สัปดาห์ที่ผ่านมา นาย António Guterres เลขาธิการสหประชาชาติ นายธนวรรษ เทียนสิน ประธานคณะกรรมการความมั่นคงอาหารโลก (CFS) นาย Qu Dongyu ผู้อำนวยการใหญ่ องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) นาย Gilbert Houngbo ประธานกองทุนระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม (IFAD) นาย David Beasley ผู้อำนวยการใหญ่โครงการอาหารโลก (WFP) และ นาง Henrietta Fore ผู้อำนวยการใหญ่ UNICEF ได้ร่วมกันแถลง รายงานสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารและโภชนา-การโลก ประจำปี 2563
ปัจจุบันโลกผลิตอาหารได้เพียงพอกับจำนวนประชากรโลก แต่ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถเข้าถึงอาหารได้ 1 ใน 10 ของประชากรโลก ยังคงอยู่ในภาวะเสี่ยงสูงที่จะมีอาหารไม่เพียงพอ...ประชากรโลกกว่า 2 พันล้านคน มีโอกาสน้อยที่จะเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัยและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ
ประชากรกว่า 83-132 ล้านคน ได้รับอาหารไม่เพียงพอ เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ กว่า 144 ล้านคน อยู่ในสภาพแคระแกร็น และกว่า 47 ล้านคน อยู่ในสภาพอดอาหาร
ประชาชนสามารถเข้าถึงอาหารได้ มีอาหารรับประทาน แต่คำถามคือกินอะไร มีประโยชน์ต่อสุขภาพและมีคุณค่าทางโภชนาการหรือไม่
อาหารที่ดีต่อสุขภาพและมีคุณค่าทางโภชนาการ มีต้นทุนและมีราคาแพง ทำอย่างไรจึงจะถูกลง ต้องจัดการปรับเปลี่ยนระบบอาหารทั้งระบบ food supply chain...ผักผลไม้ ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ที่มีคุณค่า แต่เน่าเสียเร็ว เกิด food loss and food waste ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการมีความสำคัญอย่างมาก
นายธนวรรษ เทียนสิน อัครราชทูต (ฝ่ายเกษตร) และผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ กรุงโรม ในฐานะประธานคณะกรรมการอาหารโลก (CFS) กล่าวถึงผลกระทบของ COVID-19 ได้ตอกย้ำถึงปัญหาด้านความมั่นคงอาหารและโภชนาการของโลกให้เลวร้ายลงไปอีก...สะท้อนให้เห็นว่าระบบอาหารของโลกและระดับประเทศมีข้อบกพร่อง มีเป้าหมายร่วมกันในการร่วมยุติความหิวโหยและภาวะทุพโภชนาการในทุกรูปแบบ ดังนั้น ระบบอาหารจะต้องปรับเปลี่ยนให้มีการสร้างความสมดุลทั้งมิติทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม
...
ปัจจุบัน CFS ได้จัดทำแนวทางปฏิบัติเชิงนโยบายด้านระบบอาหารและโภชนาการ นโยบายด้านเกษตรเชิงนิเวศและนวัตกรรมภาคเกษตร เพื่อนำเข้าสู่การพิจารณารับรองในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 รวมทั้งจะไปสู่การหารือในการปฏิรูประบบอาหารโลก ในระหว่างการประชุมสุดยอดระดับผู้นำด้านระบบอาหารโลก ในปี 2564.
สะ-เล-เต