9 ชั่วโมงที่ตำรวจปิดล้อม ชายคลั่ง ในบ้านหลังหนึ่งย่านพระราม 2 ที่มีอาวุธปืน และก่อเหตุยิง พ.ต.ท.กิตติ์ชนม์ จันยะรมณ์ รอง ผกก.ป.สน.ท่าข้าม เสียชีวิตระหว่างเข้าระงับเหตุ ก่อนคนร้ายปลิดชีพตนเองตาม หลังการตรวจสอบในพื้นที่พบว่าชายดังกล่าวมีอาการป่วยทางจิต ยิงปืนขึ้นฟ้าบ่อยครั้ง แต่กลับไม่มีการยึดอาวุธปืน จนทำให้เกิดเหตุสลด ผู้เชี่ยวชาญมองว่าเจ้าหน้าที่ควรทำงานให้เข้มงวดในการยึดปืนผู้ที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม แม้จะขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้อง ขณะเดียวกัน ควรมีการตรวจสุขภาพจิตผู้ครอบครองปืนในทุก 10 ปี

วันที่ 20 ก.ค. 67 เวลา 21.45 น. สน.ท่าข้าม ได้รับแจ้งว่ามีชายอายุประมาณ 50 ปี คลุ้มคลั่งและมีอาวุธปืนอยู่ภายในบ้านหลังหนึ่งย่านพระราม 2 ภายในหมู่บ้านดีเค บางบอน กรุงเทพฯ โดย พ.ต.ท.กิตติ์ชนม์ จันยะรมณ์ รอง ผกก.ป.สน.ท่าข้าม และ ด.ต.ไชยวัฒน์ อัตโสภณวัฒนา ผบ.หมู่ ป.สน.ท่าข้าม จึงรุดไปตรวจสอบที่เกิดเหตุ

โดยในระหว่างการเจรจา ตำรวจได้พยายามเกลี้ยกล่อม แต่คนร้ายให้ลูกเข้าไปในบ้านก่อนจะลงมือทำร้าย จังหวะนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจพยายามเข้าไปในบ้าน แต่คนร้ายยิงสวนออกมาในจังหวะที่ลูกวิ่งออกมาจากบ้าน ทำให้ พ.ต.ท.กิตติ์ชนม์ จันยะรมณ์ รอง ผกก.ป.สน.ท่าข้าม ถูกยิงเข้าที่จุดสำคัญ และเจ้าหน้าที่จึงช่วยเหลือสมาชิกในครอบครัว จำนวน 4 คน ออกมาจากบ้านพักหลังดังกล่าว ลูกสาวผู้ก่อเหตุให้ข้อมูลว่า พ่อมีอาวุธปืนจำนวน 4 กระบอก คือ ขนาด .38, ขนาด 9 มม., ขนาด 11 มม. และปืนลูกซอง พร้อมเครื่องกระสุนปืนจำนวนหนึ่งไว้ในครอบครอง โทษที่ได้รับจะเบากว่าคนปกติ

...

ต่อมาในช่วงรุ่งเช้า เจ้าหน้าที่ได้บุกค้นในบ้านเกิดเหตุ พบผู้ก่อเหตุเสียชีวิต ใกล้กันมีปืนตกอยู่ข้างกาย คาดว่าผู้ก่อเหตุปลิดชีพตัวเอง ซึ่งก่อนหน้านี้ลูกและภรรยาได้อยู่กับผู้ก่อเหตุที่บ้านหลังดังกล่าว แต่ผู้เป็นพ่อกลับมีพฤติกรรมทำร้ายคนในบ้าน ก่อนจะพากันย้ายไปอยู่ที่อื่น

สำหรับการครอบครองปืนของผู้ป่วยทางจิต กลายเป็นประเด็นที่สังคมถกเถียงกัน หลัง พ.ต.ท.กิตติ์ชนม์ จันยะรมณ์ รอง ผกก.ป.สน.ท่าข้าม ถูกยิงเสียชีวิต “มนตรี ตันใจซื่อ” ผู้เชี่ยวชาญด้านอาวุธปืน กล่าวว่า การครอบครองปืนในคนที่ไปขอขึ้นทะเบียน แต่หลังจากนั้นมีอาการป่วยทางจิต ในเชิงของกฎหมายมีการระบุไว้อยู่แล้ว แต่การบังคับใช้ยังไม่เข้มงวด เพราะกรณีที่เกิดขึ้นพบว่าผู้ก่อเหตุมีการยิงปืนในบ้านและขึ้นฟ้าบ่อยครั้ง และมีประวัติป่วยทางจิตในช่วงหลัง ซึ่งตามกฎหมายอนุญาตให้ยึดปืนคืนได้

พ.ร.บ.อาวุธปืน มีการระบุว่าผู้ที่วิกลจริต หรือเคยต้องโทษจำคุก สามารถแจ้งต่อนายทะเบียนให้เพิกถอนการครอบครอง แต่ในเชิงปฏิบัติยังไม่มีความจริงจัง เลยทำให้เกิดเหตุในลักษณะดังกล่าวขึ้นได้
ตอนนี้ยังไม่มีกระบวนการตรวจสอบย้อนหลังรายปีว่า ผู้ที่มาขอขึ้นทะเบียนปืน หลังผ่านไปซักระยะมีความผิดปกติด้านสุขภาพจิตหรือไม่ แต่ในรายที่ก่อเหตุพบว่า มีการนำปืนมายิงหน้าบ้านหรือในบ้าน ตลอดจนนำปืนมาข่มขู่ผู้อื่น ซึ่งนายทะเบียนอาวุธปืนสามารถเพิกถอนใบอนุญาตได้ แต่เหตุที่เกิดขึ้นกลับไม่ถูกเพิกถอนการครอบครอง

“การจะแก้ไข พ.ร.บ.อาวุธปืน ให้มีการตรวจสอบสุขภาพชีวิตของผู้ครอบครองย้อนหลังถือเป็นเรื่องใหญ่ แต่ต้นเหตุจริงๆ มีการระบุไว้ในกฎหมายว่า ถ้าผู้ถือครองมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม สามารถเพิกถอนได้ ซึ่งในกระบวนการ ถ้ามีการเพิกถอนใบอนุญาตถือครองอาวุธปืน เจ้าหน้าที่จะนำผู้ที่มีไว้ในครอบครองทั้งหมดมาขายทอดตลาด และนำเงินที่ได้ส่งคืนให้กับผู้ที่ถูกยึดปืน ขณะที่บางกรณีนำอาวุธปืนไปก่อเหตุร้ายแรง ศาลจะมีคำสั่งริบอาวุธปืนให้ตกเป็นของแผ่นดิน”

...

การตรวจสอบสุขภาพจิตของผู้ครอบครองปืนย้อนหลัง ถ้ามีการแก้ไขให้มีการตรวจสุขภาพจิตควรอยู่ที่ 10 ปี ตรวยหนึ่งครั้ง วิธีนี้อาจไม่ช่วยแก้ปัญหา แต่ควรให้เจ้าหน้าที่ทำงานอย่างเข้มงวดกับคนที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมและครอบครองอาวุธปืน โดยให้ริบคืนได้ทันที่ เพื่อระงับเหตุในอนาคตที่จะเกิดขึ้น

เจ้าหน้าที่ตำรวจในตอนนี้ต้องใช้ความระมัดระวังในการระงับเหตุอย่างมาก เพราะในส่วนของปืนเถื่อนก็ยังมีแพร่ระบาดอยู่มาก ซึ่งผู้ที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมก็มีไว้ครอบครองรอเวลาที่จะก่อเหตุ ส่วนคนที่ครอบครองปืนที่มีทะเบียน อยากให้เจ้าหน้าที่ทำงานอย่างเข้มงวดมากขึ้น ในการยึดปืนคืนทันทีในคนทำแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม.