เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงหน้าแล้งที่มักจะเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีในพื้นที่ จ.พิษณุโลก อีกทั้งช่วยชะลอน้ำในการผันน้ำเข้าแก้มลิงต่างๆ ในช่วงน้ำหลาก เพื่อบรรเทาปัญหาอุทกภัย และป้องกันการกัดเซาะตลิ่งบ้านเรือนของราษฎร

ประตูระบายน้ำท่านางงาม (ปตร.ท่านางงาม) จึงเกิดขึ้นพร้อมกับ ปตร.ท่าแห, ปตร.วังจิก และ ปตร.โพธิ์ประทับช้าง อันเป็นส่วนหนึ่งในการบริหารจัดการน้ำของกรมชลประทานในเขต จ.พิษณุโลก และ

ทั้งนี้ สืบเนื่องจากกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่าปรากฏการณ์เอลนีโญจะยืดเยื้อต่อเนื่องและมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น กรม ชลประทานจึงจำเป็นต้องวางแผนบริหารจัดการน้ำในระยะยาวอย่างประณีตและรัดกุม เพื่อสำรองน้ำไว้ใช้ในกิจกรรมต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ให้มากที่สุด

ทำให้ประตูระบายน้ำแห่งนี้ นอกจากเพิ่มแหล่งเก็บกักน้ำ บรรเทาความเดือดร้อนทั้งปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งแล้ว ยังถือเป็นการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับผลกระทบของปรากฏการณ์เอลนีโญในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับโครงการประตูระบายน้ำท่านางงาม ต.ท่านางงาม อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก เป็นประตูระบายน้ำอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กชนิดประตูเหล็กบานโค้งจำนวน 5 บาน

สามารถเก็บกักน้ำในแม่น้ำยมและลำน้ำสาขาได้ประมาณ 11.10 ล้าน ลบ.ม. ระยะเวลาในการก่อสร้าง 5 ปี (ปี 2562–2566) ครอบคลุมพื้นที่รับประโยชน์ประมาณ 51,375 ไร่ ประชาชนได้ประโยชน์กว่า 2,568 ครัวเรือน

ทั้งนี้ ประตูระบายน้ำท่านางงามจะกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยเก็บกักน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งให้มากที่สุด อันจะช่วยในการสนับสนุนพื้นที่บางระกำโมเดลได้อีกทางหนึ่ง

พร้อมกันนี้ ยังช่วยเร่งระบายน้ำในแม่น้ำยมในช่วงฤดูน้ำหลาก เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบทั้งในพื้นที่ อ.บางระกำ รวมทั้งพื้นที่ฝั่งขวาและฝั่งซ้ายของแม่น้ำยมที่เกิดขึ้นเป็นประจำแทบทุกปี

...

สำหรับในระยะต่อไปจำเป็นต้องสร้างกระบวนการมีส่วมร่วมของประชาชน เกษตรกรและผู้นำในพื้นที่ ในการบริหารจัดการน้ำร่วมกัน เพื่อร่วมกันวางแผนบริหารจัดการน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด.

สะ-เล-เต

คลิกอ่านคอลัมน์ "หน้ามองฟ้า เท้าหยั่งดิน" เพิ่มเติม