เครื่องยนต์อันทรงพลังของซุปเปอร์คาร์สายเลือดอเมริกันที่เพียบพร้อมไปด้วยเทคโนโลยีและความแรงระดับ638แรงม้า...

รถยนต์จากอเมริกันอย่าง Corvette คือตัวแทนทางเทคโนโลยีของพละกำลังและรูปทรงอันงดงามคลาสสิกที่ครองใจชาวอเมริกันมายาวนานกว่า 50 ปี การออกแบบตัวถังและการวางตำแหน่งของเครื่องยนต์รวมถึงระบบขับเคลื่อนที่เปี่ยมล้นไปด้วยความสมบูรณ์แบบจากรถโมเดลแรกสุดอย่าง Chevrolet Corvette C1 ซึ่งก่อกำเนิดขึ้นในปี1953 จวบจนถึงยุคปัจจุบันคือ Corvette ZR1 สปอร์ตคาร์รุ่นพิเศษที่มีพลังของเครื่องยนต์อันทรงอานุภาพ ทั้งจากปริมาตรความจุของเครื่องยนต์ที่ใหญ่โตโอฬาร ระบบช่วยอัดอากาศ Supercharged เพิ่มแรงม้าและแรงบิดมหาศาล ระบบส่งกำลังที่ทำงานประสานเป็นหนึ่งเดียวกับช่วงล่างบนตัวถังที่มีค่าสัมประสิทธิแรงต้านทานของอากาศเพียง0.28 ฝากระโปรงหน้าถูกดีไซน์ให้มีความนูนขึ้นเพื่อรองรับ Supercharged ซึ่งรับหน้าที่อัดอากาศเข้าสู่ท่อไอดี



Chevrolet Corvette ZR1 2010

...


วิศวกรอเมริกันในแผนกปรับแต่งเครื่องยนต์ของบริษัท Chevrolet มุ่งเน้นไปที่การกระจายน้ำหนักที่จะส่งผลต่อสภาวะของการขับขี่ในทุกรูปแบบ การย่อลดขนาดและน้ำหนักของตัวเครื่องรุ่นใหม่ลงกว่าเครื่องตัวเดิมที่ทั้งหนักและใหญ่โตแต่ยังคงปริมาตรความจุเอาไว้ไม่ไช่เรื่องที่จะกระทำกันได้โดยง่าย มิติของเครื่องยนต์ในรถ Corvette ZR1มีความกระทัดรัดมากขึ้นเพื่อการร่นตำแหน่งการวางให้เข้าใกล้จุดศูนย์กลางของตัวถังมากที่สุด เครื่องยนต์ของมันถูกวางลงในลักษณะFront Mid-Engineโดยจุดศูนย์ถ่วงของน้ำหนักเครื่องถูกขยับเข้ามาอยู่บริเวณด้านหลังของเพลาหน้าและย้ายตำแหน่งของระบบส่งกำลังหรือเกียร์ไปอยู่ที่เดียวกับเฟืองท้ายบริเวณด้านหลังและเชื่อมต่อการส่งผ่านแรงบิดจากเครื่องยนต์ด้วยเพลากลางน้ำหนักเบา การกระจายน้ำหนักของมันจึงมีค่าที่เป็นกลางมากขึ้นกว่ารถรุ่นเก่าที่มีเครื่องยนต์และเกียร์อยู่รวมกันด้วยอัตราส่วน 50/50 ซึ่งจะส่งผลให้การควบคุมในระหว่างการขับทุกย่านความเร็วมีความเฉียบคมถึงพร้อมด้วยสมถรรนะของตัวรถอย่างสมบูรณ์แบบ



LS3 V8 Engine


ในรุ่นปกติของรถสปอร์ตCorvetteจะใช้เครื่องยนต์รหัสLS3 กระบอกสูบแบบ V8 โอเวอร์เฮตวาว์ล ซึ่งมีเพลาลูกเบี้ยวหรือแคมชาร์ปอยู่ตรงกลางระหว่างชุดเสื้อสูบทั้งสองฝั่ง การหมุนของเพลาดังกล่าวเกิดจากโซ่ที่ถูกขับเคลื่อนโดยเฟืองของเพลาข้อเหวี่ยง ลูกเบี้ยวทั้ง 16ตัวแบ่งงานทำงานออกเป็นสองชุด ชุดแรก 8ตัวทำหน้าที่เปิด-ปิดวาว์ลไอดี อีกชุดจำนวนเท่ากันทำหน้าที่เปิด-ปิดวาว์ลไอเสียให้เป็นไปตามลำดับของการจุดระเบิด ลูกเบี้ยวทั้งหมดจะส่งกำลังผ่านก้านกระทุ้งลิ้นกระเดื่องกดวาว์ลเพื่อกดและปล่อยในจังหวะการทำงานของวาว์ลปิด-เปิดส่วนบนของฝาสูบ LS3 มีความจุของเครื่องยนต์ 6290 ซีซี.บล๊อกฝาสูบและเสื้อสูบทำจากอลูมิเนียมสร้างกำลังได้ถึง 430 แรงม้าที่ 5900 รอบต่อนาที พร้อมแรงบิดสูงสุด 575 นิวตันเมตรที่4600รอบต่อนาที



LS9 Corvette ZR1Engine


ส่วนเครื่องยนต์ในรุ่น ZR1 ซึ่งเป็นรุ่นพิเศษที่มีกำลังมากที่สุดใช้รหัสเครื่อง LS9 โดยใช้รูปแบบและพื้นฐานของเครื่องยนต์เหมือนกับLS3 คือเป็นเครื่องV8ปริมาตรความจุ6.2ลิตร ฝาครอบเมนแบริ่งและเพลาข้อเหวี่ยงเปลี่ยนไปใช้โลหะผสมพิเศษแบบเหล็กกล้าหล่อขึ้นรูปด้วยเตาหลอมแรงดันสูงเพื่อทำให้ความทนทานในการใช้งานเพิ่มมากขึ้น ตะเกียบวาว์ลใช้โลหะไททาเนี่ยม ลูกสูบขึ้นรูปด้วยอลูมิเนียมกรรมวิธี Forged การปรับเปลี่ยนวัสดุที่ใช้ทำกลไกภายในเพื่อลดน้ำหนักและเพิ่มความแข็งแกร่งกับพลังงานที่เกิดจากการหมุนและการรับแรงต่างๆที่เข้ามากระทำได้เทียบเท่ารถแข่งของทีม Corvette เลยทีเดียว

...



Supercharged


ระบบอัดอากาศแบบซุปเปอร์ชาร์จเจอร์ที่นำมาติดตั้งลงในตัวเครื่องยนต์LS9เป็นซุปเปอร์ชาร์จแบบ Roots Typeใช้โรเตอร์ร่วมแกนหมุนสองตัวสี่กลีบใบพัดพร้อมด้วยระบบหล่อเย็นอินเตอร์คูลเลอร์เพื่อลดอุณหภูมิของอากาศในระหว่างที่มันกำลังทำการอัดเข้าสู่ไอดี ระบบหล่อเย็นดังกล่าวถูกติดตั้งแบบบิ้วอินเข้าไปอยู่้ภายในตัวซุปเปอร์ชาร์จขนาดไม่เล็กนัก อากาศที่มีความร้อนจัดเกิดจากการเสียดสีกับท่อทางต่างๆด้วยความเร็วสูงจะถูกลดอุณหภูมิลงด้วยน้ำหล่อเย็น ผลที่ตามมาคือความหนาแน่นของมวลอากาศที่ถูกลำเลียงเข้าสู่ท่อไอดีทำให้การเผาไหม้จุดระเบิดมีความสมบูรณ์แบบ สิ่งที่ตามมาคือแรงม้าและแรงบิดที่เพิ่มขึ้นและเป็นที่มาของม้าทั้ง638แรงที่5300รอบต่อนาทีไม่จัดจ้านเท่าเครื่องV8แบบหายใจเองโดยไม่มีระบบอัดอากาศซึ่งมักจะเป็นซุปเปอร์คาร์ของพวกอิตาเลี่ยนแต่เครื่องยนต์ LS9ก็มีความแข็งแรงทนทานด้วยการใช้รอบเครื่องยนต์ปานกลางแต่มีตัวช่วยเป็นระบบอัดอากาศสร้างแรงม้า ระบบส่งกำลังแบบแมนนวล6สปีดอัตราทดชิดพร้อมด้วยระบบคลัตช์คู่โดยใช้จานคลัตช์สองแผ่น ส่งถ่ายแรงบิดจนได้อัตราเร่ง0-100กิโลเมตรใน3.4วินาทีเทียบเท่า Ferrari458เลยทีเดียว

...



The Top Sportcar Of GM


การนำเอาวัสดุอย่างอลูมิเนียมไฮโดรฟอรม์ที่มีความแข็งแกร่งกว่าโลหะชนิดอื่นมาทำเป็นแชสซีส์ของZR1และวางตำแหน่งเครื่องยนต์V8ค่อนข้างไปทางด้านหลังพร้อมกับนำเอาชุดเกียร์ส่งกำลังไปอยู่ติดกับเฟืองท้ายเพื่อให้น้ำหนักทั้งหมดกระจายตัวที่อัตราส่วน 50/50 การปรับปรุงฝาครอบกระโปรงด้านหน้า บังโคลน แผงหลังคา สปอยเลอร์ท้าย แผงเรียงอากาศและร่องไอดีด้านข้างที่ทำจากคาร์บอนไฟเบอร์ รวมถึงจานเบรคแบบคาร์บอนเซรามิคที่ติดตั้งระบบ Magnetic Selective Ride Control ช่วยผลักดันตัวรถให้ขึ้นถึงจุดสูงสุดของสปอร์ตคาร์จากแดนอเมริกันรวมถึงทำให้ Chevrolet Corvette ZR1กลายเป็นรถยนต์จากค่ายGMที่วิ่งได้เร็วที่สุดอีกด้วย.

...