องค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวเมื่อวันศุกร์ว่า ได้จัดให้แอสปาร์แตม ซึ่งเป็นสารให้ความหวานเทียมที่ใช้กันทั่วไปในน้ำอัดลม อยู่ในประเภทสารที่ "อาจก่อมะเร็งในมนุษย์" แม้ว่าระดับการบริโภคต่อวันที่ยอมรับได้จะไม่เปลี่ยนแปลง
ฟรานเชสโก บรันกา ผู้อำนวยการฝ่ายโภชนาการและความปลอดภัยด้านอาหารขององค์การอนามัยโลก กล่าวว่า "เราไม่ได้แนะนำให้บริษัทต่างๆ เลิกใช้ผลิตภัณฑ์ และไม่ได้แนะนำให้ผู้บริโภคหยุดบริโภคโดยสิ้นเชิง เราเพียงแนะนำให้มีการกลั่นกรองเล็กน้อยก่อนการบริโภค" ในงานแถลงข่าวเพื่อนำเสนอผลการค้นพบการตรวจสอบ 2 รายการที่เกี่ยวกับสารให้ความหวาน
องค์การระหว่างประเทศเพื่อการวิจัยโรคมะเร็ง (IARC) ของ WHO ได้ดำเนินการประเมินสารก่อมะเร็งของแอสปาร์แตมเป็นครั้งแรกในการประชุมที่เมืองลียง ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 6-13 มิถุนายน และกล่าวว่า "คณะทำงานจัดว่าสารให้ความหวานเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์"
แอสปาแตมถูกจัดอยู่ในกลุ่ม 2B ตามหลักฐานที่มีอยู่อย่างจำกัด ซึ่งเกี่ยวข้องกับมะเร็งเซลล์ตับ ซึ่งเป็นมะเร็งตับชนิดหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีหลักฐานจำกัดเกี่ยวกับมะเร็งในสัตว์ทดลอง
กลุ่ม 2B ยังรวมถึงสารสกัดจากว่านหางจระเข้และกรดคาเฟอีนที่พบในชาและกาแฟอีกด้วย นายพอล ฟาโรห์ ศาสตราจารย์ด้านระบาดวิทยามะเร็งที่ศูนย์การแพทย์ซีดาร์-ไซนาย ในนครลอสแอนเจลิสกล่าวว่า "คนทั่วไปไม่ควรกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงของมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีประเภท 2B"
แมรี ชูบาวเออร์-เบอริแกน จาก IARC กล่าวว่า หลักฐานที่จำกัดสำหรับมะเร็งเซลล์ตับ มาจากผลการศึกษา 3 เรื่องที่ดำเนินการในสหรัฐฯ และใน 10 ประเทศในยุโรป "นี่เป็นเพียงการศึกษาทางระบาดวิทยาที่ตรวจสอบมะเร็งตับ" และกล่าวเพิ่มเติมว่า "เราเคยตั้งข้อสังเกตเพื่อบ่งชี้ว่า เราจำเป็นต้องชี้แจงสถานการณ์ให้ชัดเจนกว่านี้" แต่ก็ไม่ใช่ "สิ่งที่เราสามารถยกเลิกได้"
...
คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญร่วมด้านวัตถุเจือปนอาหาร (JECFA) ซึ่งก่อตั้งโดย WHO และองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ร่วมประชุมกันที่นครเจนีวา ของสวิตเซอร์แลนด์ ตั้งแต่วันที่ 27 มิถุนายน ถึง 6 กรกฎาคม เพื่อประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับแอสปาร์แตม
ผลการหารือสรุปได้ว่า ข้อมูลที่ประเมินได้ระบุว่า ไม่มีเหตุผลที่จะเปลี่ยนแปลงปริมาณแอสปาร์แตมที่ยอมรับได้ต่อวัน (ADI) ซึ่งเผยแพร่ในปี 2524 ว่าควรอยู่ที่ 0 ถึง 40 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัม
น้ำอัดลมปราศจากน้ำตาล 1 กระป๋อง มักมีสารให้ความหวานแอสปาร์แตม 200 หรือ 300 มก. ดังนั้น ผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนัก 70 กก. จึงจำเป็นต้องบริโภคมากกว่า 9 ถึง 14 กระป๋องต่อวันเพื่อให้เกินค่า ADI หากไม่มีการบริโภคแอสปาร์แตมเพิ่มเติมจากแหล่งอื่น
แอสปาร์แตมเป็นสารให้ความหวานเคมีสังเคราะห์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มต่างๆ ตั้งแต่ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา พบในเครื่องดื่มลดน้ำหนัก หมากฝรั่ง เจลาติน ไอศกรีม ผลิตภัณฑ์จากนม เช่น โยเกิร์ต อาหารเช้าซีเรียล ยาสีฟัน ยาอมแก้ไอ และวิตามินแบบเคี้ยว
สมาคมสารให้ความหวานระหว่างประเทศกล่าวว่า การจำแนกกลุ่ม 2B ทำให้สารให้ความหวานอยู่ในประเภทเดียวกับกิมจิและผักดองอื่นๆ
ย้อนกลับไปในเดือนพฤษภาคม WHO กล่าวว่า สารให้ความหวานเทียมที่ใช้แทนน้ำตาลในผลิตภัณฑ์หลายประเภท ไม่ช่วยในการลดน้ำหนักและอาจส่งผลต่อสุขภาพอย่างร้ายแรง ขณะที่หน่วยงานด้านสุขภาพของสหประชาชาติ ออกแนวทางแนะนำไม่ให้ใช้สารให้ความหวานที่ไม่ใช่น้ำตาล.