ห่วง Microsoft แบกต้นทุนให้ OpenAI หลังแอ่นหลังค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ AI พุ่ง แถมรายได้คลาวด์ชะลอตัว

Tech & Innovation

Tech Companies

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ห่วง Microsoft แบกต้นทุนให้ OpenAI หลังแอ่นหลังค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ AI พุ่ง แถมรายได้คลาวด์ชะลอตัว

Date Time: 31 ต.ค. 2567 12:48 น.

Video

เปิดทริกวางแผนการเงิน เพื่อชีวิตที่มีประสิทธิภาพ

Summary

  • Microsoft หุ้นร่วงเล็กน้อยกว่า 3% หลังโชว์งบไตรมาสแรกของปีงบประมาณ แม้จะสูงกว่าที่คาดการณ์ แต่การประเมินผลรายได้และกำไรมีการคาดการณ์ว่าจะมีแนวโน้มชะลอตัวในไตรมาถัดไป โดยเฉพาะธุรกิจคลาวด์ ตัวทำเงินหลักของบริษัท สวนทางค่าใช้จ่ายด้านต้นทุนที่ต้องอัดฉีดกำลังการผลิตและโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับ AI ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และหนึ่งในคือการแบกต้นทุนให้กับ OpenAI ที่ได้ลงทุนไปแล้วเกือบ 1.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

Latest


Microsoft รายงานผลประกอบการไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2025 ซึ่งสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2024 รายรับรวมอยู่ที่ 65,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 16% จากปีก่อน โดยที่รายได้จากการดำเนินงานอยู่ที่ 30,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 14% ขณะที่กำไรสุทธิอยู่ที่ 24,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 11% โดยคิดเป็นกำไรต่อหุ้นอยู่ที่ 3.30 ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบเป็นรายปี

ทั้งนี้แรงหนุนไตรมาสนี้ยังมาจากธุรกิจ Intelligent Cloud (Azure, SQL Server, Windows Server, Visual Studio, Nuance, GitHub) อยู่ที่ 38,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 22% จากปีก่อน โดย Microsoft Cloud บริการโปรดักต์และคลาวด์เซอร์วิส Azure ยังเป็นแรงหนุนหลักที่เติบโตโดดเด่นที่สุด 33%

ในส่วนของรายรับจาก Productivity & Business Process (Office, LinkedIn, Dynamics) อยู่ที่ 28,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 12% จากปีก่อน สำหรับกลุ่มผลิตภัณฑ์ More Personal Computing (Windows, PC, Surface, Bing และ Xbox) ซึ่งได้ลดสัดส่วนการบันทึกรายได้จากการปรับโครงสร้างในไตรมาสล่าสุดอยู่ที่ 13,180 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 17% จากปีก่อน

ด้าน Satya Nadella ซีอีโอของ Microsoft กล่าวอย่างมั่นใจว่า การขับเคลื่อนโดย AI ในทุกบทบาทและกระบวนการทางธุรกิจยังขยายโอกาสทางธุรกิจและทำให้ Microsoft คว้าลูกค้ารายใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง ขณะที่ Amy Hood รองประธานบริหารและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของ Microsoft กล่าวว่า “การดำเนินงานที่แข็งแกร่งของทีมขายและพันธมิตรธุรกิจทั่วโลกส่งผลให้ Microsoft เริ่มต้นปีงบประมาณได้อย่างมั่นคง”

ค่าใช้จ่ายที่ลงทุนที่เกี่ยวกับ AI พุ่ง OpenAI อาจทำขาดทุน

อย่างไรก็ดีกระแสจากนักลงทุนในไตรมาสนี้ ระบุ การชะลอตัวของธุรกิจคลาวด์ที่ส่งสัญญาณว่าการลงทุนด้าน AI ตามไม่ทันข้อจำกัดด้านกำลังการผลิต โดยมีการคาดการณ์จาก Microsoft ต่อรายได้จากคลาวด์ในไตรมาสที่สองไว้ที่ 31-32% ซึ่งชากว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 32.25% โดยเฉลี่ยตามข้อมูลของ Visible Alpha รายได้จากคลาวด์จะเพิ่มขึ้น 33% ในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ ซึ่งมากกว่าที่คาดไว้เล็กน้อย

ขณะที่ Microsoft กล่าวว่าได้ทุ่มเงินหลายพันล้านดอลลาร์ในการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน AI เพื่อขยายฐานศูนย์ข้อมูลและเพิ่มการใช้จ่ายชิปเพื่อรองรับปริมาณงานที่มากขึ้น โดยไตรมาสนี้ ระบุว่า รายจ่ายด้านทุนเพิ่มขึ้น 5.3% เป็น 20,000 ล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับ 19,000 ล้านดอลลาร์ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งหากรวมทั้งปีงบประมาณจะอยู่ที่ 80,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามการประมาณการของนักวิเคราะห์จาก Visible Alpha ซึ่งเพิ่มขึ้นมากกว่า 30,000 ล้านดอลลาร์จากปีงบประมาณที่แล้ว

ด้าน Brett Iversen รองประธานฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์ของ Microsoft ย้ำว่า บริษัทจะไม่สามารถแก้ไขข้อจำกัดด้านกำลังการผลิตด้านโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับ AI ได้จนกว่าจะถึงครึ่งปีหลังของปีงบประมาณ

นอกจากนี้ Amy Hood ได้เปิดเผยว่า การบันทึกค่าใช้จ่ายอื่นๆ ของบริษัทในไตรมาสนี้ราว 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนใหญ่คาดว่ามีที่มาจากการผลขาดทุนจากการลงทุนครั้งใหญ่ใน OpenAI ซึ่งส่งผลกระทบต่อรายได้ในช่วงปัจจุบัน แม้ว่า OpenAI จะเป็นส่วนสำคัญของกลยุทธ์การเติบโตของ Microsoft และจะผลักดันโมเมนตัมของรายได้

โดยระบุว่า การร่วมมือที่ต่อเนื่องในปีนี้มียอดการลงทุนของ Microsoft ใน OpenAI กำลังจะแตะ 1.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐอีกด้วย โดยคาดว่าเป็นผลจากการระดมทุนรอบล่าสุดของ OpenAI ที่ประกาศเมื่อเดือนตุลาคมที่บริษัทได้ลงทุนจำนวน 750 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม ความร่วมมือของ Microsoft กับ OpenAI ยังคงให้ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่ายอย่างต่อเนื่อง จากการบูรณาการโมเดลของ OpenAI เข้ากับผลิตภัณฑ์ต่างๆ รวมถึงทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์เฉพาะให้กับ OpenAI

ที่มาข้อมูล CNBCReuters 

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ -   


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ