พ้นไตรมาส 1ปี62 สงครามอีคอมเมิร์ซอาเซียน Lazada และ Shopee แข่งกันสูสี

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

พ้นไตรมาส 1ปี62 สงครามอีคอมเมิร์ซอาเซียน Lazada และ Shopee แข่งกันสูสี

Date Time: 12 มิ.ย. 2562 11:03 น.

Video

บรรยง พงษ์พานิช แกะปมเศรษฐกิจไทยโตต่ำ ฟื้นช้า พร้อมแนะทางออก

Summary

  • iPrice เผยรายงานสำรวจตลาดอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลังผ่านไตรมาสแรก ปี 2019 ยังคงร้อนแรงแข่งกันดุเดือดระหว่าง Lazada และ Shopee ขณะที่ Tokopedia ยึดเบอร์ 1 ตลาดอินโดฯ เหนียวแน่น

Latest


iPrice เผยรายงานสำรวจตลาดอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลังผ่านไตรมาสแรก ปี 2019 ยังคงร้อนแรงแข่งกันดุเดือดระหว่าง Lazada และ Shopee ขณะที่ Tokopedia ยึดตลาดอินโดฯ แน่น

ผ่านไปอีกหนึ่งไตรมาสสำหรับสงครามอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) ที่ดูจะร้อนระอุขึ้นในแต่ละวัน ไม่ว่าจะเป็นร้านค้าอีคอมเมิร์ซหน้าใหม่ที่เกิดขึ้นเรื่อยๆ แถมยังมาพร้อมกับกลยุทธ์เด็ดมากมายสมกับที่แอบจับตามองร้านค้ารุ่นพี่มาเป็นเวลานาน เรียกได้ว่างานนี้ใครไม่เจ๋งจริง จับลูกค้าไม่อยู่หมัด ก็เตรียมรอรุ่นน้องเสียบได้เลย และก็เช่นเดิมที่ทุกๆ ไตรมาส iPrice แหล่งช็อปปิ้งเปรียบเทียบราคาสินค้าออนไลน์จะอัพเดตข้อมูล Map of E-commerce ที่แสดงให้เห็นความขาขึ้น-ลงของบรรดาร้านค้าอีคอมเมิร์ซในภูมิภาค พร้อมเจาะลึกสงครามอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยให้เห็นกันแบบถึงพริกถึงขิง

ที่เด็ดไปกว่านั้นไตรมาสนี้ ทาง iPrice ยังได้ผนึกกำลังกับ AppAnnie บริษัทวิจัยตลาดแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนเพื่อเผยข้อมูล 10 อันดับแอปพลิเคชันสายช็อปปิ้งที่มีจำนวนผู้ใช้บริการรายเดือนมากที่สุดใน 6 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, เวียดนาม, สิงคโปร์ และไทย ถือเป็นข้อมูลใหม่ที่มีนัยแฝงว่า ที่จริงแล้วร้านค้าไหนกันแน่ที่เจาะตลาดผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนได้อยู่หมัดในแต่ละประเทศ เสริมทับด้วยข้อมูลและไฮไลต์ที่สำคัญอีกมากมาย ดังนี้


Lazada และ Shopee ครองตำแหน่งร้านค้าที่มีจำนวนผู้เข้าชมสินค้ามากที่สุดใน SEA จริงหรือ?

ถ้าจะให้กล่าวถึงร้านค้าอีคอมเมิร์ซที่ได้รับความนิยมมากๆ ก็คงมีไม่กี่ชื่อที่ผุดขึ้นมาในหัวนักช็อป ส่วนใหญ่ไม่ Lazada ก็ Shopee แต่ก็ใช่ว่าทั้งสองร้านค้านี้จะได้รับความนิยมจากมหาชนไปทั้งภูมิภาคไปเสียทีเดียว เพราะยังมีบางประเทศที่ร้านค้าเจ้าถิ่นยังคงเป็นแชมป์อยู่ เช่น อินโดนีเซียที่ Tokopedia ครองอันดับแพลตฟอร์มที่มีผู้เข้าชมสินค้ามากที่สุด รองลงมาคือ Bukalapak แล้วถึงจะตามมาด้วย Shopee ตบท้ายด้วย Lazada ต่อมาคือเวียดนามที่ Shopee ขึ้นแท่นอันดับหนึ่ง ตามด้วย Tiki ร้านค้าเจ้าถิ่น แล้วถึงปิดท้ายด้วย Lazada เป็นอันดับที่สาม (ครองอันดับนี้มาตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปี 2018 ซึ่งก่อนหน้านั้นจะอยู่อันดับที่ 1) สุดท้ายคือประเทศสิงคโปร์ที่ Qoo10 ครองบัลลังก์อันดับที่ 1 ในแบบที่ใครก็โค่นบัลลังก์ไม่ลง แล้วถึงจะตามมาด้วย Lazada และ Shopee

ใครกันแน่คือผู้ครองบัลลังก์ทางด้านแอปพลิเคชันอย่างแท้จริง?

ยุคสมัยนี้นอกจากการวัดความฮอตของธุรกิจจากจำนวนผู้เข้าชมสินค้าทางเว็บไซต์แล้ว อันดับการใช้งานทางแอปฯ ก็ดูจะเป็นประเด็นที่ปล่อยวางไม่ได้ อันดับความนิยมของแอปฯ นั้นมีแหล่งที่มา 2 ช่องทางด้วยกัน คือ จาก App Store และ Play Store ซึ่งดูเหมือนในไตรมาสนี้ Shopee จะนำโด่งโดยการครองอันดับที่ 1 ถึง 5 จาก 6 ประเทศด้วยกันทาง App Store (ได้แก่ อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, ไทย และเวียดนาม) ในขณะที่ Lazada ได้อันดับที่ 1 จากตลาดสิงคโปร์เท่านั้น และทางด้าน Play Store ร้าน Shopee ยังได้ครองอันดับที่ 1 ถึง 4 จาก 6 ประเทศ (ได้แก่ อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม) โดย Lazada จะได้ส่วนแบ่งอันดับแรก ที่ 2 จาก 6 ประเทศ (ได้แก่ ไทย และสิงคโปร์)

จากภาพรวมจะเห็นว่า แม้ส่วนใหญ่ Lazada และ Shopee จะผลัดกันครองอันดับที่ 1-2 แต่ในตลาดอินโดนีเซียเห็นจะมี Tokopedia และ Bukalapak ร้านค้าเจ้าถิ่นที่คอยเลื่อยขาเก้าอี้อยู่ รวมไปถึงตลาดเวียดนามที่ Tiki ร้านค้าเจ้าถิ่นดูจะไม่ยอมให้ใครแย่งอันดับที่สองและพร้อมที่จะขึ้นแท่นครองบัลลังก์ในทุกขณะ (App Store) งานนี้เรียกได้ว่าถ้าใครพลาดอาจโดนแย่งตำแหน่งได้ง่ายๆ เลยทีเดียว

10 อันดับแอปพลิเคชันสายช็อปปิ้งมีจำนวนผู้ใช้บริการรายเดือนมากที่สุดใน SEA


มาถึงไฮไลต์เด็ดที่ทาง iPrice ได้จับมือกับ AppAnnie ในไตรมาสนี้เพื่อเผยการจัดอันดับแอปพลิเคชันสายช็อปปิ้งที่มีผู้ใช้บริการรายเดือนสูงสุดใน SEA ทั้งจาก Play Store และ App Store กันบ้าง จากการจัด 10 อันดับแอปฯ ฮอตในแต่ละประเทศจะเห็นว่า ถ้าวัดจากจำนวนผู้ใช้บริการแอปฯ มากที่สุดในแต่ละเดือน จะเห็นว่า Lazada นำ Shopee มากกว่าที่ 4:1 ประเทศจาก 6 ประเทศ มีเพียงอินโดนีเซียเท่านั้นที่ Tokopedia ขึ้นแท่นเป็นอันดับที่หนึ่ง ดัน Shopee ลงไปอยู่อันดับที่สอง คั่นด้วย Bukalapak ร้านค้าเจ้าถิ่นอีกหนึ่งร้าน และถึงจะตามด้วย Lazada เป็นอันดับที่สี่

ทางด้านการแข่งขันในตลาดสิงคโปร์ก็ดูน่าสนใจ เพราะ Lazada ดัน Qoo10 ซึ่งคว้าตำแหน่งร้านค้าที่ผู้เข้าชมสินค้ามากที่สุดลงไปอยู่อันดับที่สอง ตามมาดู Shopee อันดับสาม และ Taobao ร้านค้าเชื้อสายจีนมาเป็นอันดับที่สี่


สำหรับประเทศไทยดูจะมีข้อมูลที่น่าจับตามองกว่าประเทศอื่น แม้ข้อมูลจะดูธรรมดาสำหรับอันดับที่ 1-3 แต่อันดับที่ 4 กลับตกไปอยู่ที่ JD Central ร้านค้าอีคอมเมิร์ซที่เพิ่งเข้าร่วมสังเวียนได้ไม่ถึง 1 ปี และอันดับ 10 คือ Joom ร้านค้าอีคอมเมิร์ซที่เชื่อว่าชาวไทยน้อยคนนักจะรู้จัก แต่กลับมียอดผู้ใช้บริการติดอันดับ 1 ใน 10 ได้ มีจุดเด่นคือการจัดส่งฟรี และรับประกันการจัดส่งในแบบที่ถ้าสินค้าเสียหายก็ขอเงินคืนได้เลย ดูจะเป็นอีกหนึ่งผู้เล่นที่ประมาทไม่ได้เลยในตลาดอีคอมเมิร์ซไทย ร้านค้าเจ้าถิ่นและรุ่นพี่ทั้งหลายคงต้องระวังการเสียอันดับให้ดี.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ