'การบินไทย'ส่อกระเป๋าแห้ง วอนรัฐอัดเงินกู้วิกฤติ เสนอผ่าตัดองค์กรด่วน

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

'การบินไทย'ส่อกระเป๋าแห้ง วอนรัฐอัดเงินกู้วิกฤติ เสนอผ่าตัดองค์กรด่วน

Date Time: 16 เม.ย. 2563 09:42 น.

Video

บรรยง พงษ์พานิช แกะปมเศรษฐกิจไทยโตต่ำ ฟื้นช้า พร้อมแนะทางออก

Summary

  • 'การบินไทย' ระส่ำหนัก คาดจ่ายเงินเดือนพนักงานได้แค่สิ้นเดือนเมษายนนี้ วอนรัฐอัดเงิน 7 หมื่นล้านบาทกู้วิกฤต. หากปล่อยยืดเยื้อถมเพิ่มไม่สิ้นสุด พร้อมเสนอเล็งผ่าตัดใหญ่ลดไซส์ขนาดองค์กร

Latest


'การบินไทย' ระส่ำหนัก คาดจ่ายเงินเดือนพนักงานได้แค่สิ้นเดือนเมษายนนี้ วอนรัฐอัดเงิน 7 หมื่นล้านบาทกู้วิกฤติ หากปล่อยยืดเยื้อถมเพิ่มไม่สิ้นสุด พร้อมเสนอเล็งผ่าตัดใหญ่ลดไซส์ขนาดองค์กร ทั้งพนักงาน-ส่วนงานไม่สร้างรายได้ เลวร้ายสุดลดสัดส่วนความเป็นรัฐวิสาหกิจลงเหลือเพียง บมจ.ให้มืออาชีพเข้ามาบริหารแทน ด้าน 'สมคิด' เรียกผู้ที่เกี่ยวข้องประชุมหารืออุ้มการบินไทยด่วน!

ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงคมนาคมว่า เมื่อวันที่ 14 เม.ย.63 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ได้มีการประชุมหารือร่วมกับนายถาวร เสนเนียม รมช.คมนาคม นายจักรกฤศฎิ์ พาราพันธกุล รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) และผู้บริหารการบินไทย ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ การบินไทย และตัวแทนพนักงานในส่วนงานต่างๆ ของการบิน ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับแผนฟื้นฟูกิจการ บริษัทการบินไทย จำกัด(มหาชน) ซึ่งการหารือดังกล่าวยังไม่ได้ข้อยุติแต่อย่างใด

โดยนายศักดิ์สยาม ยังได้มีการเปิดเผยภายหลังว่า ได้สั่งการให้ฝ่ายบริหารการบินไทย กลับไปหารือร่วมกับ สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ การบินไทย และพนักงานการบินไทยในส่วนงานต่างๆ ในทุกแผนก เพื่อให้การจัดทำแผนรายละเอียดของการปรับปรุง ฟื้นฟูกิจการให้มี ทิศทางในการดำเนินงานที่ชัดเจนกว่านี้ และให้ส่งแผนฟื้นฟูที่ปรับปรุงกลับมาเสนอกระทรวงคมนาคม ภายใน 2 สัปดาห์

ทั้งนี้ ในที่ประชุมเพื่อหาแนวทางฟื้นฟูการบินไทยนั้น ทางฝ่ายบริหารการบินไทยได้มีการเสนอแนวทางรอดของการบินไทย โดยเสนอให้กระทรวงการคลัง และกระทรวงคมนาคม อนุมัติให้การบินไทยกู้เงิน 70,000 ล้านบาท โดยมีกระทรวงการคลังค้ำประกัน ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าว เพื่อนำมาบริหารจัดการและฟื้นฟูการบินไทย แต่บนพื้นฐานที่ว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จะต้องจบลงภายในเดือน ต.ค.63 นี้ และการบินไทยสามารถมาทำการบินใหม่ รวมถึงมีการปรับองค์กรใหม่ แต่หากสถานการณ์ล่วงไปกว่านั้นจำนวนเงินที่ต้องใช้ก็จะมากขึ้นกว่านี้

ขณะเดียวกันทางฝ่ายบริหารการบินไทยได้มีการแจ้งในที่ประชุมด้วยว่า ในส่วนของสถานะการเงินของการบินไทยขณะนี้มีเงินสดที่สามารถหมุนเวียนบริหารจัดการตลอดปี 63 มีอยู่ 10,000-12,000 ล้านบาท โดยจะเป็นเงินส่วนหนึ่งที่จะสามารถนำมาจ่ายเงินเดือนพนักงานได้แค่ภายในเดือน สิ้นเดือน เม.ย.63 นี้เท่านั้น ส่วนที่เหลือจะเป็นการจ่ายให้กับเจ้าหนี้ที่การบินไทยมีอยู่ ดังนั้นการบินไทยจึงมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่จะให้กระทรวงคมนาคม และกระทรวงการคลังในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่อนุมัติแผนการกู้เงินเพื่อมาบริหารจัดการในการบินไทยโดยเร็ว

ทั้งนี้ แหล่งข่าวในอุตสาหกรรมการบินระบุว่า แนวทางการฟื้นฟูการบินไทยนั้น เบื้องต้นแบ่งออกเป็น 3-4 ประเด็น ซึ่งจะเป็นทางออก ที่รัฐบาลจะต้องตัดสินใจ โดยประเด็นแรกเรื่องการจัดหาผู้ร่วมทุนเข้ามาลงทุนซื้อหุ้นการบินไทย ซึ่งอาจเป็นบริษัท Corporate ที่มีสภาพคล่องเพียงพอ ซึ่งตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมามีข่าวลือออกมาเป็นระยะๆ ทั้งรายชื่อของรัฐวิสาหกิจด้านพลังงาน และบริษัทยักษ์ใหญ่ชั้นนำของประเทศ แต่บริษัทเหล่านี้ต่างตบเท้าออกมาปฏิเสธ โดยต้องยอมรับว่าแนวทางแก้ปัญหาดังกล่าว อาจเป็นไปได้ยากในยุคที่อุตสาหกรรมการบินซึ่งได้รับผลกระทบจากไวรัส COVID-19 และยังไม่เห็นทิศทางว่า สถานการณ์จะจบลงเมื่อใด รวมถึงสภาพโครงสร้างของการบินไทยในปัจจุบัน ซึ่งเป็นองค์กรขนาดใหญ่ มีค่าใช้จ่ายผูกพันจำนวนมาก หากที่มาของแหล่งรายได้ชะงักลง ก็จะเกิดความไม่สมดุลระหว่างรายรับกับรายจ่ายทันที

ส่วนประเด็นที่ 2 ที่จะมีการจัดหาแหล่งเงินกู้เข้ามาเสริมสภาพคล่องให้การบินไทย วงเงิน ตั้งแต่ 50,000 ถึง 70,000 ล้านบาท โดยกระทรวงการคลัง ต้องค้ำประกันเงินกู้ดังกล่าว แนวทางในการแก้ไขปัญหานี้ต้องยอมรับว่าเป็นไปได้ยาก เพราะการจัดหาเงินกู้ให้รัฐวิสาหกิจที่ 1 แห่งในวงเงินสูงขนาดนั้น รัฐบาลจะต้องโดนแรงกดดันจากทุกภาคส่วนแน่นอน ในสถานการณ์ที่รัฐบาลอยู่ระหว่างการแก้ไขปัญหาเยียวยาประชาชนจากผลกระทบไวรัส COVID-19 และอยู่ระหว่างการออก พ.ร.ก.กู้เงิน ฯ 1.9 ล้านล้านบาท ชึ่งบุคคลสำคัญในรัฐบาลโดยเฉพาะกระทรวงการคลังก็ยอมรับว่าจะต้องใช้เวลาในการดำเนินการตาม พ.ร.ก.กู้เงินฯนี้ 1-2 เดือน และก็มีเรื่องเร่งด่วน ในเรื่องของการจ่ายเงินเยียวยาให้แก่ประชาชนคนละ 5,000 บาทเป็นระยะเวลานาน 3 เดือน ผูกพันอยู่

ล่าสุด มีรายงานข่าวระบุถึงแนวทางแก้ไขปัญหาการบินไทย ซึ่งกระทรวงคมนาคมเองเห็นว่า มีความเป็นไปได้มากที่สุด ที่จะฟื้นฟูการบินไทยให้สามารถเดินหน้าต่อไปได้นั้น การบินไทยจะต้องยอมที่จะมีการปรับขนาดองค์กรให้เล็กลง ส่วนงานไหนที่ไม่สร้างรายได้จะต้องยอมปรับลด หรือยุบทิ้ง ส่วนจำนวนพนักงานหากมีบุคคลากรมากกว่าเนื้องานที่รับผิดชอบก็จะต้องปรับลดลง ซึ่งจะต้องไปหาแนวทางที่เหมาะสมและถูกต้องตามกฎหมาย ขณะเดียวกันในส่วนสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่มีก็ต้องปรับ หรือ ตัดออกไป เพราะในภาวะวิกฤติเช่นนี้ทุกคนต้องรักองค์กรที่จะให้องค์กรอยู่ได้ ต้องไม่คำนึงถึงแค่ว่า ตัวเองจะต้องอยู่ได้โดยไม่เสียสละเพื่อองค์กร

รวมทั้งที่ผ่านมา มีหลายฝ่ายวิเคราะห์ตรงกัน ถึงปัจจัยที่จะทำให้การบินไทยอยู่ได้จริงและเดินหน้าต่อไปได้ คือควรที่จะลดสัดส่วนของผู้ถือหุ้นใหญ่ (กระทรวงการคลัง) ลง หรือลดสถานะความเป็นเจ้าของ ของภาครัฐ ตัดจากการเป็นรัฐวิสาหกิจ เหลือเป็นเพียง บริษัท จำกัด(มหาชน)(บมจ.) มีนักลงทุนเข้ามาลงทุน ซื้อหุ้น โดยไม่ต้องมีรัฐค้ำประกันแบบทุกวันนี้ ซึ่งนั่นหมายความว่า ผู้ที่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ซึ่งเป็นนักลงทุนจะสามารถเข้ามาลงทุน บริหารจัดการได้อย่างเต็มที่

ผู้สื่อข่าวรายงานต่อว่า อย่างไรก็ตามในเช้าวันนี้(16 เม.ย.) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้เรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวของประชุม เรื่อง แผนฟื้นฟูการบินไทย ด่วนที่กระทรวงการคลัง โดยมี นายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง, นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม, ปลัดกระทรวงการคลัง, รองปลัดกระทรวงการคลัง และทีมผู้บริหารการบินไทย ร่วมประชุมร่วมกันที่กระทรวงการคลังด้วย


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ