ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาได้มีการเปิดตัวการทดลองขนาดใหญ่เพื่อค้นหาหลุมดำขนาดเล็ก โดยเฉพาะการค้นพบหลุมดำในพื้นที่ที่เรียกว่าช่องว่างที่ก้ำกึ่งระหว่างสถานะหลุมดำกับดาวนิวตรอน (mass gap) ล่าสุด ทีมวิจัยนำโดยนักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโอไฮโอ สเตต ในสหรัฐอเมริกา เผยการค้นพบหลุมดำใกล้โลกของเรา แห่งใหม่ เชื่อว่าจะเป็นหลุมดำขนาดเล็กที่สุดเท่าในกาแล็กซี และเท่าที่เคยค้นพบใกล้โลกของเรา

นักดาราศาสตร์เผยพบดาวฤกษ์ส่องสว่างที่เรียกว่าดาวยักษ์แดงโคจรรอบหลุมดำ เป็นระบบดาวคู่ที่เรียกว่า V723 Mon นักดาราศาสตร์พบว่ามีบางอย่างกำลังดึงดาวยักษ์แดงทำให้มันเปลี่ยนรูปร่าง ผลกระทบจากการดึงดังเหมือนกับการบิดเบือนของกระแสน้ำ ซึ่งทำให้เห็นว่ามีสัญญาณบางอย่างส่งผลกระทบต่อดาวยักษ์แดง ทั้งนี้ หลุมดำที่เพิ่งค้นพบใหม่ได้รับการตั้งชื่อว่า “ยูนิคอร์น” ที่ชื่อนี้ก็เพราะระบบดาว V723 Mon นั้นอยู่ในกลุ่มดาวยูนิคอร์น (Monoceros) แถมยังเป็นระบบดาวที่ไม่เหมือนใคร หลุมดำมวลยูนิคอร์นมีมวลอยู่ในระดับเดียวกับดาวฤกษ์ โดยมีมวลประมาณ 3 เท่าของดวงอาทิตย์ และด้วยความหนาแน่นสูงเป็นพิเศษทำให้มีแรงดึงดูดที่แรงมากจนแสงไม่สามารถหลุดลอดไปได้ นอกจากนี้ หลุมดำยูนิคอร์นยังตกอยู่ในพื้นที่ของช่องว่างที่ก้ำกึ่งระหว่างสถานะหลุมดำกับดาวนิวตรอน

หลุมดำยูนิคอร์นอยู่ห่างโลกประมาณ 1,500 ปีแสง หรือราว 9,500,000 ล้านกิโลเมตร แม้จะอยู่ใกล้โลกก็จริงแต่ก็นับว่ายังห่างไกล เพราะหากเปรียบเทียบกันแล้ว ดวงดาวที่ใกล้ที่สุดกับระบบสุริยะของเราคือพร็อกซิมา เซนทอรี (Proxi-ma Centauri) อยู่ห่างเราออกไปแค่ 4 ปีแสง.