โฆษกสถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย ชี้แจงความก้าวหน้าความร่วมมือ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” หรือ “Belt and Road Initiative” (BRI)...โดยระบุจากกรณีการประชุมสุดยอดความร่วมมือระหว่างประเทศ
ว่าด้วย “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ครั้งที่ 2 จัดขึ้นในกรุงปักกิ่งระหว่างวันที่ 25 ถึง 27 เม.ย. ว่า นับตั้งแต่ความริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางเสนอขึ้นมาก็ได้รับความสนใจ และตอบรับในเชิงบวก ตลอดจนการสนับสนุนอย่างกว้างขวางจากสังคมโลก จนถึงขณะนี้จีนได้ลงนามในเอกสารความร่วมมือแบบทวิภาคีหรือพหุภาคีมากกว่า 170 ฉบับ กับมากกว่า 150 ประเทศและองค์การระหว่างประเทศ อาทิ มองโกเลีย รัสเซีย คาซัคสถาน กัมพูชา ลาว สาธารณรัฐเช็ก ฮังการี บรูไน
จีนได้เสนอ “ความริเริ่มผลักดันความร่วมมือส่งเสริมการค้าไร้รอยต่อหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ซึ่ง 83 ประเทศและองค์การระหว่างประเทศเข้าร่วมอย่างแข็งขัน จากปี 2556 ถึงปี 2561 บริษัทจีนลงทุนโดยตรงมากกว่า 90,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในประเทศต่างๆ ตามเส้นทางและทำโครงการเหมาก่อสร้างแล้วเสร็จตามสัญญาในประเทศต่างๆ กว่า 4 แสนล้านดอลลาร์
จีนได้จัดทำโครงการทุนรัฐบาลจีน “เส้นทางสายไหม” และลงนามในข้อตกลงการรับรองวุฒิการศึกษาระดับอุดมศึกษากับ 24 ประเทศ จีนลงนามในข้อตกลงความร่วมมือด้านกำลังการผลิตกับ 40 กว่าประเทศและลงนามในเอกสารความร่วมมือด้านการพัฒนาตลาดที่สามกับฝรั่งเศส อิตาลี สเปน ญี่ปุ่น และโปรตุเกส
ด้วยความคิดริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” คาซัคสถานซึ่งเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลที่ใหญ่ที่สุดในโลกมีเส้นทางออกทะเลเป็นครั้งแรก เบลารุสมีอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์เป็นของตัวเองเป็นครั้งแรก มัลดีฟส์ได้ทำให้ความฝันที่มีสะพานกลายเป็นจริง หลังจากเปิดดำเนินโครงการพลังงานหลายโครงการ ปัญหาการขาดแคลนพลังงานของปากีสถานได้รับการปรับปรุงอย่างมีนัยสำคัญ
...
และรถไฟจีน-ลาว จะเปลี่ยน สปป.ลาว จาก “ประเทศถูกปิดล้อม” เป็น “ประเทศเชื่อมโยงทางบก” ข้อเท็จจริงเหล่านี้พิสูจน์ให้เห็นว่าโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางได้สร้างคุณูปการใหญ่หลวงต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน
อย่างไรก็ตาม มีสื่อบางสื่อเล่นวาทกรรม “กับดักหนี้สิน” ของจีนอยู่เสมอ ในประเด็นนี้
ข้อเท็จจริงและตัวเลขเป็นข้อโต้แย้งที่ดีที่สุด ซึ่งจะชี้แจงให้ทราบในตอนต่อไป.