ทีมวิจัย มข.เจ๋ง ผลิตแบตเตอรี่ชนิดโซเดียมไอออนจากแร่เกลือหินในประเทศไทยได้สำเร็จเป็นที่แรกในระดับภูมิภาคอาเซียน หวังพัฒนาเทคโนโลยีทดแทนแบตเตอรี่ชนิดลิเธียมไอออน
วันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 ที่ ห้องประชุมสารสิน อาคารสิริคุณากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ดร.ธีรวุธ ตันนุกิจ ผู้แทนอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ร่วมกันแถลงข่าวความสำเร็จในการผลิตแบตเตอรี่ชนิดโซเดียมไอออนจากแร่เกลือหินในประเทศไทย ภายใต้โครงการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่ชนิดโซเดียมไอออนจากแหล่งแร่เกลือหิน เพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมศักยภาพ ร่วมกับกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ซึ่งเป็นการพัฒนาแบตเตอรี่ชนิดโซเดียมไอออนจากแหล่งแร่เกลือหิน และเป็นแบตเตอรี่ชนิดโซเดียมมไอออนต้นแบบ ผลิตได้เป็นที่แรกที่โรงงานแบตเตอรี่และพลังงานยุคใหม่มหาวิทยาลัยขอนแก่น และเป็นที่แรกในประเทศไทย และที่แรกในระดับภูมิภาคอาเซียน
รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า โครงการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่ชนิดโซเดียมไอออนจากแหล่งแร่เกลือหินเพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมศักยภาพ เป็นกลไกลสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตวัตถุดิบ ให้สามารถผลิตวัตถุดิบคุณภาพสูง รองรับอุตสาหกรรมแบตเตอรี่แห่งอนาคต ที่มีสถานประกอบการในโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมการผลิตแบตเตอรี่ และสถานประกอบการในระดับต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ประกอบด้วยโครงการเหมืองแร่โพแทช บริษัท ไทยคาลิ จำกัด และ บริษัท อาเซียนโปแตชชัยภูมิ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน สถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าบริษัท วี.ซี.เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ผู้ผลิตและจำน่ายจักรยายนยนต์ไฟฟ้า บริษัท เอ็นเซิร์ฟโฮลดิ้ง จำกัด บริษัท อินโนวาแพค จำกัด บริษัท ทีแอนด์ที ไมโครโมบิล จำกัด
...
อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวอีกว่า การผลิตแบตเตอรี่ชนิดโซเดียมไอออนจากแหล่งแร่เกลือหิน เพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมศักยภาพ ร่วมกับกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ซึ่งเป็นการพัฒนาแบตเตอรี่ชนิดโซเดียมไอออนจากแหล่งแร่เกลือหิน และเป็นแบตเตอรี่ชนิดโซเดียมมไอออนต้นแบบนั้น มี รศ.ดร.นงลักษณ์ มีทอง ผู้จัดการโครงการ และ ดร.ทรงยุทธ แก้วมาลา นักวิจัย พร้อมทีมวิจัย มข. ร่วมกันทำงานจนประสบความสำเร็จ ในการพัฒนาศึกษาวิจัยและทดลองแบตเตอรี่ชนิดโซเดียมไอออนจากแหล่งแร่เกลือหินในประเทศไทย เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่ทางเลือกโดยการใช้วัตถุดิบที่มีภายในประเทศทดแทนแบตเตอรี่ชนิดลิเธียมไอออน
“ได้ดำเนินการพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่ทางเลือก ในระดับเซลล์จากโรงงานแบตเตอรี่และพลังงานยุคใหม่ จนออกมาเป็นผลิตต้นแบบ และนำไปทดลองใช้งานจริงในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ใหม่ และระบบกักเก็บพลังงาน เช่น แบตเตอรี่สำหรับจักรยานไฟฟ้า แบตเตอรี่สำรองสำหรับระบบโซลาร์เซลล์ และไฟส่องสว่าง ความสำเร็จเหล่านี้ส่งผลอุตสาหกรรมไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งหนึ่งในกลุ่มเป้าหมายหลักคืออุตสาหกรรมการผลิตแบตเตอรี่แห่งอนาคตจากวัตถุดิบที่มีในประเทศ”.