วิธีลงทะเบียน "เราชนะ" เช็กเงื่อนไขรับเงิน 7,000 เริ่มพรุ่งนี้ 6 โมงเช้า

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

วิธีลงทะเบียน "เราชนะ" เช็กเงื่อนไขรับเงิน 7,000 เริ่มพรุ่งนี้ 6 โมงเช้า

Date Time: 28 ม.ค. 2564 20:45 น.

Video

3 มาตรการใหม่ ตลาดหลักทรัพย์ฯ คุมหุ้นร้อนผิดปกติ | Money Issue

Summary

  • ไขข้อข้องใจ วิธีลงทะเบียน "เราชนะ" ตรวจสอบสิทธิ์ เช็กคุณสมบัติ ก่อนรับเงินเยียวยา 7,000 บาท ผ่านเว็บไซต์ www.เราชนะ.com เริ่ม 29 ม.ค.64 เวลา 06.00 น.

Latest


ไขข้อข้องใจ วิธีลงทะเบียน "เราชนะ" ตรวจสอบสิทธิ์ เช็กคุณสมบัติ ก่อนรับเงินเยียวยา 7,000 บาท ผ่านเว็บไซต์ www.เราชนะ.com เริ่ม 29 ม.ค.64 เวลา 06.00 น.

ความคืบหน้าโครงการ "เราชนะ" ภาครัฐสนับสนุนวงเงินช่วยเหลือเพื่อบรรเทาภาระค่าครองชีพ จำนวนไม่เกิน 7,000 บาทต่อคน ระยะเวลาโครงการ 29 มกราคม - 31 พฤษภาคม 2564 โดยกลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับสิทธิ์ มี 3 กลุ่มดังนี้

1. กลุ่มมีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรคนจน) ได้รับวงเงินผ่านบัตรโดยอัตโนมัติ

โดยเงินงวดแรกจะเข้าวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564

  • กลุ่มที่มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท/ปี ได้รับอยู่แล้ว 800 บาท/เดือน จะได้วงเงินช่วยเหลือเพิ่มอีก 675 บาท/สัปดาห์
  • กลุ่มที่มีรายได้เกิน 30,000 แต่ไม่เกิน 100,000 บาท/ปี ได้รับอยู่แล้ว 700 บาท/เดือน จะได้วงเงินช่วยเหลือเพิ่มอีกคนละ 700 บาท/สัปดาห์ 

ทั้งนี้ กลุ่มผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จะได้รับวงเงินช่วยเหลือทุกๆ วันศุกร์ของแต่ละสัปดาห์ เริ่มตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นไป หรือจนกว่าจะครบวงเงิน

2. กลุ่มผู้ลงทะเบียนโครงการคนละครึ่ง และเราเที่ยวด้วยกัน ภายในวันที่ 27 มกราคม 2564 ผู้ที่ยืนยันตัวตนแล้ว ไม่ต้องลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.เราชนะ.com 

หากผ่านการคัดกรองคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด จะได้รับวงเงินช่วยเหลือผ่านระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์โดยภาครัฐ (G-Wallet) แอปพลิเคชัน "เป๋าตัง" จำนวน 1,000 บาทต่อสัปดาห์ รวมจำนวน 7,000 บาท โดยจะเริ่มได้รับวงเงินช่วยเหลือทุกวันพฤหัสบดีของแต่ละสัปดาห์ เริ่มตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นไป

3. ผู้ที่ไม่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และไม่ได้ลงทะเบียนคนละครึ่ง-เราเที่ยวด้วยกัน จะต้องลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.เราชนะ.com โดยเปิดวันแรก 29 มกราคม - 12 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 06.00-23.00 น. โดยผู้ที่ต้องการลงทะเบียน "เราชนะ" จะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

1. เป็นผู้มีสัญชาติไทย อายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
2. ไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 แห่งกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม
3. ไม่เป็นข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงาน ลูกจ้าง เจ้าหน้าที่ หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นใดในหน่วยงานของรัฐที่ได้รับค่าตอบแทนจากหน่วยงานของรัฐโดยตรง
4. ไม่เป็นข้าราชการการเมืองตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
5. ไม่เป็นผู้รับบำนาญปกติ หรือเบี้ยหวัดจากส่วนราชการ
6. ไม่เป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินเกิน 300,000 บาท ตามฐานข้อมูลที่มีล่าสุด
7. ไม่มีเงินฝากรวมกันทุกบัญชีเกิน 500,000 บาท ตามฐานข้อมูลที่มีล่าสุด

อย่างไรก็ตาม สำหรับกลุ่มที่ไม่มีข้อมูลใดๆ ลงทะเบียนได้ที่เว็บไซต์ www.เราชนะ.com หากไม่มีโทรศัพท์มือถือ ไม่มีคอมพิวเตอร์ ให้ติดต่อธนาคารรัฐทั้ง 4 แห่ง คือ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ให้ความช่วยเหลือลงทะเบียน เมื่อลงทะเบียนแล้วจะได้เอกสาร หรือบัตรพิเศษเป็นการตอบรับ

วิธีลงทะเบียน "เราชนะ" มีดังนี้

1. เข้าสู่เว็บไซต์ www.เราชนะ.com 

2. กดคำว่า "ลงทะเบียนใหม่" (ปุ่มสีแดง) จากนั้นกรอกข้อมูล

  • ชื่อ-สกุล
  • เลขบัตรประจําตัวประชาชน
  • รหัสหลังบัตรประจําตัวประชาชน
  • วันเดือนปีเกิด
  • เบอร์โทรศัพท์

3. ใส่รหัส OTP ซึ่งจะส่งจากเบอร์โทรศัพท์ที่ใส่ในระบบ

4. ระบบจะขึ้นข้อความว่า "ระบบได้รับข้อมูลของท่านแล้ว โดยจะดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติของท่านตามเงื่อนไขโครงการต่อไป" โดยสามารถตรวจสอบสิทธิ์ผ่านเว็บไซต์ www.เราชนะ.com ได้ตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นไป

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่อยู่ในกลุ่ม 1 และกลุ่ม 2 เมื่อได้รับสิทธิ์แล้วจะต้องเข้าแอปฯเป๋าตัง จากนั้นกดเข้าหน้า G-Wallet ระบบจะแสดงข้อตกลงและเงื่อนไข เมื่ออ่านถี่ถ้วนแล้วให้กด "ยอมรับเงื่อนไขการใช้บริการ" จากนั้นระบุจังหวัดที่พักอาศัยในปัจจุบัน กดยืนยันจังหวัดที่พักอาศัยในปัจจุบัน และเข้าสู่หน้าหลัก "เราชนะ"

วิธีใช้สิทธิ์เราชนะ ผ่านแอปฯเป๋าตัง มีดังนี้

1. เข้าสู่หน้าหลัก เราชนะ ระบบจะแสดงสิทธิ์หรือวงเงินที่ใช้ได้
2. กดแถบคำว่า "สแกน QR เพื่อใช้สิทธิ์"
3. นำโทรศัพท์สแกน QR เราชนะ จากร้านค้าถุงเงิน
4. ตรวจสอบยอดเงินของสินค้า/บริการ
5. กดยืนยันการใช้สิทธิ์
6. ใส่ PIN เพื่อยืนยันการใช้สิทธิ์
7. ระบบจะแสดงสลิปหลักฐานการใช้สิทธิ์.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ