"สิงห์" หนีสงครามน้ำดื่มแข่งเดือด

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

"สิงห์" หนีสงครามน้ำดื่มแข่งเดือด

Date Time: 3 ม.ค. 2561 06:01 น.

Summary

  • นายธิติพร ธรรมาภิมุขกุล ผู้อำนวยการกลุ่มการตลาด ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม บริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด เปิดเผยว่า ตลาดน้ำดื่มยังแข่งขันรุนแรง เพราะตลาดเครื่องดื่มปี 60 นั้น น้ำดื่มเป็นเพียงกลุ่มเดียวที่มีอัตราการเติบโต

Latest

ธุรกิจสายมู โตไม่หยุด ฉุดไม่อยู่

นายธิติพร ธรรมาภิมุขกุล ผู้อำนวยการกลุ่มการตลาด ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม บริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด เปิดเผยว่า ตลาดน้ำดื่มยังแข่งขันรุนแรง เพราะตลาดเครื่องดื่มปี 60 นั้น น้ำดื่มเป็นเพียงกลุ่มเดียวที่มีอัตราการเติบโต ขณะที่ตลาดเครื่องดื่มอื่นหดตัวลงเกือบทุกตลาด ซึ่งในส่วนของน้ำดื่มสิงห์ทุกบรรจุภัณฑ์ มีอัตราการเติบโตในทิศทางเดียวกับตลาด โดยขวดเพ็ท (PET) และขวดแก้วโต 10% มีส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ 21% “ช่วง 4-5 ปีก่อน น้ำดื่มสิงห์เคยมีส่วนแบ่งตลาด 27% ปี 59 ลดลงมาอยู่ที่ 22% และปัจจุบันมีสัดส่วนลดลงต่อเนื่อง เป็นผลจากคู่แข่งหลักในตลาดหันมารุกทำตลาดเข้มข้นขึ้น โดยเฉพาะใช้กลยุทธ์ด้านราคาในช่องทางห้างค้าปลีกสมัยใหม่ หรือโมเดิร์นเทรด ขณะที่บริษัทไม่มีนโยบายเล่นเรื่องราคาและไม่ทำโปรโมชั่นลด แลก แจก แถม มากจนเกินไป จนทำให้ธุรกิจเสียผลกำไรเกินความจำเป็น แต่จะเลือกเจาะช่องทางอื่นๆที่ยังมีศักยภาพหรือเป็นบลูโอเชียนเพิ่มขึ้น”

นายธิติพรกล่าวต่อว่า ขณะนี้ช่องทางจำหน่ายน้ำดื่มสิงห์ แบ่งเป็นร้านค้าดั้งเดิม 50% ห้างค้าปลีกสมัยใหม่ 50% ขณะที่ปี 61 บริษัทมีเป้าหมายผลักดันยอดขายไปอยู่ในช่องทางร้านค้าดั้งเดิมเพิ่มเป็น 55% โดยเฉพาะช่องทางพิเศษ ได้แก่ โรงเรียน โรงพยาบาล สนามฟุตบอล นิคมอุตสาหกรรม ร้านอาหาร ผ่านการทำตลาดร่วมกัน (co-brand) เป็นต้น โดยใช้เครือข่ายตัวแทนจำหน่ายที่แข็งแกร่งกว่า 200 รายทั่วประเทศ ในการเข้าไปบุกช่องทางนี้เพิ่ม “ปีหน้าจะผลักดันช่องทางร้านค้าดั้งเดิม เพราะไม่อยากแข่งราคาในห้างค้าปลีกสมัยใหม่ พร้อมลุยขยายฐานลูกค้ากลุ่มคนรุ่นใหม่ จากเดิมที่ภาพลักษณ์เป็นกลุ่มครอบครัว”

สำหรับภาพรวมตลาดน้ำดื่มบรรจุขวดปี 60 มีมูลค่า 43,000 ล้านบาท แบ่งตามบรรจุภัณฑ์เป็นน้ำดื่มขวด PET 90% โต 11.5% ขวดแก้ว 10% สิงห์มีส่วนแบ่งตลาดแบบขวด PET 20% แบบขวดแก้วมีส่วนแบ่งตลาด 45.2% คาดว่าปี 61 ตลาดจะมีมูลค่าแตะ 50,000 ล้านบาท.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ