เมื่อเร็วๆนี้โรงพยาบาลชิลีเปิดระบบการผ่าตัดที่เรียกว่า MARS พัฒนาโดยเลวิตา แม็กเนติกส์ (Levita Magnetics) บริษัทสตาร์ทอัพในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นระบบการผ่าตัดระดับปฏิวัติวงการ เนื่องจาก MARS จะควบคุมพลังของแม่เหล็กและเครื่องจักรในขั้นตอนการทำงานกับร่างกาย แบบที่บุกรุกร่างกายน้อยที่สุด และมีประสิทธิภาพสูง

มีรายงานว่า MARS ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดครั้งแรกที่โรงพยาบาล Luis Tisne ในกรุงซานติอาโก ชิลี โดยนำมาใช้ผ่าตัดนำถุงน้ำดีออก แพทย์ ผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพดังกล่าวอธิบายว่า หุ่นยนต์จะติดแม่เหล็กขนาดเล็กเข้ากับอวัยวะ เช่น ตับ และใช้แขนจักรกลที่มีแม่เหล็กกำลังสูงทำงานบนท้องของผู้ป่วยเพื่อควบคุมอวัยวะต่างๆอย่างแม่นยำ ระบบการทำงานของ MARS จะช่วยให้ศัลยแพทย์สามารถควบคุมกล้องได้ดีขึ้น ส่งผลให้การมองเห็นดีขึ้นและมีเสถียรภาพในระหว่างการผ่าตัด

...

ระบบการผ่าตัด MARS ของเลวิตา แม็กเนติกส์ ได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาในเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา และในเดือน ต.ค.ก็ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดครั้งแรกที่คลีฟแลนด์ คลินิก รัฐโอไฮโอ สหรัฐฯ ถือเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญในด้านการผ่าตัดที่มีการรุกรานร่างกายน้อยที่สุด คนไข้จะมีแผลน้อยลง เจ็บปวดน้อยลง และฟื้นตัวเร็วขึ้น.

อ่าน "คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ" ทั้งหมดที่นี่