Credit : Gustafson et al., Scientific Reports,2019
ในการสำรวจครั้งใหม่ที่พื้นทะเลนอกชายฝั่งทางตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบสิ่งที่น่าประหลาดใจ นั่นคือชั้นหินอุ้มน้ำ (aquifer) ที่ขังน้ำจืดไว้ใต้มหาสมุทรที่มีความเค็ม ซึ่งดู เหมือนว่าจะใหญ่ที่สุดเท่าที่พบในโลกขณะนี้
นักวิทยาศาสตร์จากหอสังเกตการณ์สำรวจทรัพยากรโลก ลามอนต์ โดเฮอร์ตี เอิร์ธ แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย เผยว่า ชั้นหินอุ้มน้ำนี้ขยายตัวอย่างน้อยจากชายฝั่งรัฐแมสซาชูเสตต์ไปถึงรัฐนิวเจอร์ซีย์ในอเมริกา โดยขยายออกมากหรือน้อยอย่างต่อเนื่องประมาณกว่า 80 กิโลเมตรไปจนถึงขอบของไหล่ทวีป พวกเขาจึงใช้การตรวจวัดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อจัดทำแผนที่ชั้นหินอุ้มน้ำ ตามแผนที่สามารถอธิบายได้ว่าเส้นทึบสีเหลืองหรือสีขาวพร้อมสามเหลี่ยมนั้นแสดงถึงเส้นทางเดินเรือ ส่วนเส้นประสีขาวใกล้ชายฝั่งแสดงถึงขอบของแผ่นน้ำแข็งที่ละลายเมื่อประมาณ 15,000 ปีก่อน และยังพบว่าชั้นหินอุ้มน้ำมักจะอยู่ใกล้กับชายฝั่งมาก
ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์เผยว่า การวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่าชั้นหินอุ้มน้ำลักษณะดังกล่าว อาจมีอยู่นอกชายฝั่งอื่นๆอีกมากมายทั่วโลก และเป็นไปได้ที่จะกักขังน้ำจืดไว้ ซึ่งน้ำจืดเหล่านี้จะมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับพื้นที่อันแห้งแล้ง.