การประชุมเตรียมการในการบริหารจัดการน้ำของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาแนวทางเตรียมการในการบริหารจัดการน้ำฤดูแล้งปี 2566/2567 จากสภาวะเอลนีโญกำลังปานกลาง ที่คาดการณ์ว่าจะมีแนวโน้มที่จะรุนแรงขึ้นในช่วงเดือน พ.ย.66–ม.ค.67
สืบเนื่องจากช่วงที่ผ่านมามีฝนตกเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้สถานการณ์น้ำดีขึ้นกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ในระดับหนึ่ง ปัจจุบันแหล่งน้ำทั่วประเทศมีปริมาณน้ำ 60,614 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 74% ของความจุเก็บกัก และปริมาณน้ำใช้การ 36,445 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 63% ของความจุใช้การ
ทำให้อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่ต้องเฝ้าระวังน้ำน้อยมีจำนวนลดลงจาก 11 แห่ง เหลือ 4 แห่ง ได้แก่ เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนทับเสลา เขื่อนปราณบุรี และเขื่อนคลองสียัด
และจากการคาดการณ์ปริมาณน้ำต้นทุนในอ่างฯใหญ่ ณ ช่วงต้นฤดูแล้ง (1 พ.ย.66) พบว่า จะมีปริมาณน้ำ 55,779 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 79% ของความจุเก็บกัก โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การ 32,233 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 68% ของความจุใช้การ เพิ่มขึ้นจากที่คาดการณ์ไว้เมื่อช่วงต้นเดือน ก.ย.66
ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบให้สำนักทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทบทวน (ร่าง) มาตรการรองรับฤดูแล้งปี 2566/2567 ทั้ง 9 มาตรการ แบ่งเป็น 3 ด้าน คือ ด้านน้ำต้นทุน ได้แก่ 1)เฝ้าระวังและเตรียมจัดหาแหล่งน้ำสำรอง พร้อมวางแผนเตรียมเครื่องจักรเครื่องมือในพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำ 2) ปฏิบัติการเติมน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
ด้านความต้องการใช้น้ำ ได้แก่ 3)กำหนดแผนจัดสรรน้ำและพื้นที่เพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ควบคุมการเพาะปลูกข้าวนาปรัง สร้างการรับรู้ให้กับเกษตรกร เตรียมน้ำสำรองสำหรับพื้นที่ลุ่มต่ำรับน้ำนอง 4) บริหารจัดการน้ำให้เป็นไปตามลำดับความสำคัญการใช้น้ำที่คณะกรรมการลุ่มน้ำกำหนด 5) เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ ประหยัดน้ำ และลดการสูญเสียน้ำในทุกภาคส่วน 6)เฝ้าระวังและแก้ไขคุณภาพน้ำ
...
ด้านการบริหารจัดการ ได้แก่ 7)เสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการบริหารจัดการน้ำของชุมชน/องค์กรผู้ใช้น้ำ 8)สร้างการรับรู้ ประชาสัมพันธ์ และ 9)ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานเพื่อให้มาตรการมีความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน.
สะ-เล-เต
คลิกอ่านคอลัมน์ “หน้ามองฟ้า เท้าหยั่งดิน” เพิ่มเติม