“กาแฟ” กลายเป็นเครื่องดื่มยอดนิยมของสังคมไทยมานานแล้ว จะเห็นได้จากการเป็นเครื่องดื่มพื้นฐานมีติดไว้ประจำบ้านและสำนักงาน รวมทั้งร้านกาแฟที่มีอยู่จำนวนมากในปัจจุบัน ธุรกิจร้านกาแฟเติบโตอย่างโดดเด่นสวนกระแสธุรกิจอื่น

ทำให้ บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR เล็งเห็นความสำคัญ เตรียมผุด โครงการพัฒนาอุทยานคาเฟ่อเมซอน (Cafe' Amazon park) บนพื้นที่ดิน 615 ไร่ ณ ต.กล้วยแพะ อ.เมืองลําปาง เพื่อเนรมิตเป็นไร่กาแฟที่ใหญ่อีกแห่งหนึ่งของภาคเหนือ

นายพงษ์ศักดิ์ ภัทรเมธีวิญญู ผอ.โครงการบริหารห่วงลูกโซ่อุปทานเมล็ดกาแฟดิบ เปิดเผยว่า OR พร้อมจะเริ่มโครงการปลูกกาแฟในที่ดินดังกล่าวแล้ว เพื่อสร้างเป็นระบบนิเวศทางธุรกิจของคาเฟ่อเมซอนให้ยั่งยืน

นายกิตติกร โล่ห์สุนทร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ให้ความสนใจลงพื้นที่ดูที่ดิน 615 ไร่ ใน ต.กล้วยแพะ อ.เมืองลำปาง ในโครงการอุทยานคาเฟ่อเมซอน (Cafe' Amazon Park) ถือเป็นโครงการสร้างรายได้ให้เกษตรกร.
นายกิตติกร โล่ห์สุนทร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ให้ความสนใจลงพื้นที่ดูที่ดิน 615 ไร่ ใน ต.กล้วยแพะ อ.เมืองลำปาง ในโครงการอุทยานคาเฟ่อเมซอน (Cafe' Amazon Park) ถือเป็นโครงการสร้างรายได้ให้เกษตรกร.

...

อุทยานคาเฟ่อเมซอนจะเป็นทั้งแปลงเพาะปลูก ศูนย์วิจัย และพัฒนากาแฟสายพันธุ์ดี โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการเกษตรแบบผสมผสาน เพื่อต่อยอดเสริมความเข้มแข็งให้กับธุรกิจต้นน้ำ

อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาพื้นที่และพัฒนาชุมชนของ จ.ลําปาง ให้มีแลนด์มาร์กแห่งใหม่ หรือเป็นแหล่งท่องเที่ยวด้วย นอกจากนั้นจะเพิ่มให้พื้นที่ ต.กล้วยแพะ เป็นพื้นที่สีเขียว การปลูกกาแฟคือการปลูกป่า ลดฝุ่น PM 2.5 และนอกจากนั้นยังสร้างงานในชุมชนอีกด้วย

ขณะเดียวกัน นายกิตติกร โล่ห์สุนทร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ดูที่ดินกว่า 600 ไร่ ใน ต.กล้วยแพะ อ.เมืองลำปาง พร้อมกล่าวว่า นับเป็นโครงการสําคัญและเป็นโครงการที่น่ายินดีมากที่ จ.ลําปาง จะมีไร่กาแฟที่ใหญ่ที่สุดอีกแห่งหนึ่งของภาคเหนือ

โรงสีกาแฟของ OR อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ มีเทคโนโลยีทันสมัยด้วยระบบคัดแยกและกรองเมล็ดกาแฟ ปราศจากสิ่งปนเปื้อน พร้อมตั้งจุดรับซื้อกาแฟจากเกษตรกร.
โรงสีกาแฟของ OR อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ มีเทคโนโลยีทันสมัยด้วยระบบคัดแยกและกรองเมล็ดกาแฟ ปราศจากสิ่งปนเปื้อน พร้อมตั้งจุดรับซื้อกาแฟจากเกษตรกร.

นายพงษ์พันธ์ จันทรภูมิ ผจก.ส่วนบริหารห่วงลูกโซ่อุปทานเมล็ดกาแฟดิบ กล่าวว่า ผู้บริหารแบรนด์คาเฟ่อเมซอนให้ความสําคัญกับการสนับสนุนเกษตรกรไทยผู้ปลูกกาแฟมาก ตั้งจุดรับซื้อและโรงงานแปรรูปกาแฟคาเฟ่อเมซอนที่ อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่

เพื่อเป็นจุดรับซื้อกาแฟกะลาอาราบิก้า มีทั้งโรงสี หรือโรงคั่วกาแฟอันทันสมัยของอเมซอน เพราะกาแฟอเมซอนจะไม่ยอมให้มีกากและเศษวัสดุอย่างอื่นปนเปื้อนแม้แต่น้อยนิด

ที่ผ่านมา OR ร่วมหลายหน่วยงานในการส่งเสริมการปลูกและการรับซื้อกาแฟจากเกษตรกรพื้นที่ จ.เชียงใหม่ จ.แม่ฮ่องสอน และ จ.เชียงราย ให้มีช่องทางการจําหน่ายเมล็ดกาแฟที่มั่นคง มีตลาดที่แน่นอน ตั้งแต่ปี 2558-2566 คาเฟ่อเมซอนรับซื้อกาแฟจากเกษตรกรไทยกว่า 6,109,000 กิโลกรัม หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 1,100 ล้านบาท

สำหรับ โครงการพัฒนาอุทยานคาเฟ่อเมซอน บนพื้นที่ดิน 615 ไร่ ต.กล้วยแพะ อ.เมืองลําปาง จะเป็นธุรกิจสีเขียวและเป็นธุรกิจที่เชื่อมความสามัคคีความสัมพันธ์กับทุกฝ่าย สร้างโอกาสเพื่อทุกรูปแบบและด้าน “G” หรือ “GREeN” การสร้างสิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์

นายพงษ์ศักดิ์ ภัทรเมธีวิญญู ผอ.โครงการบริหารลูกโซ่อุปทานเมล็ดกาแฟดิบ OR.
นายพงษ์ศักดิ์ ภัทรเมธีวิญญู ผอ.โครงการบริหารลูกโซ่อุปทานเมล็ดกาแฟดิบ OR.

...

เพื่อตอบโจทย์เป้าหมาย OR 2030 สร้างโอกาสและยกระดับคุณภาพชีวิตให้ทุกภาคส่วนมีชีวิตที่ดีและเติบโตอย่างยั่งยืนตามวิสัยทัศน์ “คาเฟ่อเมซอนกาแฟที่แฟร์กับคนทั้งโลกเพื่ออยู่คู่กับการเดินทางไปด้วยกัน”

นายพงษ์ศักดิ์ กล่าวอีกว่า แผนการดําเนินงานอุทยานอเมซอนพาร์ค ต.กล้วยแพะ จ.ลําปาง จะแบ่งเป็น 2 ระยะ หรืออีก 7 ปีข้างหน้าพร้อมที่จะเป็นรูปเป็นร่างเปิดบริการอย่างแน่นอน คือปี 2567-2569 ทดลองปลูกกาแฟก่อนเพื่อหาพันธุ์กาแฟที่เหมาะสมกับสภาพอากาศของพื้นที่

จากนั้นภายในปี 2570-2571 ระยะ 2 จะเริ่มขยายผลภายในอุทยานจะมีศูนย์การเรียนรู้ครบวงจร และปี 2572-2573 พร้อมเปิดบริการเต็มรูปแบบ เพื่อให้กาแฟอเมซอนเป็นกาแฟที่แฟร์กับคนทั้งโลก

อีกทั้งเนรมิต ต.กล้วยแพะ เป็นอีกหนึ่งเเหล่งท่องเที่ยว และแหล่งเรียนรู้ปลูกกาแฟของอาณาจักรคาเฟ่อเมซอน ประชาชนในพื้นที่จะได้มีส่วนร่วมด้วยการมีงานทํา และท้องถิ่นจะมีรายได้จากการท่องเที่ยว

ชาวลําปางต่างยินดีที่จะมี “อาณาจักรคาเฟ่อเมซอน” เป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่สร้างรายได้ให้จังหวัด.

เจ้าหน้าที่ OR เตรียมนำพันธุ์กาแฟให้เกษตรกรทดลองปลูก เพื่อหาพันธุ์ที่เหมาะสมกับสภาพอากาศของพื้นที่ จะเริ่มแผนงาน 2 ระยะ ตั้งแต่ปี 2567-2571.
เจ้าหน้าที่ OR เตรียมนำพันธุ์กาแฟให้เกษตรกรทดลองปลูก เพื่อหาพันธุ์ที่เหมาะสมกับสภาพอากาศของพื้นที่ จะเริ่มแผนงาน 2 ระยะ ตั้งแต่ปี 2567-2571.

...

ผสม ติดธรรม รายงาน

อ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่