ความพยายามช่วยเหลือคนจน หรือผู้มีรายได้น้อย โดยรัฐบาลกำหนดนโยบาย และนำเงินงบประมาณมาอุดหนุนในช่วงประมาณ 2 ปีที่ผ่านมา เป็นสิ่งที่ประชาชนกว่า 14 ล้านคนที่ลงทะเบียนไว้กับรัฐบาล และถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐคุ้นเคยอย่างดี
แต่คำถามที่ยังรอคำตอบ คือวิธีการแก้จนที่ได้ผลแท้จริงควรเป็นอย่างไร หลังจากที่รัฐบาลมีโปรไฟล์ของประชาชนกลุ่มนี้ในมือแล้ว
หลังจากเปิดให้ลงทะเบียนเมื่อปี 2559 มีจำนวนผู้ผ่านเกณฑ์ 7.5 ล้านคน ได้โอนเงินเข้าบัญชีตามมาตรการเพิ่มรายได้ให้ผู้มีรายได้น้อย จำนวน 3,000 บาท สำหรับผู้มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาทต่อปี และ 1,500 บาท สำหรับคนที่มีรายได้สูงกว่า 30,000 บาทต่อปี
มาในปี 2560 จำนวนคนที่ลงทะเบียนผ่านเกณฑ์ 11.4 ล้านคน รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ได้รับความช่วยเหลือ เช่น สินค้าจำเป็น 200 หรือ 300 บาทต่อเดือน ค่ารถ บขส. 500 บาทต่อเดือน ก๊าซหุงต้ม 45 บาทต่อ 3 เดือน ค่ารถไฟฟ้า รถเมล์ รถไฟฟ้า 500 บาทต่อเดือน และปี 2561 ลงทะเบียนเพิ่มอีก 3.1 ล้านคน ที่เน้นเก็บตกผู้สูงอายุ ผู้พิการ ป่วยติดเตียง ที่มีมาตรการช่วยเหลือ เช่น ค่าไฟฟ้า
...
ใครเป็นใครบ้างในโปรไฟล์กว่า 14 ล้านคน ที่ตอนนี้เป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่รัฐบาลมีอยู่ ลองมาดูกัน
จากข้อมูลกระทรวงการคลัง สรุปได้ดังนี้ มีผู้ลงทุนรวมแล้วประมาณ 14.5 ล้านคน เป็นชายประมาณ 6.26 ล้านคน หญิง 8.33 ล้านคน ช่วงอายุที่มีจำนวนมากที่สุดคือ 46-59 ปี จำนวน 4.35 ล้านคน ช่วงอายุที่มีจำนวนน้อยที่สุดคือ 80-89 ปี จำนวนประมาณ 607,000 คน
เมื่อพิจารณาในกลุ่มนี้ว่ามีงานหรือไม่มีงานทำ พบว่าเป็นคนว่างงาน 4.94 ล้านคน มีงานทำ 9.12 ล้านคน หากพิจารณาเรื่องรายได้ เป็นกลุ่มที่ไม่มีรายได้ 3.06 ล้านคน ที่เหลือมีรายได้ โดยกลุ่มที่มีรายได้ต่อปีกลุ่มใหญ่ที่สุดอยู่ที่ 5,001-10,000 บาท มี 2.61 ล้านคน กลุ่มที่มีรายได้ต่อปีน้อยที่สุด 1-5,000 บาท มี 1.15 ล้านคน ส่วนกลุ่มที่มีรายได้ต่อปีมากที่สุด 90,001-100,000 บาท มีจำนวนประมาณ 231,000 คน
สำหรับอาชีพของผู้ที่ลงทะเบียนนั้น กลุ่มที่มากที่สุดคือกลุ่มเกษตรกรปลูกพืช 4.05 ล้านคน รองลงมา คือกลุ่มรับจ้างอิสระ หรือประกอบธุรกิจส่วนตัว 3.24 ล้านคน ส่วนสภาพความเป็นอยู่นั้น จำนวนมากที่สุด คืออาศัยอยู่กับครอบครัวหรือผู้อื่น 6.99 ล้านคน รองลงมามีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง 6.18 ล้านคน
นี่คือส่วนหนึ่งของการช่วยเหลือในรูปแบบที่เรียกว่า การโอนเงินช่วยเหลือแบบไม่มีเงื่อนไข ขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งมีเงื่อนไขที่โดยนำมาสู่ระบบพัฒนาคุณภาพชีวิต ผ่านโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและอาชีพ ฝึกอาชีพ เพิ่มทักษะ ที่กระทรวงการคลังสรุปว่าช่วยคนพ้นจนแล้วกว่า 1 ล้านคน คือมีรายได้เกินปีละ 100,000 บาทแล้ว ทำให้เหลือฐานคนจนคือกลุ่มไม่มีรายได้ 3.01 ล้านคน กลุ่มมีรายได้ 1-30,000 บาท 7.7 ล้านคน และรายได้ 30,000-100,000 บาท 3.7 ล้านคน
แน่นอนว่าหลายคนหวังว่ารัฐบาลจะเคาะวันเวลาที่จะเปิดให้ลงทะเบียนรอบใหม่ แต่อีกด้านหนึ่งที่สำคัญกว่า ถือเป็นโจทย์ใหญ่ต้องเร่งหาคำตอบคือ วิธีการแก้จนอย่างถูกต้อง ไม่ใช่เพียงแค่การใช้งบประมาณกว่าแสนล้านบาทให้หมดไปเท่านั้น เพื่อให้คนไทยมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างมีคุณภาพแท้จริง
อ่านเพิ่มเติม รายงานพิเศษ "จนเงิน ไม่จนใจ อะไรคือทางแก้"
• นิยามความจนในสังคมไทย ทำไมรวยกระจุก จนกระจาย ยากเกินจะเยียวยา
• มุมมองแก้จน “กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ“ รัฐบาลต้องกล้าในสิ่งที่ควรทำ
• มองทัศนะ “มูฮัมหมัด ยูนุส” เจ้าของโนเบล ทำอย่างไรจึงแก้ปัญหาความจนได้?
• ยินดีต้อนรับสู่กับดักวงจร "หนี้" ออมน้อย รูดปรื๊ด จ่ายขั้นต่ำ ผ่อนน้านนาน
• จิตวิทยาล่อเหยื่อ ติดหนี้เกือบล้าน ทวงโหด รอดตาย หายจน เพราะ "พระ"
• จังหวัดยากจนที่สุด "แม่ฮ่องสอน" ที่มีความสุขอันดับ 1 ของประเทศ
...