"สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล" อธิบายข้อเท็จจริงของ "น็อกติลูการ์" หรือแพลงก์ตอนบลูม แนะไม่ควรลงเล่นน้ำตอนทะเลเปลี่ยนสี

วันที่ 16 สิงหาคม 2566 เฟซบุ๊ก สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ได้โพสต์ภาพพร้อมข้อความระบุว่า แถลงการณ์จากน้องน็อกตี้คนเดิม เพิ่มเติม คือ Knowledge น็อกตี้ หรือ น็อกติลูการ์ (Noctiluca scintillans) หลังมีคำถามเยอะมากๆ เกี่ยวกับการเปิดตัวของน้องน็อกตี้ เลยอยากแถลงสั้นๆ ดังนี้

เราคือแพลงก์ตอนที่มีสาหร่ายอยู่ในตัว เป็นแพลงก์ตอนประจำถิ่นที่เกิดทุกปี มีมาตั้งแต่รุ่นปู่ ย่า ตา ทวด โดยเขาตั้งชื่อเราว่า ขี้ปลาวาฬ แต่เราก็มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า "Noctiluca scintillans" มีคำถามว่า ถ้าเราบลูมแบบนี้นานๆ จะเป็นยังไงหนอ เราขอตอบว่า "สัตว์น้ำจะตุยเยอะเกินไป" อย่างที่หลายคนมาเที่ยว แล้วพบเจอสัตว์น้ำเกยหาดนั่นแหละ

แล้วทำไมบางครั้งเราก็อยู่หลายวันน่ะเหรอ ก็เพราะมีหลายปัจจัยเลย ทั้งแสงแดด ธาตุอาหารในน้ำทะเล ถ้าเปรียบเทียบ ก็คือปุ๋ยชั้นดี ที่ทำให้เราเจริญเติบโตมาอีก แม้ว่าจะตุยกันไปมากก็ตาม (สังเกตจากสีน้ำตาลอมเขียว นั่นคือเซลล์ที่ตายแล้ว)

แต่เราก็เกิดขึ้นใหม่มาอีก ประกอบกับเจอลมคลื่นแรง ตีอาหารในโคลนทรายให้เรา เหมือนเราได้รับสารอาหารเพิ่ม แถมไปเจอธาตุอาหาร จากกิจกรรมของมนุษย์ ที่มาจากแหล่งน้ำบนบก เช่น ธาตุอาหารจากปุ๋ย น้ำทิ้งจากครัวเรือน เรายิ่งพร้อมเติบโตขยายครอบครัว บลูมเป็นชาเขียวเต็มชายฝั่ง

หลายคนถามว่าเล่นน้ำได้ไหม เป็นเราก็ไม่อยากเล่นอะ เสื้อเลอะด้วย บางคนที่ผิวหนังไวต่อการแพ้ ยิ่งต้องเพิ่มความระมัดระวัง เลี่ยงๆ ไว้ก่อนก็ดีนะ แต่ถ้าฝนตกลงมา เราก็จะเซลล์แตก ทีนี้แหละ เราก็จะน้อยลง และเราก็จะย่อยสลายไปตามธรรมชาติ (เราจะทำให้ทะเลเป็นสีน้ำตาลช่วงหนึ่ง)

...

อีกไม่นาน ก็จะหมดช่วงเวลาของเราแล้ว ประมาณเดือน พ.ย. เป็นต้นไป ก็จะถึงฤดูน้ำใสหลังช่วงเวลาของเรา บางแสนน้ำใส ที่ใครๆ รู้จัก จบแล้วกับธรรมชาติของบางแสน ดินแดนที่ไม่มีวันหลับใหล แต่เราต้องทำความเข้าใจ เพื่อให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข.

ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊กเพจ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล