นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ ชี้แจงเรื่องที่สื่อต่างประเทศนำเสนอข่าวเกี่ยวกับโรงฆ่าสัตว์เถื่อนของไทย เป็นเรื่องเก่าเมื่อปี 2562 ที่ถูกนำมาเผยแพร่ซ้ำอีก

สำหรับการฆ่าสัตว์โดยใช้ไม้ทุบหัวสุกรไม่ทำให้สลบได้แบบสมบูรณ์ (Immobilization) ถือเป็นการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ.2559

และผิดหลักสวัสดิภาพสัตว์

อธิบดีกรมปศุสัตว์บอกว่า ที่ผ่านมากรมปศุสัตว์ได้เร่งปราบปรามและบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดโดยส่งเจ้าหน้าที่บุกจับโรงฆ่าสัตว์เถื่อนอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ปี 2558 มีผลการจับกุมโรงฆ่าสัตว์เถื่อนแล้ว

กว่า 500 ราย และยังสั่งการให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบโรงฆ่าสัตว์ที่ได้รับอนุญาตไปแล้วอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

อธิบดีกรมปศุสัตว์ ชี้ว่า สื่อนอกนำข้อมูลเก่ามาเผยแพร่สร้างความเสียหายให้กับไทย แจงการฆ่าสุกรโดยใช้ไม้ทุบหัว ผิด พ.ร.บ.ควบคุมการฆ่าสัตว์ฯ ต้องถูกสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต เร่งปราบปรามโรงฆ่าสัตว์เถื่อนต่อเนื่อง ยกระดับมาตรฐานโรงฆ่าสัตว์ของไทย แนะเลือกซื้อสินค้าปศุสัตว์จากผู้ผลิตมาตรฐาน

บอกว่าภาพที่สื่อนอกนำเสนอเป็นภาพเก่าเมื่อปีที่แล้ว น่าจะเป็นการลักลอบเข้าไปทำข่าวในโรงฆ่าสัตว์เถื่อน ขอให้ผู้ที่ได้รับข่าวสารนี้อย่าส่งต่อ เพราะจะยิ่งสร้างความเสียหายให้กับประเทศไทย

กรมปศุสัตว์จัดเจ้าหน้าที่ชุดเคลื่อนที่เร็วในการเร่งปราบปราม

การกระทำผิดด้านปศุสัตว์มาโดยตลอด เพื่อยกระดับมาตรฐานโรงฆ่าสัตว์ของไทย สร้างความปลอดภัยต่อผู้บริโภคแนะนำผู้บริโภคให้เลือกซื้อ

เนื้อสัตว์จากผู้ผลิตที่ได้มาตรฐานจากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้

...

สังเกตตราสัญลักษณ์ ปศุสัตว์ OK

ที่สำคัญกระบวนการผลิตเนื้อสัตว์ของไทย มีการควบคุมมาตรฐานความปลอดภัยอย่างเคร่งครัดตลอดห่วงโซ่ตั้งแต่การเลี้ยงในฟาร์ม การขนส่ง จนถึงกระบวนการฆ่าและแปรรูปในโรงงานมาตรฐาน

โดยเฉพาะก่อนการเชือดชำแหละจะต้องมีการพักสัตว์รอเข้าฆ่าไม่น้อยกว่า 30 นาที มีการสเปรย์น้ำเพื่อลดความเครียดก่อนจะทำให้สลบเพื่อทำให้สัตว์หมดสติไปอย่างสมบูรณ์ซึ่งถือเป็นพื้นฐานของเนื้อสัตว์ที่มีคุณภาพ

อธิบดีกรมปศุสัตว์ย้ำว่า สื่อนอกเผยข้อมูลเก่าปี 2562 ย้ำใช้ไม้ทุบหัวสุกรก่อนฆ่าผิด พ.ร.บ.ควบคุมการฆ่าสัตว์ฯ มีโทษหนัก หากประชาชนพบเห็นโรงฆ่าสัตว์เถื่อนหรือการกระทำที่ผิดกฎหมายโปรดแจ้งเบาะแสได้ที่ application “DLD 4.0”

เพื่อให้กรมปศุสัตว์ดำเนินการเข้าตรวจสอบ.

“เพลิงพยัคฆ์”