อีกความสำเร็จของนักพฤกษศาสตร์ไทย ได้ค้นพบ "กำลังช้างเผือก" พืชชนิดใหม่ของโลกในสกุลเครือเขาหนัง ซึ่งมีชื่อไทยที่รู้จักกันมานาน จากการร่วมมือระหว่างกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และกรมป่าไม้ เพิ่งตีพิมพ์ตามกฎเกณฑ์ทางพฤกษศาสตร์ในวารสารนานาชาติ Blumea เล่มที่ 67

ก่อนหน้านี้เพิ่งค้นพบพืช 2 ชนิดใหม่ของโลก ในสกุลกระพี้จั่น “ม่วงราชสิริน” เก็บตัวอย่างในพื้นที่อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี และในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เป็นไม้เถาดอกม่วง นามพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และ “ซ่อนแก้ว” พบในวัดผาซ่อนแก้ว จ.เพชรบูรณ์

ม่วงราชสิริน ไม้เถาดอกม่วง นามพระราชทาน
ม่วงราชสิริน ไม้เถาดอกม่วง นามพระราชทาน
ซ่อนแก้ว ในสกุลกระพี้จั่น
ซ่อนแก้ว ในสกุลกระพี้จั่น

...

เบื้องหลังความสำเร็จเหล่านี้ "ผศ.ดร.สไว มัฐผา" คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ในฐานะผู้เชี่ยวชาญพรรณไม้วงศ์ถั่ว เล่าว่า พืช "กำลังช้างเผือก" มีมานานแล้วในไทย แต่ในแง่ของนักวิชาการ ยังไม่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ เพื่อช่วยในเรื่องทรัพยากรพันธุ์พืชของไทย ว่ามีพันธุ์พืชกี่ชนิดและมีจำนวนเท่าใด และสามารถนำไปต่อยอดใช้ประโยชน์ได้ เพราะหากไม่มีการค้นพบรวมอาจสูญพันธุ์ได้

จุดเริ่มในการค้นพบพืชชนิดนี้ เมื่อเดือนต.ค. 2550 มีการเก็บตัวอย่างที่ปลูกไว้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว จ.บึงกาฬ มาให้นักพฤกษศาสตร์หอพรรณไม้ ทำการตรวจสอบ แต่ไม่สามารถตรวจสอบได้ จึงติดตามเก็บตัวอย่างดอกผลและการสำรวจในภาคสนามอย่างละเอียดเป็นเวลาหลายปี แต่ไม่พบพืชชนิดนี้ในป่าธรรมชาติแถบนั้น อาจถูกตัดทิ้งเพื่อปลูกยางพารา อ้อย และมันสำปะหลัง

นักพฤกษศาสตร์ไทย ค้นพบ "กำลังช้างเผือก" พืชชนิดใหม่ของโลก ใช้บำรุงกำลัง

“ใช้เวลากว่า 10 ปี ถึงได้ตัวอย่างดอกและฝัก เจอในพื้นที่ติดกับลาว บริเวณภูเขาควายและเขากระดิง ตรงนั้นมีแม่น้ำโขงกั้นอยู่ จึงสันนิษฐานว่าต้นพืชกำลังช้างเผือก น่าจะขึ้นที่ฝั่งลาว เพราะก่อนหน้าพบตรงรอยต่อติดกับจ.หนองคาย ภายในวัดป่า และเคยขอตัวอย่างจากจีน นำมาตรวจสอบเพื่อยืนยัน เพราะมีความคล้ายคลึงกัน ทั้งใบ รูปทรงของดอก รูปร่างกลีบดอก แต่เมื่อศึกษาทางชีวโมเลกุลก็พบว่าต่างกันในเรื่องดีเอ็นเอ”

พืชหลายละชนิดมองภายนอกดูคล้ายกันมาก อย่างพืชในวงศ์ขิงข่า ซึ่งมีการนำมาขายทั่วไป แต่ยังไม่มีชื่อวิทยาศาสตร์ อาจเป็นเพราะพืชมีการแยกตามสายพันธุ์ และเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน จากเดิมที่อยู่ในสกุลเดียวกัน ส่วนกำลังช้างเผือก ปลูกง่ายด้วยเมล็ด เป็นกลุ่มเดียวกับพวกชงโค โยทะกา และเครือเขาหนัง ยังไม่มีรายงานเรื่องสรรพคุณ นอกเหนือจากเป็นยาบำรุงกำลัง อยู่ในกลุ่มพืชสมุนไพรกลุ่มเดียวกับใบไม้สีทอง

นักพฤกษศาสตร์ไทย ค้นพบ "กำลังช้างเผือก" พืชชนิดใหม่ของโลก ใช้บำรุงกำลัง

“ถ้ามีการศึกษาวิจัยสามารถนำไปต่อยอดได้ในการรักษาทางการแพทย์แผนไทย เหมือนพืชชนิดอื่นก็ต้องค้นคว้าศึกษาสารเคมีที่อยู่ในตัวพืช หรือพฤกษศาสตร์เคมี หากชาวบ้านพื้นที่ใดเจอพืชกำลังช้างเผือก ซึ่งเป็นไม้เลื้อยเถาใหญ่มีเนื้อไม้ อย่างในกรุงเทพฯ เคยนำมาปลูกในม.เกษตรฯ อย่ามองเป็นวัชพืชจะต้องกำจัดทิ้ง เพราะอาจมีประโยชน์ในอนาคต มีการพบตัวยาจากพืชชนิดนี้ก็ได้”

นักพฤกษศาสตร์ไทย ค้นพบ "กำลังช้างเผือก" พืชชนิดใหม่ของโลก ใช้บำรุงกำลัง

...

พร้อมกับแย้มข่าวดีว่ากำลังค้นพบพืชพันธุ์ใหม่ของโลกอีก อยู่ในกลุ่มพรรณไม้วงศ์ถั่ว พบในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จ.นครราชสีมา ตั้งแต่เป็นนักวิทยาศาสตร์ ภายหลังมีการเก็บข้อมูลตัวอย่างมานาน และยังพบพืชอีกชนิด ในพื้นที่ทางใต้ของจ.ตรัง ซึ่งไม่มีใครรู้จักมาก่อน.

นักพฤกษศาสตร์ไทย ค้นพบ "กำลังช้างเผือก" พืชชนิดใหม่ของโลก ใช้บำรุงกำลัง