ลงทะเบียน ธ.ก.ส. "เงินกู้ฉุกเฉิน" เช็กชัดๆ ยังมีหนี้ค้างชำระ กู้เงินได้ไหม

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

ลงทะเบียน ธ.ก.ส. "เงินกู้ฉุกเฉิน" เช็กชัดๆ ยังมีหนี้ค้างชำระ กู้เงินได้ไหม

Date Time: 17 เม.ย. 2563 07:00 น.

Video

ทางรอดเศรษฐกิจไทยในยุค AI ครองโลก | 1st Anniversary Thairath Money

Summary

  • ลงทะเบียน ธ.ก.ส. "เงินกู้ฉุกเฉิน" พร้อมให้กู้เงิน 10,000 บาท วันที่ 3 ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก เพียงกรอกไม่กี่ข้อผ่านไลน์แล้วรอรับเงิน พร้อมไขข้อสงสัย หากมีหนี้ค้างชำระกับธนาคาร

Latest


ลงทะเบียน ธ.ก.ส. "เงินกู้ฉุกเฉิน" พร้อมให้กู้เงิน 10,000 บาท วันที่ 3 ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก เพียงกรอกไม่กี่ข้อผ่านไลน์แล้วรอรับเงิน พร้อมไขข้อสงสัย หากมีหนี้ค้างชำระกับธนาคาร สามารถกู้เงินได้ไหม

จากกรณี ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. เปิดให้ประชาชน ผู้ได้รับผลกระทบจากไวรัส "โควิด-19" กู้เงินฉุกเฉิน วงเงินสูงสุด 10,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 0.10% ผ่อนชำระนาน 24 เดือน โดยเปิดลงทะเบียนผ่านช่องทางไลน์ BAAC Family เท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 15 เม.ย. 2563 เป็นต้นไป

โครงการสินเชื่อฉุกเฉินสำหรับผู้ได้รับผลกระทบจากไวรัส โควิด-19

1. สมัคร Line official BAAC Family โดยค้นหาเพื่อนด้วย ID : baacfamily เท่านั้น

2. เลือกเมนู COVID-19 ลงทะเบียนรับความช่วยเหลือจาก ธ.ก.ส.

ขั้นตอนการลงทะเบียน แสดงความประสงค์ขอสินเชื่อ (กรณีเป็นลูกค้า ธ.ก.ส.)

1. กรอกเลขบัตรประชาชน หมายเลขโทรศัพท์มือถือตนเองและข้อมูลบุคคลที่ติดต่อแทนได้ โดยจะให้กรอกซ้ำ 2 ครั้ง เพื่อยืนยันความถูกต้อง

2. บันทึกข้อมูลการขอสินเชื่อและงวดชำระ

  • เลือกวัตถุประสงค์การขอสินเชื่อ
  • เลือกวงเงินขอสินเชื่อสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท
  • เลือกบัญชีเงินฝาก ธ.ก.ส. เพื่อใช้รับเงินกู้ โดยระบบจะแสดงเลขบัญชีเงินฝากของท่านให้เลือก
  • เลือกความประสงค์ชำระหนี้ เป็นงวดรายเดือน/ราย 3 เดือน /ราย 6 เดือน
  • เลือกวิธีการส่งชำระหนี้ ชำระด้วยตนเอง หรือหักผ่านบัญชีเงินฝากของ ธ.ก.ส. โดยอัตโนมัติ
  • เลือกแหล่งที่มาแห่งรายได้ที่สามารถนำมาชำระเงินกู้
  • ธนาคารจะส่งข้อมูลการลงทะเบียนให้สาขาที่ท่านสังกัดเป็นลูกค้าผู้กู้อยู่เพื่อทำการนัดหมาย (ไม่สามารถเลือกสาขาอื่นได้)


3. ตรวจสอบข้อมูลและยืนยันการลงทะเบียน

  • ตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องก่อนยืนยัน
  • กดยืนยันการลงทะเบียน
  • ระบบจะส่งหมายเลขอ้างอิงการลงทะเบียนให้ท่านทาง SMS

4. รอการนัดหมายจากธนาคาร

ธนาคารจะแจ้งการนัดหมายทาง SMS ตามหมายเลขโทรศัพท์มือถือของท่านที่แจ้งไว้ โดยจะเริ่มนัดหมายตั้งแต่วันที่ 7 พ.ค. 2563 เป็นต้นไป


ขั้นตอนการลงทะเบียน แสดงความประสงค์ขอสินเชื่อ (กรณีไม่เป็นลูกค้า ธ.ก.ส.)

1. ให้กรอกเลขบัตรประชาชน หมายเลขโทรศัพท์มือถือตนเองก่อน

เนื่องจากท่านยังไม่เป็นลูกค้าเงินกู้กับธนาคาร ระบบจะให้กรอกข้อมูลบุคคลอื่นที่ติดต่อแทนได้ ดังนี้ หมายเลขบัตรประชาชนของสมาชิกในครอบครัวของท่านที่เป็นลูกค้าเงินกู้กับ ธ.ก.ส. หรือบุคคลอ้างอิงอื่นๆ โดยให้ระบุ ชื่อ-สกุล ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์มือถือของบุคคลอ้างอิง

2. บันทึกข้อมูลส่วนตัว

กรอกข้อมูลส่วนตัวของท่าน ชื่อ-นามสกุล วันเดือนปีเกิด ที่อยู่ (กรณีที่ท่านมีบัญชีเงินฝากกับ ธ.ก.ส. อยู่แล้ว ระบบจะบันทึกข้อมูลนี้ให้โดยอัตโนมัติ และข้ามไปบันทึกข้อมูลการประกอบอาชีพแทน)

3. ระบุข้อมูลการประกอบอาชีพปัจุบัน

4. บันทึกข้อมูลการขอสินเชื่อและงวดชำระ

  • เลือกวัตถุประสงค์การขอสินเชื่อ
  • เลือกวงเงินขอสินเชื่อ สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท
  • เลือกบัญชีเงินฝาก ธ.ก.ส. เพื่อใช้รับเงินกู้ โดยระบบจะแสดงเลขบัญชีเงินฝากของท่านให้เลือก
  • เลือกความประสงค์ชำระหนี้ เป็นงวดรายเดือน/ราย 3 เดือน / ราย 6 เดือน
  • เลือกวิธีการส่งชำระหนี้ ชำระด้วยตนเอง หรือหักผ่านบัญชีเงินฝากของ ธ.ก.ส. โดยอัตโนมัติ
  • เลือกแหล่งที่มาแห่งรายได้ที่สามารถนำมาชำระเงินกู้
  • ธนาคารจะส่งข้อมูลการลงทะเบียนให้สาขาที่ท่านสังกัดเป็นลูกค้าผู้กู้อยู่เพื่อทำการนัดหมาย (ไม่สามารถเลือกสาขาอื่นได้)

5. ตรวจสอบข้อมูลและยืนยันการลงทะเบียน

  • ตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องก่อนยืนยัน
  • กดยืนยันการลงทะเบียน
  • ระบบจะส่งหมายเลขอ้างอิงการลงทะเบียนให้ท่านทาง SMS

6. รอการนัดหมายจากธนาคาร

ธนาคารจะแจ้งการนัดหมายทาง SMS ตามหมายเลขโทรศัพท์มือถือของท่านที่แจ้งไว้ โดยจะเริ่มนัดหมายตั้งแต่วันที่ 7 พ.ค. 2563 เป็นต้นไป

ลูกค้าที่มีหนี้ค้างชำระกับธนาคาร หรือสถาบันการเงินอื่นๆ สามารถกู้เงินตามโครงการนี้ได้หรือไม่?

  • กรณีมีประวัติค้างชำระหนี้กับธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น ให้สอบสวนข้อมูลถึงมูลเหตุของการค้างชำระ หากเกิดจากเหตุสุจริตและจำเป็น ให้สามารถให้สินเชื่อโครงการนี้ได้.

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง "ลงทะเบียน ธ.ก.ส."


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์