ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ 2 หมื่น ไม่ประสงค์ส่งข้อมูล แจ้งธนาคาร 7-14 พ.ค

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ 2 หมื่น ไม่ประสงค์ส่งข้อมูล แจ้งธนาคาร 7-14 พ.ค

Date Time: 3 พ.ค. 2562 15:21 น.

Video

ลายเส้นสะท้อนตัวตนเบียร์ “The Brewing Project“ | BrandStory Special EP x เมรัยไทยแลนด์

Summary

  • จบดราม่า ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ 2 หมื่นบาท กรมสรรพากร เผย ผู้ไม่ประสงค์ส่งข้อมูลให้กรมฯ ต้องแจ้งต่อธนาคารภายใน 7-14 พ.ค. ธนาคารจะส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรภายใน 20 พ.ค.นี้

Latest


จบดราม่า ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ 2 หมื่นบาท กรมสรรพากร เผย ผู้ไม่ประสงค์ส่งข้อมูลให้กรมฯ ต้องแจ้งต่อธนาคารภายใน 7-14 พ.ค. ธนาคารจะส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรภายใน 20 พ.ค.นี้  

วันที่ 3 พ.ค.2562 นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า หลังจากกรมสรรพากรได้หารือร่วมกันกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สมาคมธนาคารไทย และสมาคมธนาคารนานาชาติ เมื่อวันที่ 25 เม.ย.ที่ผ่านมา เรื่อง การกำหนดแนวทางการส่งข้อมูลดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ ให้แก่กรมฯ มติในที่ประชุมเห็นพ้องว่า เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ฝากเงินบัญชีออมทรัพย์ส่วนใหญ่ทั่วประเทศ ให้ได้รับสิทธิยกเว้นภาษี ธนาคารจะนำส่งข้อมูลดอกเบี้ยแก่กรมฯ ทั้งหมด แต่หากผู้ฝากเงินไม่ประสงค์จะได้รับยกเว้นภาษีจะต้องแจ้งแก่ธนาคารผู้จ่ายดอกเบี้ยไม่ให้นำส่งข้อมูล ซึ่งธนาคารจะหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายจากดอกเบี้ยในอัตรา 15% 

อย่างไรก็ตาม ธนาคารฯ จะต้องส่งข้อมูลให้กรมฯ ตรวจสอบดอกเบี้ยบัญชีออมทรัพย์จากทุกธนาคาร ภายในวันที่ 20 พ.ค.2562 โดยกรมฯ จะตรวจสอบให้แล้วเสร็จภายใน 7 วัน ก่อนจะส่งข้อมูลกลับไปยังธนาคารเจ้าของบัญชีเงินฝาก ให้เรียกเก็บดอกเบี้ยออมทรัพย์ หากรวมทุกธนาคารแล้วเกิน 20,000 บาทต่อปี

นอกจากนี้กรมฯ กำลังอยู่ระหว่างปรับปรุงประกาศแก้ไขประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ฉบับที่ 344 ลงวันที่ 4 เม.ย.2562 เรื่องการเก็บภาษีดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ 20,000 บาทต่อปี ให้ผู้ที่ประสงค์ส่งข้อมูลให้กรมให้มาแจ้งกับธนาคาร แทนประกาศเดิมที่ทุกคนต้องมาลงนามยินยอมให้กรมฯ ส่งข้อมูลให้กรมฯ ไม่งั้นจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ตั้งแต่บาทแรก

อย่างไรก็ตาม เดิมก่อนมีประกาศการเก็บภาษีจากดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์นั้น ธนาคารจะมีการส่งข้อมูลให้กรมฯ ในรูปแบบกระดาษในแต่ละพื้นที่ ซึ่งทำให้ต้นทุนการบริหารจัดการสูงมาก รวมทั้งเจ้าของบัญชีก็เป็นผู้เสียประโยชน์ เพราะจะต้องนำเอาดอกเบี้ยไปรวมคำนวณกับรายได้ช่วงสิ้นปี ซึ่งทำให้อัตราเสียภาษีเพิ่มขึ้น

“ไม่รู้จะกลัวกรมสรรพากรรู้ข้อมูลทำไม เพราะต่อให้ไม่มีข้อมูลดอกเบี้ยออมทรัพย์ ผมก็มีข้อมูลอื่นอีกเยอะ และไม่ต้องกลัว เพราะข้อมูลที่ธนาคารส่งให้กรมฯ เป็นข้อมูลเฉพาะดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์เท่านั้น และผมคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสิทธิประโยชน์ของเจ้าของบัญชีเอง ไม่เกี่ยวกับการหารายได้เข้ากรมฯ แต่เป็นการเปลี่ยนข้อมูลจากกระดาษมาส่งทางอิเล็กทรอนิกส์แทน ซึ่งทำให้กรมฯ ลดต้นทุนกระดาษ ธนาคารก็มีความสะดวก เจ้าของบัญชีก็ไม่ต้องกลัวลืมแจ้งธนาคารหากต้องเสียดอกเบี้ย”

ด้านนายปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า สำหรับลูกค้าที่ไม่ประสงค์จะใช้สิทธิ และไม่ต้องการให้ธนาคารผู้จ่ายดอกเบี้ยนำส่งข้อมูลดอกเบี้ยให้กรมสรรพากรต้องกรอกแบบฟอร์มเพื่อแจ้งความประสงค์ที่ธนาคารผู้จ่ายดอกเบี้ยที่ลูกค้ามีบัญชีให้ครบทุกธนาคารตั้งแต่วันที่ 7-14 พ.ค. 2562 เป็นต้นไป โดยการแจ้งครั้งเดียวจะมีผลตลอดไปจนกว่าลูกค้าจะแจ้งเปลี่ยนแปลงเป็นอื่น ทั้งนี้ ลูกค้าที่มาแจ้งภายในวันที่ 14 พ.ค. 2562 จะมีผลตั้งแต่รอบภาษีดอกเบี้ยจ่ายครึ่งปีแรกในเดือน มิ.ย.เป็นต้นไป.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ