CPTPP คืออะไร ใครได้ประโยชน์ ใครเสียประโยชน์ ทำไมหลายคนถึงออกมาคัดค้าน

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

CPTPP คืออะไร ใครได้ประโยชน์ ใครเสียประโยชน์ ทำไมหลายคนถึงออกมาคัดค้าน

Date Time: 27 เม.ย. 2563 19:44 น.

Video

คนไทยจ่ายภาษีน้อย มนุษย์เงินเดือนรับจบ ปัญหาอยู่ที่ระบบหรือคนกันแน่ ? | Money Issue

Summary

  • รู้จัก CPTPP คืออะไร ใครได้ประโยชน์ ใครเสียประโยชน์ ทำไมหลายคน แม้กระทั่งคนฝั่งรัฐบาลถึงออกมาคัดค้าน

Latest


รู้จัก CPTPP คืออะไร ใครได้ประโยชน์ ใครเสียประโยชน์ ทำไมหลายคน แม้กระทั่งคนฝั่งรัฐบาลถึงออกมาคัดค้าน

จากกรณีที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจโดยมี นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นประธาน นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นเลขาฯ โดยนายสมคิดเป็นผู้ประสานงานให้กระทรวงพาณิชย์นำเรื่อง CPTPP หรือ ความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก เสนอวาระเข้า ครม.ในวันที่ 28 เม.ย.63 นี้

ล่าสุด ภาคประชาชนได้ออกมาเรียกร้องให้กระทรวงพาณิชย์ถอนวาระนี้ออก เนื่องจากยังเห็นข้อบกพร่องในหลายๆ จุด และมองว่าประเทศจะเสียเปรียบหากมีการลงนามดังกล่าวไป ทั้งนี้หลายคนอาจจะยังสงสัยว่า ความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ CPTPP คืออะไร "ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์" รวบรวมข้อมูลได้ดังนี้

- CPTPP ชื่อเต็ม Comprehensive and progressive agreement for transpacific partnership หรือ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ซึ่งมีผลบังคังใช้เมื่อวันที่ 30 ธ.ค. 61

- สมาชิก CPTPP มีด้วยกัน 11 ประเทศ ดังนี้ ออสเตรเลีย แคนาดา เปรู นิวซีแลนด์ ชิลี เม็กซิโก ญี่ปุ่น บรูไน มาเลเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม

- ให้สัตยาบันแล้ว 7 ประเทศ คือ เม็กซิโก ญี่ปุ่น สิงคโปร์ นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย และเวียดนาม

- กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ มองว่า ถ้าไทยเข้าร่วมจะทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโตขึ้น เกิดการจ้างงาน 73,370 ล้านบาท สินค้ามีโอกาสส่งออกเพิ่มขึ้น จากการที่เป็นสมาชิก CPTPP ต้องเปิดตลาดไทยมากกว่า FTA ในปัจจุบัน เช่น ไก่แปรรูป น้ำตาล ข้าว อาหารทะเล ผลไม้สด ผลไม้แห้ง รถยนต์และส่วนประกอบ ยาง เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ และเครื่องแต่งกาย

- กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ มองอีกว่า หากไทยไม่ร่วมเข้า CPTPP จะทำให้เศรษฐกิจเติบโตลดลง การจ้างงานและผลตอบแทนแรงงานจะลดลง 8,440 ล้านบาท

- แต่ในส่วนของภาคประชาชน มองว่า หากไทยเข้าร่วม CPTPP จะทำให้เกษตรกรไทยต้องเผชิญกับต้นทุนการเกษตรที่สูงขึ้น จากอนุสัญญาการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ หรือ UPOV และอาจจะมีการเปิดโอกาสให้ต่างชาตินำเมล็ดพันธุ์พื้นเมืองของไทยไปวิจัยพัฒนา และเกิดการจดสิทธิบัตร อาจทำให้เกษตรกรไทยต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ในราคาที่สูงขึ้น

- ปัญหาการเจรจาแบบ Negative-List หรือ การเจรจรแบบระบุรายการแบบไม่เปิดเสรี อาจมีแรงกดดันให้ไทยต้องเปิดตลาดบริการมากขึ้น ซึ่งในความเป็นจริงประเทศไทยไม่ได้เปิดเสรีในด้านนี้ 

- เปิดโอกาสทางการแข่งขันให้นักลงทุนต่างชาติมากขึ้น ทำให้ไทยต้องเตรียมรับมือการเข้ามาของนักลงทุนต่างชาติ ที่สามารถฟ้องไทยผ่านกระบวนการอนุญาโตตุลาการได้

- โดยนายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ มองว่า การเข้าร่วม CPTPP นั้นจะเกิดการผูกขาดเมล็ดพันธุ์พืชสายพันธุ์ต่างๆ เพราะจะต้องซื้อเมล็ดพันธุ์แพงขึ้น และอาจถูกฟ้องร้องละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาจากบรรดาบริษัทข้ามชาติ

- เกษตรกรที่เลี้ยงสุกร จะได้รับผลกระทบไปด้วย อาจถึงขั้นต้องเลิกเลี้ยง โดยอาชีพต่อเนื่องของเกษตรกรที่ปลูกพืชอาหารสัตว์ก็จะได้รับผลกระทบด้วย

การเคลื่อนไหวของฝั่งรัฐบาล

- นายอนุทิน ชาญวีรกูล ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ออกมาพูดเรื่องนี้ว่า ผมไม่เห็นด้วยกับเรื่องนี้ และจะนำเสนอข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเต็มไปด้วยข้อห่วงใยและความกังวลที่จะมีผลกระทบต่อระบบการผลิตยา เวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ ซึ่งจะต้องนำมาใช้ดูแลรักษาชีวิตและสุขภาพของคนไทย

- นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ ก็มองว่า ข้อกังวลบางประเด็นของ CPTPP อาทิ การคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ การเปิดตลาดให้กับสินค้าใช้แล้วที่นำมาปรับปรุงสภาพเป็นของใหม่ และการจัดซื้อจัดจ้างโดยภาครัฐ และข้อกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์โรคระบาดโควิดในปัจจุบัน อาจจะไม่เหมาะสมกับเวลา แม้ว่าจะไม่ใช่การเข้าไปเป็นสมาชิกก็ตาม

- ล่าสุดมีรายงานว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทำการถอนวาระ CPTPP ออกจากการประชุม ครม. วันที่ 28 เม.ย. 63 นี้แล้ว. 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ