อธิบดีกรมชลประทาน ลุยตรวจระบบจัดการน้ำ วางแผนล่วงหน้าเตรียมพร้อมรับมือน้ำหลากปี 66 กำชับให้โครงการชลประทานในพื้นที่ ปฏิบัติตาม 12 มาตรการรับมือฤดูฝนปีนี้

เมื่อวันที่ 23 มิ.ย.66 นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน พร้อมด้วย นายเอนก ก้านสังวอน ผู้อำนวยการสำนักเครื่องจักรกล และ ดร.ธเนศร์ สมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำและการบริหารจัดการน้ำ ณ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษารังสิตใต้ จ.ปทุมธานี โดยมี นายชุติมันต์ สกุลพราหมณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 11 และผู้เกี่ยวข้อง รายงานผลการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือในช่วงฤดูฝนนี้

"กรมชลฯ" กางแผนเชิงรุก ลุยตรวจระบบชลประทาน เตรียมพร้อมรับมือฤดูฝนปี 66

โดย นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมชลประทานได้มีการวางแผนล่วงหน้า เพื่อเตรียมพร้อมรับมือน้ำหลากในปี 2566 ได้อย่างทันต่อสถานการณ์ โดยได้กำชับให้โครงการชลประทานในพื้นที่ ปฏิบัติตาม 12 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 2566 ที่กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ หรือ กอนช.กำหนดอย่างเคร่งครัด พร้อมดำเนินการตาม 6 แนวทางปฏิบัติของกรมชลประทาน คือ กักเก็บน้ำอย่างเต็มประสิทธิภาพ, คาดการณ์พื้นที่เสี่ยง, หลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวางทางน้ำ, ระบบชลประทานเร่งระบาย, Standby เครื่องมือ เครื่องจักร และที่สำคัญคือการแจ้งเตือนและประชาสัมพันธ์แนวทางการบริหารจัดการน้ำ เพื่อให้ประชาชนรับทราบล่วงหน้า

...

"กรมชลฯ" กางแผนเชิงรุก ลุยตรวจระบบชลประทาน เตรียมพร้อมรับมือฤดูฝนปี 66

นอกจากนี้ อธิบดีกรมชลประทาน ยังได้ลงพื้นที่ไปติดตามสถานการณ์น้ำคลองรังสิตประยูรศักดิ์ และตรวจสอบความพร้อมของอาคารชลประทาน บริเวณประตูระบายน้ำและสถานีสูบน้ำกึ่งถาวรปากคลองรังสิต จ.ปทุมธานี ซึ่งเป็นจุดรับน้ำจากทางตอนบนและปริมาณฝนในพื้นที่ ก่อนที่จะระบายลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา

"กรมชลฯ" กางแผนเชิงรุก ลุยตรวจระบบชลประทาน เตรียมพร้อมรับมือฤดูฝนปี 66

"การบริหารจัดการน้ำช่วงฤดูฝนในปีนี้ มั่นใจเพราะกรมชลประทานได้เตรียมพร้อมด้านเครื่องจักรเครื่องมือไว้คอยช่วยเหลือประชาชน อาทิ รถแบคโฮ เครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ เป็นต้น โดยทางโครงการชลประทานในพื้นที่ได้มีการวางแผนติดตั้งเครื่องจักรกลต่างๆไว้ประจำจุดพื้นที่เสี่ยง และได้เน้นย้ำให้มีการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะช่วงรอยต่อระหว่างจังหวัด เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ส่วนการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ที่มีการก่อสร้าง ได้กำชับให้มีการวางมาตรการเพิ่มเติม เพื่อแก้ไขปัญหาการกีดขวางทางระบายน้ำ โดยให้บริเวณที่มีการก่อสร้างสามารถระบายน้ำได้ ตามศักยภาพของคลองอย่างเต็มประสิทธิภาพ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อพี่น้องประชาชน นอกจากนี้ เพื่อให้สอดรับกับปรากฏการณ์เอลนีโญ ที่อาจทวีความรุนแรงมากขึ้นในอนาคต จึงได้สั่งการให้โครงการชลประทานในพื้นที่ พิจารณาการระบายน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ควบคู่ไปกับการเก็บกักน้ำไว้ให้มากที่สุด เพื่อสำรองน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งถัดไปด้วย" อธิบดีฯ กล่าว