เทคโนโลยีทะเลทรายแก้ภัยแล้ง

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

เทคโนโลยีทะเลทรายแก้ภัยแล้ง

Date Time: 26 พ.ค. 2560 06:15 น.

Summary

  • พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับนายชีมอน โรเด็ด เอกอัครราชทูตรัฐอิสราเอล ประจำประเทศไทย ว่า การหารือร่วมกันในครั้งนี้ เพื่อผลักดันให้เกิดการลงนามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการเกษตร

Latest

ภารกิจผู้ว่าฯ รฟท.คนใหม่ แก้หนี้ 2.3 แสนล้าน สร้างรถไฟทางคู่ 6 เส้นทาง

พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับนายชีมอน โรเด็ด เอกอัครราชทูตรัฐอิสราเอล ประจำประเทศไทย ว่า การหารือร่วมกันในครั้งนี้ เพื่อผลักดันให้เกิดการลงนามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการเกษตรระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทย และกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทของอิสราเอล ที่ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกัน คาดว่าจะลงนามในช่วงเดือน ก.ค.นี้ ซึ่งเป็นกรอบความร่วมมือ ด้านการเกษตรกรอบแรกที่ทั้งสองฝ่ายมีร่วมกันภายใต้กรอบความร่วมมือครอบคลุมในทุกสาขาด้านการเกษตร อาทิ พัฒนาการเกษตรทั้งพืช ปศุสัตว์ และประมง พัฒนาด้านสหกรณ์และองค์กรภาคการเกษตร เปลี่ยนแปลงสภาพทางภูมิอากาศในภาคการเกษตรและการแปรสภาพเป็นทะเลทราย รวมถึงการพัฒนาด้านชลประทานที่ดินและบริหารจัดการน้ำ

สำหรับโครงการแปลงสาธิตการเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงจากอิสราเอลภายใต้กรอบความร่วมมือนี้ ฝ่ายไทยเตรียมเสนอ “โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเกษตรและการใช้น้ำในพื้นที่ชลประทานอ่างเก็บน้ำห้วยประดู่ โครงการชลประทานมหาสารคาม จ.มหาสารคาม” ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ประสบปัญหาดินเค็ม ดินทรายจัด และดินปนกรวด หากเกิดภาวะภัยแล้งและฝนทิ้งช่วงทุกปี ทำให้แหล่งน้ำผิวดินไม่เพียงพอในการทำเกษตร จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากประเทศอิสราเอลที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์นำมาพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีในการผลิตสินค้าเกษตรภายใต้สภาวะวิกฤติขาดแคลนน้ำและความแห้งแล้ง

ทั้งนี้ อิสราเอลมีความเชี่ยวชาญและประสบความสำเร็จในการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในภาคเกษตร รวมถึงใช้เทคโนโลยีขั้นสูงที่ออกแบบระบบชลประทานประหยัดน้ำ สูญเสียน้ำน้อยที่สุด เช่น ระบบน้ำหยด และระบบฉีดฝอย ที่จะเป็นประโยชน์กับการทำเกษตรในไทยเป็นอย่างมากโดยเฉพาะพื้นที่นอกเขตชลประทาน หรือพื้นที่แห้งแล้ง เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับอิสราเอล คือ ร้อน แห้งแล้ง และไม่มีน้ำบนผิวดิน

“ดังนั้น การลงนามความร่วมมือที่จะเกิดขึ้นในอนาคตนี้ จะส่งผลให้ไทยได้เรียนรู้เทคโนโลยีของอิสราเอล เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาการเกษตรของไทยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ขณะที่อิสราเอลจะมีลู่ทางส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีของอิสราเอลในประเทศไทยด้วย นอกจากนี้ ในด้านการพัฒนาองค์ความรู้ในด้านการเกษตร ความร่วมมือที่จะเกิดขึ้นจะส่งผลให้สองประเทศมีการค้าการลงทุนสินค้าเกษตรระหว่างกันเพิ่มมากขึ้นด้วย”.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ