การศึกษาการบริหารจัดการวัสดุเหลือใช้จากการเพาะเลี้ยงกุ้ง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร ตามเป้าหมายในการพัฒนาประเทศไทยภายใต้แนวคิด BCG Model

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ทำการศึกษาเกษตรกรต้นแบบ 3 ราย ในพื้นที่จันทบุรี ระนอง และประจวบคีรีขันธ์ พบว่ามีการนำดินเลนไปใช้ใน 3 รูปแบบ

1.นำมาผลิตเป็นปุ๋ยหมัก ดินตะกอนเลนกุ้งมาผลิตปุ๋ยหมัก 1,200 กก. จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ 428 บาท หรือ กก.ละ 0.36 บาท...2.นำมาใช้ในการทำเกษตร ด้วยการนำดินตะกอนเลนกุ้งไปใช้ทดแทนสารบำรุงดิน สามารถลดต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีในการปลูกปาล์มน้ำมัน เฉลี่ยปีละ 5,600 บาท/ไร่...3.นำมาใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำ ที่มีอัตราการปล่อยลูกพันธุ์ไร่ละ 200 ตัว จะสามารถลดต้นทุนค่าอาหารเม็ดในการเลี้ยงปลาได้เฉลี่ยปีละ 3,000 บาท/ไร่

และจากการสำรวจเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้ง 127 ราย ในพื้นที่ฉะเชิงเทรา, จันทบุรี, ตราด, สมุทรปราการ, สมุทรสาคร, เพชรบุรี, ประจวบคีรีขันธ์, ระนอง, สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช และจัดสัมมนาระดมความคิดเห็น เพื่อหาแนวทางในการส่งเสริมและเพิ่มมูลค่าดินตะกอนเลนกุ้ง เบื้องต้นสรุปผลไว้ 5 แนวทาง

1.ส่งเสริมและพัฒนาการบริหารจัดการของเสียจากการเพาะเลี้ยงกุ้งเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มต่อยอดไปยังธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง...2.การจัดการความรู้และพัฒนาบุคลากร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการของเสียจากการเพาะเลี้ยงกุ้งและการสร้างมูลค่าเพิ่ม

3.การสร้างความตระหนักรู้และเสริมสร้างศักยภาพด้านการตลาดของผลิตภัณฑ์จากตะกอนเลนกุ้งในเชิงพาณิชย์...4.การเสริมสร้างศักยภาพด้านการลงทุนในการบริหารจัดการของเสียจากการเพาะเลี้ยงกุ้ง และการ สร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ตะกอนเลนกุ้ง...5.การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหาร จัดการตะกอนเลนกุ้งและพัฒนารูปแบบการใช้ประโยชน์ในเชิงพื้นที่

...

อย่างไรก็ตาม การศึกษาพบว่า การใช้ประโยชน์ดินตะกอนเลนกุ้ง ยังมีข้อจำกัดทางกายภาพ เช่น ความแน่นของดินและความเค็ม

ดังนั้น หน่วยงานภาครัฐควรร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากตะกอนเลนกุ้งให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลายมากขึ้น.

สะ-เล-เต

คลิกอ่านคอลัมน์ “หน้ามองฟ้า เท้าหยั่งดิน” เพิ่มเติม