วิถีแห่งชาของญี่ปุ่น พิธีกรรมในการชงมัจฉะและเสิร์ฟให้แขก โดยรูปแบบเต็มของพิธีดังกล่าว มีการเสิร์ฟอาหาร (ชาไคเซกิ) และชา (โคอิฉะ และอุซุฉะ) อีก 2 ครั้งใช้เวลาทั้งหมดราว 4 ชม. ในระหว่างพิธีชงชา ผู้ชงชาจะสร้างสรรค์โอกาสในการสร้างความเพลิดเพลินทางด้านสุนทรียภาพ ปัญญาประสาทสัมผัสทางร่างกาย รวมไปถึงความสงบทางด้านจิตใจแก่ผู้เข้าร่วมพิธี

พิธีเต็มรูปแบบ เริ่มต้นตั้งแต่แขกผู้เข้าร่วมพิธีมารวมกันในห้องรับรอง และเสิร์ฟน้ำร้อนที่จะใช้ในการชงชาให้กับแขกดื่ม จากนั้นแขกจะนั่งรอในสวนจนกระทั่งผู้ชงชามาต้อนรับ ผู้ชงชาจะโค้งเพื่อต้อนรับโดยไม่กล่าวอะไร แขกจะถูกเชิญไปยังบ่อน้ำเพื่อชำระล้างมือและปากให้สะอาด

ก่อนจะเข้าห้องพิธีชงชา โดยทางเข้าของห้องชงชานั้นถูกออกแบบเป็นช่องเตี้ยๆเพื่อให้ทุกคนก้มตัวลอดเข้าไป สะท้อนแนวคิดว่า ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน

แขกนั่งด้วยท่าคุกเข่าเซสะ (นั่งทับส้นเท้า) บนเสื่อทาทามิ ชื่นชมบรรยากาศแห่งสุนทรียภาพภายในห้องชงชา เช่น ม้วนภาพแขวนที่ประดับที่ชั้นมุมห้อง ซึ่งโดยปกติจะเป็นตัวอักษรที่ถูกเขียนโดยพระในนิกายเซน ผู้ชงชาทักทายแขก จากนั้นเติมถ่านลงในเตาไฟ และเสิร์ฟอาหารว่างตามฤดูกาล ตามด้วยขนมญี่ปุ่น เพื่อช่วยประทังความหิวระหว่างพิธี

จากนั้นแขกจะกลับไปรอที่สวน จนผู้ชงชาเรียกอีกครั้งเพื่อเสิร์ฟชา อุปกรณ์ในพิธี เช่น ฉะคิ (โถใส่ชา) ฉะชัคคุ (ช้อนตักชา) ซึ่งโดยทั่วไปทำด้วยไม้ไผ่ ส่วนปลายของช้อนตักที่มีลักษณะเหมือนไม้พาย ซึ่งแต่ละชิ้นทำขึ้นด้วยมือของอาจารย์สอนชงชาและเหล่าพระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงด้านการชงชาอย่างประณีต ฉะวัง (ถ้วยชา) วัสดุส่วนใหญ่ทำจากเซรามิก และ ฉะเซน (แปรงตีชา) ทำจากไม้ไผ่สำหรับคนชามัจฉะกับน้ำร้อน ขนาดจำนวนซี่แปรง รวมถึงสีแตกต่างไปตามสำนักสอนพิธีชงชา

...

ทั้งหมดถูกเช็ดเพื่อเป็นนัยสะท้อนถึงความบริสุทธิ์ จังหวะเคลื่อนไหวช่วยให้แขกมีสมาธิ ชาถูกเสิร์ฟให้แขกผลัดกันดื่มคนละคำจากถ้วยชาใบเดียวกันเพื่อแสดงถึงความเป็นหนึ่งเดียวกัน เมื่อช่วงการดื่มสิ้นสุดลง ผู้ชงชาจะเติมถ่านลงในเตาไฟอีกครั้ง และเริ่มสนทนากันที่จำกัดแต่เรื่องสุนทรียภาพการชงชา...