ปี 2558 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (มทร.ล้านนา) ดำเนินโครงการการสร้างเครือข่ายเพื่อป้องกันและติดตามการเผาในพื้นที่ต้นแบบ 5 ชุมชน ในจังหวัดเชียงราย ด้วยระบบติดตามการเผาผ่านระบบโทรศัพท์อัจฉริยะ เพื่อลดปัญหาฝุ่นพีเอ็ม 2.5
ปัจจุบันยังได้ต่อยอดความร่วมมือกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA), ศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (Asian Disaster Preparedness Center : ADPC), ห้างหุ้นส่วนจำกัด เติมเต็มวิสาหกิจเพื่อสังคม
พัฒนา “Smoke Watch : แอปพลิเคชันแจ้งเตือนและเฝ้าระวังไฟป่า จากการเผาในที่โล่ง เพื่อบริหารจัดการข้อมูลการแจ้งเหตุเผาไฟป่า และเข้าระงับเหตุได้ตรงจุดอย่างรวดเร็ว
แอปพลิเคชันจะแจ้งข้อมูลจุดความร้อนจากข้อมูลดาวเทียมในระบบ VIIRS และข้อมูลการเผาของชาวบ้านในชุมชน โดยจะเข้าจัดเก็บข้อมูลต่างๆ อาทิ สถานที่ วัน เวลา รูปภาพ เสียง ข้อความ ค่าพิกัดทางภูมิศาสตร์ และข้อมูลผู้แจ้ง
มีรูปแบบการแจ้งเตือน 2 ประเภท คือ การแจ้งข้อมูลการเผา (แจ้งเตือนเจ้าหน้าที่ป่าไม้) และการแจ้งข้อมูลเพื่อเป็นเบาะแส (แจ้งเตือนเจ้าหน้าที่ตำรวจ) หรือเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องโดยทันที
เมื่อเจ้าหน้าที่เข้ามาควบคุมสถานการณ์ในพื้นที่เรียบร้อยแล้ว จะเข้าไปอัปเดตสถานะของตำแหน่งที่ได้รับแจ้งในระบบ โดยระบบจะใช้เทคนิคการจัดเก็บข้อมูลลงในฐานข้อมูล เพื่อประมวลผลคัดแยกข้อมูลใหม่ และข้อมูลเก่าสำหรับแจ้งเตือนไปยังเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ให้ตรงกับวัตถุประสงค์การแจ้งเตือน ทั้งในรูปแบบเสียงและภาพถ่าย
ประกอบกับนำเสนอข้อมูลจุดเผาบนแผนที่ประจำวันบนแผนที่กูเกิลแม็ป เพื่อแสดงจุดการแจ้งเผาของพื้นที่รายวัน พร้อมกับแสดงข้อมูลตารางเพื่อสรุปข้อมูลการเผารายเดือน สามารถแยกเป็นรายพื้นที่ได้ผ่านการคัดกรองจากข้อมูลที่ได้จากการแจ้งของประชาชน
...
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันแอปฯนี้ยังใช้ได้แค่ใน จ.เชียงราย เท่านั้น แต่ในอนาคตจะขยายผล “Smoke Watch” ให้ครอบคลุมจังหวัดอื่นๆในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยต่อไป.
สะ-เล-เต