเมื่อผู้อภิปรายซึ่งเป็น สส.พรรคฝ่ายค้าน กล่าวพาดพิง ใช้ถ้อยคำรุนแรง กล่าวให้ร้าย ส่อเสียด หรือทำให้ผู้ถูกอภิปราย รัฐมนตรี หรือบุคคลที่ 3 เสียหาย รวมถึงการอภิปรายวกวน ไม่เข้าเนื้อหาด้วยเช่นเดียวกัน

“การประท้วง” จึงเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งของ สส.ฝ่ายรัฐบาล นำมาใช้สกัดดาวรุ่งที่พุ่งแรงเกินเหตุ มุ่งหวังให้ผู้ที่กำลังอภิปรายเสียสมาธิ ไขว่เขว ขาดกำลังใจ รวมถึงลดความต่อเนื่องของอีกฝ่ายลง แม้ในหลายครั้งผู้ทำหน้าที่ประธานจะวินิจฉัยว่าอยู่ในข้อบังคับ แต่ก็มีการตักเตือน เน้นย้ำไปยังผู้อภิปรายบ้าง
ภาพ : ศรันย์ พงษ์สวัสดิ์
เรื่อง : สรวิชญ์ บุญจันทร์คง