ปี 2560 ถือเป็นอีกปีที่เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนผ่านอย่างรวดเร็วรอบด้านสร้างผลกระทบทั้งเชิงบวกและลบ จนทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับตัวขนานใหญ่ เพื่อให้ตอบรับกับการไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป
นอกเหนือจากเทรนด์เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภค เช่น ระบบการจดจำใบหน้า บริการแบบออนดีมานด์ และภาพถ่าย 360 องศาแล้ว ยังมีอะไรที่จะเป็นตัวกำหนดทิศทางของโลกเทคโนโลยีในในปี 2561 อีกบ้าง?
ลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ให้ข้อคิดเห็นกับ ไทยรัฐออนไลน์ เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงนี้ว่า "ปี 2561 เราจะได้เห็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในทุกด้าน ด้วยเทคโนโลยีและความต้องการของผู้คนมาบรรจบกัน"
...
ทีมนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยด้านเทคโนโลยีจากสถาบันวิจัยเทเลนอร์ จำได้เลือก 7 เทรนด์เทคโนโลยีสำคัญที่คาดว่ากำลังก้าวเข้าสู่ชีวิตของพวกเราในปี 2561 มาฝากกัน
1: นิวส์ฟีดบนโซเชียลมีเดีย: ปฏิสัมพันธ์น้อยลง แต่ข่าวสารมากขึ้น
ทุกวันนี้ผู้ใช้งาน Facebook โพสต์เรื่องราวส่วนตัวน้อยลง ทำให้ปริมาณของเนื้อหาที่น่าสนใจลดน้อยลงไป สวนทางกับเนื้อหาของธุรกิจและโฆษณาที่ปรากฏบนหน้าฟีดของผู้ใช้งานมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามความสนใจของแต่ละบุคคล ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากผู้ใช้งานเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะจำนวนของ “ข่าวสารปลอม” ที่มีมากขึ้นเรื่อย ๆ
บางทีผู้ใช้งานอาจกำลังมองหาแพลตฟอร์มดิจิทัลใหม่ๆ ในการติดต่อสื่อสารและอัพเดตข้อมูลส่วนตัวกับเพื่อนและครอบครัว เนื่องจากเริ่มเบื่อหน่ายกับข้อมูลที่ไม่น่าสนใจบน Facebook” อย่างไรก็ตาม Facebook จะยังคงมุ่งพัฒนาสู่การเป็นแพลตฟอร์มสื่อสาร ผ่านทางแอปพลิเคชัน Messenger ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง และ Facebook Groups ในการติดต่อสื่อสารระดับกลุ่มย่อย
2: ผู้ใช้งานจะเริ่มอ่านข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานแอปพลิเคชัน
ภายในกลางปี 2561 กลุ่มสหภาพยุโรปจะผ่านร่างกฎหมายให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภค (GDPR) ฉบับใหม่ ซึ่งมีสาระสำคัญคือ ลูกค้าหรือผู้ใช้งานบริการดิจิทัลทุกคนมีสิทธิความเป็นเจ้าของของข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกสร้างขึ้นในระหว่างการใช้บริการนั้นๆ กฎข้อบังคับดังกล่าวจะช่วยปกป้องข้อมูลของพวกเราทุกคนในสหภาพยุโรป และยังเป็นการคืนสิทธิในการควบคุมการใช้งานข้อมูลส่วนตัวคืนแก่ผู้บริโภคอีกด้วย นอกจากนี้แล้วยังเป็นการเปลี่ยนขั้นตอนของบริษัทผู้ให้บริการในการขออนุญาตนำข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้ามาใช้
ข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้งานจะถูกร่างขึ้นมาใหม่ เพื่อให้ผู้ใช้บริการทราบว่าข้อมูลส่วนบุคคลของพวกเขาจะถูกนำไปใช้งานเพื่อวัตถุประสงค์ใดบ้าง การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เป็นสิ่งสำคัญ โดยในระยะแรก เราอาจจะเห็นข้อกำหนดและเงื่อนไขแตกต่างกันหลายชุด ซึ่งเราหวังว่าจะได้ฉบับที่ดีที่สุดในไม่ช้า ซึ่งข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้งานชุดใหม่ จะถูกใส่รวมเข้าไปในแอปพลิเคชันที่พวกคุณใช้งานอยู่ ซึ่งต่อไปพวกคุณจะต้องเริ่มอ่านมันได้แล้ว!
ยังไม่มีบทสรุปว่าเรื่องนี้จะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้งานในทวีปเอเชียอย่างไรบ้าง แต่เราคาดว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะส่งผลมาถึงเราในอีกไม่กี่เดือนหรือไม่กี่ปีนี้ บริษัทชั้นนำของโลก เช่น Google และ Facebook คงจะต้องการประกาศใช้ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานชุดใหม่ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก
3: Artificial Intelligence และ Deep Learning บุกตลาด
ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) และการเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) ทำให้เราได้พบกับนวัตกรรมที่เปรียบเสมือนมายากล เช่น รถยนต์ไร้คนขับและระบบจดจำใบหน้า แต่ที่ผ่านมา เทคโนโลยีชั้นสูงเหล่านี้เป็นได้แค่เพียงสิ่งที่สร้างความฮือฮาเท่านั้น เราเชื่อว่าในปี 2561 เทคโนโลยี Deep Learning จะถูกนำมาใช้งานจริงในตลาดวงกว้าง ไม่จำกัดอยู่แค่ในกลุ่มบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตยักษ์ใหญ่อีกต่อไป” เทคโนโลยี Deep Learning สามารถถูกนำมาประยุกต์ในการใช้งานกับหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น สุขภาพ พลังงาน การขนส่งและโทรคมนาคม โดยผู้ที่จะประสบความสำเร็จได้จะต้องทุ่มเท มีความเข้าใจการนำไปใช้งาน มีข้อมูล ทักษะและความรู้ที่จำเป็น ส่วนความล้มเหลวมักจะเกิดจากการใช้งานที่ผิดวัตถุประสงค์ ความไม่สอดคล้องระหว่างความคาดหวังกับขีดความสามารถของ Deep Learning ระบบการจัดการข้อมูลที่ไม่พร้อม และท้ายที่สุดแล้ว ยังมีคนจำนวนมากคิดว่า Deep Learning เป็นเครื่องมือวิเศษที่สามารถแกะกล่องแล้วใช้งานได้ทันที โดยไม่ต้องพยายามเรียนรู้และเข้าใจแก่นแท้ของมัน
...
[ป.ล. Deep Learning หรือการเรียนรู้เชิงลึก เป็นสาขาหนึ่งของ Machine Learning ที่มุ่งเน้นศึกษากระบวนการคิด ผ่านโมเดลขนาดใหญ่และข้อมูลจำนวนมหาศาล ซึ่งทำให้เราเข้าใกล้กับ AI มากขึ้น Deep Learning อยู่เบื้องหลังการค้นพบนวัตกรรมใหม่ๆ ในระบบอัตโนมัติต่างๆ เช่น การวิเคราะห์และประมวลผลภาพ ข้อความและคำพูด Deep Learning ใช้เครือข่ายใยประสาทเสมือน (Artificial Neural Network) ขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากระบบประสาทในสมองของมนุษย์]
4: Blockchain – ถึงเวลาก้าวข้ามระบบทางการเงิน?
ในปัจจุบันนี้ ปัญหาของ Blockchain เริ่มทวีความซับซ้อนมากขึ้น โดยในปีนี้เราอาจจะได้เห็นความพยายามในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Blockchain นอกเหนือจากระบบการเงิน เป็นที่รู้กันดีว่า Blockchain เป็นเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลัง Bitcoin ซึ่งเป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ไม่ต้องการตัวกลางในการรับรองการทำธุรกรรม หนึ่งในจุดเด่นของ Blockchain ก็คือ ข้อมูลที่ถูกบันทึกจะไม่สามารถถูกแก้ไขได้ ซึ่งสิ่งที่ตามมาก็คือความยากในการนำไปประยุกต์ใช้งานจริง เพราะการที่จะสร้างโซลูชันที่หลากหลาย ด้วยเทคโนโลยี Blockchain ได้นั้น นักพัฒนาระบบจำเป็นที่จะต้องสามารถแก้ไข ปรับเปลี่ยน และอัพเกรดเทคโนโลยี รวมถึงการตัดสินใจเชิงวิศวกรรม
...
คาดการณ์ว่า “อุตสาหกรรม Blockchain จำเป็นที่จะต้องบรรลุข้อตกลงในเรื่องนี้ แต่ประเด็นก็คือ เทคโนโลยี Blockchain ทำให้สามารถทำธุรกรรมได้โดยไม่จำเป็นต้องมีหน่วยงานหรือสถาบันตัวกลางมาควบคุมดูแล ทำให้เกิดสถานการณ์ที่เรียกกันว่า ‘Blockchain Governance Paradox’ ซึ่งทำให้ผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรม Blockchain ต้องร่วมกันแก้ปัญหาเหล่านี้ให้ได้ เพื่อที่จะใช้ประโยชน์ของ Blockchain ได้อย่างเต็มที่ โดยปี 2561 จะมีการถกในประเด็นนี้อย่างร้อนแรง ซึ่งเราหวังว่าจะนำมาสู่ทางออกให้กับพวกเรา”
[ป.ล. Blockchain ไม่ใช่ Bitcoin – Blockchain คือการรวบรวมรายการจัดเก็บข้อมูลรูปแบบหนึ่ง ให้เป็น Block เรียงต่อกันเป็นสาย ซึ่งจะถูกเข้ารหัสเพื่อรักษาความปลอดภัย ในแต่ละ Block จะมี Hash Pointer เป็นตัวเชื่อมโยงไปยัง Block ก่อนหน้า, Timestamp และข้อมูลธุรกรรม Blockchain ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันการแก้ไขข้อมูล เทคโนโลยี Blockchain เป็นรากฐานของ Bitcoin โดยทำหน้าที่เป็นสมุดบัญชีสาธารณะสำหรับธุรกรรมทั้งหมด ส่วน Bitcoin เป็นสกุลเงินดิจิทัลสกุลแรกที่ถูกสร้างขึ้น และเป็นสิ่งที่สร้างแรงบันดาลใจสำหรับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Blockchain ในด้านอื่นๆ]
5: 2561 โลกเสมือนและโลกจริงผสานเข้าด้วยกัน
เรารู้สึกเหมือน Pokémon Go เป็นสิ่งที่ผ่านมานานแล้ว และเทคโนโลยี Augmented Reality ก็พร้อมที่จะก้าวต่อไป แม้ว่าเราคงจะไม่ได้เห็นการเปิดตัวแว่น AR ของ Google ในอนาคตอันใกล้ แต่เราคาดการณ์ว่าจำนวนของแอปพลิเคชัน AR จะเพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณในปี 2561” โดยในระบบปฏิบัติการล่าสุดของ iPhone มีฟังค์ชันบิวด์อินสนับสนุนการใช้งานโลกเสมือนซึ่งทำงานร่วมกับกล้องของโทรศัพท์ ซึ่งเป็นการลดความซับซ้อนในการพัฒนาโปรแกรมและเทคโนโลยี AR และเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่นักพัฒนาแอปพลิเคชันบนแพลตฟอร์ม iOS หลายแสนราย เราคาดว่าจะมีแอปพลิเคชันนำทางที่ใช้กล้องและการทับซ้อนภาพบนเส้นทางการเดินทางของผู้ใช้งาน รวมไปถึงเกมส์อื่นๆ ที่นอกเหนือไปจาก Pokémon Go พร้อมให้โหลดใช้งานจากแอปสโตร์
...
6: โอลิมปิกฤดูหนาวและ Virtualization เปิดประตูสู่ 5G
เทคโนโลยีเครือข่าย 5G จะถูกนำมาเปิดตัวใช้งานเป็นครั้งแรกในมหกรรมกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวที่จะถูกจัดขึ้นที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ นอกจากการได้เห็นการพัฒนาและการทดสอบคุณสมบัติทางเทคนิคขั้นสูง เรายังหวังที่จะได้เห็นการนำเอาเทคโนโลยี 5G มาประยุกต์ใช้งานจริง ยกตัวอย่างเช่น อาจมีการใช้โดรนที่ควบคุมผ่านสัญญาณ 5G ในการบินติดตามนักสกีกระโดด เพื่อเก็บภาพทิวทัศน์ของเนินเขาจากจุดต่างๆ การเปิดตัวของ 5G จะเป็นการเปิดโอกาสให้กับอุตสาหกรรมต่างๆ ในการนำเอาเทคโนโลยี 5G เข้ามาใช้ รวมถึงการทดสอบประสิทธิภาพของ 5G ซึ่งปี 2561 จะเป็นปีแห่งประวัติศาสตร์แห่งการเปิดตัวของเทคโนโลยี 5G”
7: ถึงเวลาเลิกพก กระเป๋าเงิน?
ในปี 2561 อุปกรณ์มากมายหลายชนิดจะกลายเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการชำระเงิน เช่น กุญแจรถ ตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ สมาร์ทโฟน รถยนต์ที่เชื่อมต่อกัน นาฬิกาสปอร์ต เป็นต้น AI และ IoT เป็นเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังบริการอัจฉริยะและบริการจำเพาะต่อบุคคลต่างๆ ซึ่งช่วยให้ลูกค้าและบริษัทต่างๆ สามารถสร้างโซลูชั่นช่วยในการตัดสินใจทางการเงิน การบริหารจัดการความเสี่ยง และการลดต้นทุน เป็นต้น โดยในปี 2561 จะมีการเปิดตัวระบบการชำระเงินใหม่ๆ ทั่วโลก ในทวีปเอเชีย เราจะได้เห็นการเติบโตของธนาคารที่ใช้ระบบ IoT มากขึ้น ส่วนในยุโรปจะมีการเปิดตัวบริการชำระเงินแบบ Payment Service Directive 2 (PSD2) ซึ่งจะเปิดโอกาสให้องค์กรภายนอก เช่น ฟินเทคสตาร์ทอัพ ได้เข้าถึงข้อมูลของลูกค้าธนาคาร นี่คือการปูทางให้เกิด ‘Open Banking’ และนวัตกรรมใหม่ๆ ตลอดจนช่วยลดปัญหาในการดำเนินธุรกิจ รวมถึงระบบนิเวศของการชำระเงินของผู้ให้บริการโทรคมนาคมในปัจจุบัน โดยการรักษาความปลอดภัยจะเป็นกุญแจสำคัญในการป้องกันการเจาะระบบผ่านทางอุปกรณ์ชำระเงินจากบรรดาอาชญากรไซเบอร์