ชาไข่มุก เครื่องดื่มสุดโปรดของใครหลายคน ปัจจุบันร้านชาไข่มุกผุดเป็นดอกเห็ดอยู่ทั่วประเทศ ทั้งร้านใหม่ และขยายสาขาหลายร้อยสาขาเพื่อตอบโจทย์กับกระแสที่กำลังมาแรง

ผลสำรวจของ Google Trends เกี่ยวกับการค้นหาคำว่า “ชาไข่มุก” เมื่อปี 2018 ที่ผ่านมานั้น พบว่า จังหวัดกรุงเทพฯ มีการค้นหามากที่สุด รองลงมา คือ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดชลบุรี

เราลองมาดูกันว่า “ชาไข่มุก” ทั้ง 5 เจ้าดัง มีรายได้มากน้อยแค่ไหน?

Ochaya

ราคาเริ่มต้น 30 บาท

ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2550 โดย Mr. Stanley Yu. ปัจจุบันได้ขยายแฟรนไชส์มากกว่า 350 สาขา

ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่า ร้านโอชายะ จดทะเบียนในนามบริษัท จัสที อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 2555 ด้วยทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท ต่อมา ได้เปลี่ยนชื่อเป็น  บริษัท โอชายะ กรุ๊ป จำกัด เมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2557 ทุนจดทะเบียนล่าสุด 8 ล้านบาท

ปี 2560 มีรายได้รวม 148,202,491 บาท มีรายจ่ายรวม 147,275,213 บาท กำไรสุทธิ 927,277 บาท
ปี 2559 มีรายได้รวม 127,758,977 บาท มีรายจ่ายรวม 126,872,605 บาท กำไรสุทธิ 886,372 บาท
ปี 2558 มีรายได้รวม 60,070,267 บาท มีรายจ่ายรวม 58,909,464 บาท กำไรสุทธิ 1,160,803 บาท

...

Mikucha

ราคาเริ่มต้น 30 บาท

แฟรนไชส์ชานมไข่มุก เน้นเปิดตามห้างสรรพสินค้า ปัจจุบันได้ขยายแฟรนไชส์ไปกว่า 300 สาขาทั่วประเทศ

ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่า ร้านมิกุชา จดทะเบียนในนามบริษัท มิกุชา (เคพี) จำกัด เมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2555 ด้วยทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท

ปี 2560 มีรายได้รวม 94,664,877 บาท มีรายจ่ายรวม 92,081,755 บาท กำไรสุทธิ 1,760,454 บาท
ปี 2559 มีรายได้รวม 82,090,603 บาท มีรายจ่ายรวม 79,317,809 บาท กำไรสุทธิ 1,893,359 บาท
ปี 2558 มีรายได้รวม 63,710,517 บาท มีรายจ่ายรวม 61,712,139 บาท กำไรสุทธิ 1,439,185 บาท

KAMU

ราคาเริ่มต้น 35 บาท

เปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2553 ปัจจุบันมีมากกว่า 50 สาขา

ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่า ร้านคามุ จดทะเบียนในนามบริษัท คามุ คามุ จำกัด เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 2556 ด้วยทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท ต่อมา ได้เพิ่มทุนจดทะเบียนล่าสุด 3 ล้านบาท

ปี 2560 มีรายได้รวม 67,072,414 บาท มีรายจ่ายรวม 72,804,981 บาท ขาดทุนสุทธิ 5,779,893 บาท
ปี 2559 มีรายได้รวม 36,643,130 บาท มีรายจ่ายรวม 46,537,185 บาท ขาดทุนสุทธิ 9,914,625 บาท
ปี 2558 มีรายได้รวม 11,831,550 บาท มีรายจ่ายรวม 14,666,977 บาท ขาดทุนสุทธิ 2,835,427 บาท

KOI Thé

ราคาเริ่มต้น 45 บาท

เริ่มต้นกิจการสาขาแรกในไต้หวันเมื่อปี 2549 ก่อนเริ่มขยายสาขาออกไปยังต่างประเทศ จนปัจจุบันมีสาขาครอบคลุม 350 สาขาในกว่า 12 ประเทศ สำหรับโคอิเตะ ประเทศไทย เริ่มต้นกิจการเมื่อปี 2559 ปัจจุบันมี 22 สาขา

ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่า ร้านโคอิเตะ จดทะเบียนในนามบริษัท โคอิเตะ (ประเทศไทย) จำกัด เมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2559 ด้วยทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท ต่อมา ได้เพิ่มทุนจดทะเบียนล่าสุด 30 ล้านบาท

...

ปี 2560 มีรายได้รวม 62,403,731 บาท มีรายจ่ายรวม 54,121,199 บาท กำไรสุทธิ 8,027,663 บาท
ปี 2559 มีรายได้รวม 3,597,283 บาท มีรายจ่ายรวม 5,919,174 บาท ขาดทุนสุทธิ 2,321,890 บาท

DAKASI

ราคาเริ่มต้น 35 บาท

มีต้นกำเนิดจากไต้หวันเมื่อปี 2533 และได้รับความนิยมอย่างมาก สามารถขยายสาขามากกว่า 1,000 สาขาทั่วเอเชีย ปัจจุบันมี 20 สาขาในประเทศไทย

ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่า ร้านดาคาซี่ จดทะเบียนในนามบริษัท ดาคาซี่ จำกัด เมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2552 ด้วยทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท มิกซ์เซี่ยนฟู้ดส์ จำกัด เมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2561 และได้เพิ่มทุนจดทะเบียนล่าสุด 34.9 ล้านบาท

ปี 2560 มีรายได้รวม 54,009,600 บาท มีรายจ่ายรวม 55,645,937 บาท ขาดทุนสุทธิ 2,036,064 บาท
ปี 2559 มีรายได้รวม 68,851,113 บาท มีรายจ่ายรวม 71,243,814 บาท ขาดทุนสุทธิ 2,645,238 บาท
ปี 2558 มีรายได้รวม 42,420,872 บาท มีรายจ่ายรวม 58,527,972 บาท ขาดทุนสุทธิ 16,665,278 บาท

...

ส่วนเจ้าดังเจ้าอื่นๆ ที่ไม่ได้เอ่ยถึงนั้น เพิ่งจดทะเบียนในกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เมื่อปี 2561 จึงยังไม่ได้ส่งงบดังกล่าว และบางเจ้าเปิดในนามส่วนบุคคลไม่ได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท จึงไม่มีข้อมูล.

ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ รายงาน